การทำเด็กหลอดแก้ว IVF-ICSI
1. เด็กหลอดแก้ว คืออะไร
2. ทำไมต้องรักษาด้วยการทำเด็กหลอดแก้ววิธี ICSI
3. การทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธี ICSI เหมาะกับใครบ้าง
4. กระบวนการทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธี ICSI
5. การทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธี ICSI มีโอกาสสำเร็จเท่าไหร่
6. ภาวะแทรกซ้อนของการทำเด็กหลอดแก้ว
7. การดูแลสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มการรักษา
1. เด็กหลอดแก้ว คืออะไร
การทำเด็กหลอดแก้ว หรือที่มักเรียกกันว่า IVF (In-vitro Fertilization) เป็นทางเลือกหนึ่งของการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการนำไข่ออกจากรังไข่ของฝ่ายหญิงและการเก็บและคัดกรองอสุจิของฝ่ายชาย โดยอสุจิจำนวนหนึ่งจะถูกนำมาวางกับไข่บนจานทดลอง จากนั้นจะปล่อยให้อสุจิผสมกับไข่เพื่อเกิดการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนเอง ซึ่งตัวอ่อนที่ได้จะถูกนำไปเพาะเลี้ยงต่อ ก่อนการย้ายตัวอ่อนกลับสู่โพรงมดลูกผ่านทางช่องคลอด
ส่วนการทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธี ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) หรือ “อิ๊กซี่” เป็นวิธีการช่วยปฎิสนธิของไข่และอสุจิ ที่เกิดในห้องปฏิบัติการ โดยการเลือกอสุจิตัวที่ดีที่สุด 1 ตัว ฉีดเข้าไปในเซลล์ไข่แต่ละใบ เพื่อช่วยเพิ่มอัตราการปฎิสนธิ จากนั้นนำไปเลี้ยงต่อในตู้เลี้ยงจนกลายเป็นตัวอ่อน และเมื่อตัวอ่อนเติบโตจนถึงระยะ Blastocyst ก็จะย้ายกลับสู่โพรงมดลูกเพื่อการตั้งครรภ์ต่อไป
2. ทำไมต้องรักษาด้วยการทำเด็กหลอดแก้ววิธี ICSI
เทคโนโลยีในการรักษาผู้มีบุตรยากมีอยู่หลายวิธีขึ้นกับว่าสาเหตุของแต่ละคู่เป็นอย่างไร การทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธี ICSI หรือ อิ๊กซี่ เป็นหนึ่งในแนวทางรักษาที่มีอัตราการตั้งครรภ์สูงที่สุดในปัจจุบัน เทคโนโลยีนี้มีข้อดี ดังนี้
การทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธี ICSI ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์มากกว่าเทคนิคอื่น
ในการรักษาด้วยการทำเด็กหลอดแก้ว เมื่อเปรียบเทียบวิธีการช่วยปฏิสนธิ ICSI กับวิธี IVF ที่เป็นเทคนิคแรกในการทำเด็กหลอดแก้ว โดย IVF คือการนำไข่และเชื้ออสุจิไปไว้ในจานหลอดทดลอง เพื่อให้ไข่และอสุจิ เกิดการปฏิสนธิกันเอง ซึ่งวิธีนี้อาจเกิดปัญหาที่ไข่กับอสุจิไม่สามารถปฏิสนธิกันเองได้ ด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น เปลือกไข่หนาซึ่งพบมากขึ้นในผู้หญิงที่มีอายุมาก อสุจิจึงไม่อาจเจาะไข่ได้ แต่ในขณะที่การทำอิ๊กซี่จะเป็นการฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปในไข่โดยตรง ทำให้สามารถเพิ่มโอกาสปฏิสนธิได้มากกว่าการทำ IVF
การทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธี ICSI ร่วมกับการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน ลดความเสี่ยงทารกมีความผิดปกติ
ในการทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธี ICSI เมื่อเลี้ยงตัวอ่อนถึงวันที่ 5 นักวิทยาศาสตร์จะตัดเซลล์ตัวอ่อนเพียงเล็กน้อยที่ไม่ส่งผลกระทบกับตัวอ่อน เพื่อไปตรวจโครโมโซมซึ่งจะทำให้ทราบว่าตัวอ่อนมีความผิดปกติหรือไม่ เช่น ดาวน์ซินโดรม นอกจากนี้ในครอบครัวที่มีประวัติโรคพันธุกรรมก็สามารถตรวจคัดกรองโรคดังกล่าวได้ เช่น ธาลัสซีเมีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตาบอดสี เป็นต้น ซึ่งการตรวจโครโมโซมจะทำให้มั่นใจได้มากขึ้นว่าเมื่อตัวอ่อนถูกนำกลับเข้าสู่โพรงมดลูกและเกิดการตั้งครรภ์แล้ว เด็กที่เกิดมาจะลดโอกาสเกิดความผิดปกติจากโครโมโซม
การทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธี ICSI สามารถเก็บตัวอ่อนได้เป็นเวลานาน
ตัวอ่อนจากการทำเด็กหลอดแก้ว สามารถเก็บได้นานกว่า 10 ปี ในกรณีที่ที่ตั้งครรภ์จากการทำ ICSI ไปแล้ว และยังเหลือตัวอ่อนจากการทำครั้งแรก ก็สามารถเก็บแช่ตัวอ่อนไว้ หากต้องการมีลูกคนคนต่อไปจึงมาทำการย้ายตัวอ่อนอีกครั้ง ซึ่งโอกาสการตั้งครรภ์จะไม่ลดลง เมื่อเทียบกับการตั้งครรภ์เองตามธรรมชาติเมื่ออายุมากขึ้น หรือในกรณีที่คู่สมรสยังไม่พร้อมมีลูก แต่กังวลว่าเมื่ออายุมากขึ้นอาจทำให้มีลูกยาก ก็สามารถใช้วิธีการทำอิ๊กซี่เพื่อเก็บตัวอ่อนแช่แข็งเอาไว้ เมื่อถึงวันที่พร้อมจึงนำตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์
การทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธี ICSI มีโอกาสตั้งครรภ์มากที่สุด
การทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธี ICSI ช่วยให้มีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์สูงถึง 60% มากกว่าการท้องธรรมชาติ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับอายุของฝ่ายหญิง เช่น อายุไม่เกิน 35 ปี โอกาสตั้งครรภ์ธรรมชาติ 30-40% สำหรับอายุเกิน 35 ปี มีโอกาสประมาณ 20-30% และหากอายุเกิน 40 ปี จะมีโอกาสประมาณ 10-20% ฉะนั้นเมื่อสังเกตว่าตัวเองเข้าข่ายภาวะมีบุตรยาก คือ คู่สมรสที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นเวลา 1 ปี หรือในคู่สมรสที่อายุมากกว่า 35 ปี มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอเป็นเวลา 6 เดือน แล้วยังไม่ตั้งครรภ์ ก็ควรรีบมาปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง
3. การทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธี ICSI เหมาะกับใครบ้าง
4. กระบวนการทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธี ICSI
- ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจร่างกาย วางแผน และบำรุงก่อนเริ่มกระบวนการ
- กระบวนการกระตุ้นไข่ในฝ่ายหญิง
- เก็บไข่ที่โตสมบูรณ์จากรังไข่ของฝ่ายหญิง
- เก็บน้ำเชื้อจากฝ่ายชาย
- ทำการปฏิสนธิในห้องปฏิบัติการด้วยวิธี ICSI
- การเลี้ยงตัวอ่อน (embryo) 5-6 วัน จนถึงระยะพร้อมฝังตัว (blastocyst)
- ดึงเซลล์จากตัวอ่อนจำนวนหนึ่ง (biopsy) มาทำการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมหรือยีน
- เลือกตัวอ่อนที่ปกติ ใส่กลับเข้าสู่โพรงมดลูกฝ่ายหญิง
- ตรวจการตั้งครรภ์
คลิกอ่าน ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว
5. การทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธี ICSI มีโอกาสสำเร็จเท่าไหร่
การทำ ICSI ถือเป็นทางเลือกสำหรับคู่สมรสที่มีปัญหามีลูกยาก ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จสูงถึง 60% และในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วสามารถตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรม (ตรวจโครโมโซมหรือยีน) ของตัวอ่อนก่อนการย้ายกลับได้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการฝังตัว ลดโอกาสในการแท้ง และเหมาะสำหรับผู้ที่มีโรคทางพันธุกรรมและผู้ที่กังวลเรื่องโรคทางพันธุกรรม
โดยอัตราความสำเร็จของการทำ ICSI ขึ้นอยู่กับปัจจัย เช่น