ข่าวสารและบทความ

การเลือกเพศลูกเพื่อป้องกันโรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดผ่านทางโครโมโซมเพศ (Sex-Linked Disorders)

การเลือกเพศลูก (sex selection) หรือการเลือกเพศกำเนิดของลูก คือกระบวนการที่แพทย์และคนไข้ สามารถใช้กระบวนการ IVF และเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproductive Technologies : ART) ที่เกี่ยวข้อง ในการเลือกเพศของตัวอ่อนที่ย้ายกลับโพรงมดลูก อย่างถูกต้องตามกฎหมายและทางจริยธรรม เนื่องจากเหตุผลทางการแพทย์

สาเหตุทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องเลือกเพศลูกที่พบบ่อยที่สุด คือการป้องกันการถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมที่อยู่บนโครโมโซมเพศ (sex-linked disorders) ของพ่อและแม่ไปสู่ลูก โรคพันธุกรรมในกลุ่มนี้ เกิดจากความผิดปกติของยีน (หรือ หน่วยพันธุกรรม) ที่อยู่บนโครโมโซมเพศ (X หรือ Y)

บนโครโมโซม X จะมีจำนวนยีนอยู่มากมายหลายร้อยตัว ส่วนโครโมโซม Y มีขนาดเล็กกว่าโครโมโซม X จึงมีจำนวนยีนน้อยกว่า

โรคพันธุกรรมจากความผิดปกติของยีนบนโครโมโซม Y เช่น ภาวะขนดกที่บริเวณหู (Hypertrichosis of the ears), โรคนิ้วเท้าติดกันแต่กำเนิด (Webbed Toes) หรือโรคผิวหนังเป็นเกล็ดคล้ายงู (Porcupine Man) สามารถถ่ายทอดจากพ่อสู่ลูกชายเท่านั้น เนื่องจากมีเพียงเด็กผู้ชายที่จะได้รับโครโมโซม Y จากพ่อ ส่วนเด็กผู้หญิงจะได้รับโครโมโซม X จากพ่อ ดังนั้นการเลือกเพศลูกหรือเพศของตัวอ่อน เป็นเพศหญิง จึงเป็นวิธีที่หลีกเลี่ยงการส่งต่อโรคทางพันธุกรรมบนโครโมโซม Y ที่ผิดปกติจากพ่อสู่ลูก

ส่วนการถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมจากความผิดปกติของยีนบนโครโมโซม X นั้น มีความซับซ้อนกว่ามาก สามารถถ่ายทอดได้ทั้งในลักษณะของยีนเด่น (dominant) และยีนด้อย (recessive) ขึ้นอยู่กับประเภทของโรคและเพศของเด็ก

               หากความผิดปกติทางพันธุกรรมนั้น อยู่บนโครโมโซม X จากพ่อ ลูกชายจะไม่ได้รับการสืบทอดความผิดปกติ เพราะลูกชายจะได้รับโครโมโซม Y จากพ่อ ส่วนลูกสาวจะเป็นพาหะ (carriers) ดังนั้นในกรณีที่พ่อเป็นพาหะของโรค ไม่ว่าความผิดปกตินั้นจะอยู่บนโครโมโซม X หรือ Y การเลือกเพศจึงเป็นการป้องกันการส่งต่อความผิดปกติทางพันธุกรรมดังกล่าวไปสู่รุ่นลูกหลาน (โดยเลือกตัวอ่อนให้เป็นเพศชายหากความผิดปกติอยู่บนโครโมโซม X ของพ่อ และเลือกตัวอ่อนให้เป็นเพศหญิงหากความผิดปกติอยู่บนโครโมโซม Y ของพ่อ)

กรณีที่ความผิดปกติอยู่บนโครโมโซม X หนึ่งแท่ง ของแม่ และการถ่ายทอดเป็นลักษณะด้อย (Recessive) ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ

  1. 50% ของบุตรชายจะเป็นโรค และอีก 50% ปกติ
  2. 50% ของบุตรสาวจะปกติ และอีก 50% เป็นพาหะ
  • หากเป็นการถ่ายทอดแบบลักษณะเด่น (dominant) ทั้งบุตรชายและบุตรสาว 50% จะเป็นโรค และอีก 50% ปกติ

ในบทความนี้ เราจะพาทุกท่านมาเรียนรู้เกี่ยวกับความผิดปกติทางพันธุกรรมบนโครโมโซม X (X-linked) ที่พบบ่อย และวิธีป้องลูกของคุณจากโรคทางพันธุกรรม X-linked นี้

5 โรคทางพันธุกรรม X-Linked ที่พบบ่อยที่สุด

1. กลุ่มอาการโครโมโซมเอกซ์เปราะ (Fragile-X Syndrome)

กลุ่มอาการโครโมโซมเอกซ์เปราะ หรือ Fragile X syndrome (FXS) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ของภาวะความบกพร่องทางด้านสติปัญญาและพัฒนาการจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ผู้ป่วยจะมีความบกพร่องทางสติปัญญา พัฒนาการในหลายด้าน เช่น การเรียนรู้ต่างๆ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน นอกเหนือจากนี้ ยังมีปัญหาด้านพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น อาการอยู่ไม่นิ่ง, สะบัดมือไปมา, กัดมือ, มีอารมณ์ฉุนเฉียว และออทิสซึม

ความผิดปกตินี้ถ่ายทอดสู่ลูกในรูปแบบยีนเด่น หรือ X-linked dominant สามารถส่งผลกระทบทั้งลูกสาวและลูกชาย แต่ลูกชายจะมีอาการรุนแรงกว่าลูกสาว เนื่องจากผู้หญิงมีโครโมโซม X สองแท่ง ซึ่งโครโมโซม X แท่งที่ปกติยังสามารถชดเชยโครโมโซม X อีกแท่งหนึ่งที่ผิดปกติได้ (XX) ส่วนลูกชายมีโครโมโซม X เพียงแค่แท่งเดียว (XY) จึงมักแสดงอาการรุนแรงมากกว่า

2. โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ชนิดดูเชน (Duchenne Muscular Dystrophy)

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงดูเชน หรือ Duchenne Muscular Dystrophy (DMD) เป็นภาวะความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่พบได้น้อย แต่เป็นหนึ่งในโรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อยและรุนแรงที่สุดในเด็ก โรคกล้ามเนื้อลีบดูเชนเกิดจากความผิดปกติของยีน DMD บนโครโมโซม X การกลายพันธุ์นี้ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถผลิต “dystrophin” ซึ่งเป็นโปรตีนที่กล้ามเนื้อต้องการเพื่อให้ทำงานเป็นปกติ หากไม่มีโปรตีน dystrophin เซลล์กล้ามเนื้อจะได้รับความเสียหาย จะมีอาการอ่อนแรง และค่อยๆ ลีบไปเรื่อย ๆ โรค DMD ส่งผลกระทบต่อการทำงานของกล้ามเนื้อหลายระบบของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น กระดูก, หัวใจ, หรือปอด และรุนแรงถึงขั้นทำให้หายใจเองไม่ได้ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้

ภาวะนี้ถ่ายทอดแบบยีนด้อยบนโครโมโซม X (X-linked recessive) โดยทั่วไปแล้วจะส่งผลกับเพศชายเท่านั้น ส่วนเพศหญิงจะเป็นเพียง “พาหะ” โอกาสที่เพศหญิงจะเกิดโรคนี้เกิดขึ้นได้น้อยมาก

3. โรคฮีโมฟีเลีย โรคเลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia)

โรคเลือดไหลไม่หยุด หรือ Hemophilia คือภาวะเลือดออกง่าย หยุดยาก เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เลือดไม่อาจจับตัวเป็นลิ่มตามปกติ เมื่อมีบาดแผล เลือดจะหยุดไหลยากหรือใช้เวลานานกว่าปกติกว่าจะหยุดไหล ภาวะเลือดออกนี้อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ในข้อต่อ กล้ามเนื้อ หรือเกิดขึ้นภายนอก จากการบาดเจ็บ บาดแผลเล็กน้อย การทำฟัน จากรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) พบว่า “โรค Hemophilia พบได้  1 ในทุกๆ 5,000 ของเด็กชายที่เกิดมา” และ “อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากไม่สามารถห้ามเลือดให้หยุดไหล หรือหากเกิดเลือดออกขึ้นที่อวัยวะสำคัญ เช่น สมอง”

เช่นเดียวกับโรค DMD ภาวะ Hemophilia ก็ถ่ายทอดในรูปแบบ X-linked recessive โดยทั่วไปแล้วจะมีอาการในเพศชายเท่านั้น ส่วนเพศหญิงจะเป็นเพียง “พาหะ”

4. โรคตาบอดสี ชนิดสีแดง-เขียว (Red-Green Color Blindness)

โรคตาบอดสีแดง-เขียว หรือ Deuteranopia เป็นภาวะตาบอดสีที่พบได้บ่อยที่สุด ผู้ที่ตาบอดสีแดง-เขียวจะไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างสีแดงกับสีเขียว และยังอาจมีผลกระทบกับความสามารถในการมองเห็นสีอื่นด้วย

เช่นเดียวกับ DMD และ Hemophilia โรคตาบอดสีแดง-เขียวถ่ายทอดอยู่ในรูปแบบ X-linked recessive โดยทั่วไปแล้วจะมีผลกับเพศชายเท่านั้น ในขณะที่เพศหญิงจะเป็นเพียง “พาหะ”

5. โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิด Agammaglobulinemia  (X-Linked Agammaglobulinemia)

โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิด Agammaglobulinemia หรือ X-Linked Agammaglobulinemia (XLA) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วย XLA จะมีจำนวน B Cells น้อยผิดปกติ ซึ่ง B Cells เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่สำคัญในการปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อ ผู้ที่เป็นโรค XLA จะติดเชื้อต่างๆ ง่าย ใช้เวลาในการรักษานานกว่าปกติ และมักกลับมาติดเชื้อซ้ำอีกแม้กำลังรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอยู่ก็ตาม เพราะร่างกายของพวกเขาสร้างภูมิคุ้มกัน หรือแอนติบอดีได้น้อยมาก การติดเชื้อที่พบบ่อยในผู้ที่มีภาวะ XLA ได้แก่ การติดเชื้อที่ปอด (ปอดบวมและหลอดลมอักเสบ), การติดเชื้อที่หู (โรคหูน้ำหนวก), โรคตาแดง (เยื่อบุตาอักเสบ), การติดเชื้อในโพรงจมูก (ไซนัสอักเสบ) และท้องร่วงเรื้อรัง ซึ่งการติดเชื้อซ้ำๆ นั้น สามารถสร้างความเสียหายถาวรต่ออวัยวะได้

ภาวะความผิดปกตินี้ เป็นรูปแบบการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมแบบยีนด้อยโครโมโซมX (X-linked recessive pattern) เช่นเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วจะมีผลกับลูกชายเท่านั้น ในขณะที่ลูกสาวจะเป็นเพียง “พาหะ”

แนวทางการรักษา: การใช้ IVF, PGT-M, PGT-A ในกระบวนการเลือกเพศลูก

ความผิดปกติทางพันธุกรรมบนโครโมโซมเพศส่วนใหญ่ไม่สามารถรักษาได้ แต่แน่นอนว่าสามารถป้องกันได้

สำหรับความผิดปกติที่เกิดจากฝั่งคุณพ่อ เราสามารถใช้การรักษาด้วยการทำเด็กหลอดแก้ว IVF/ICSI ร่วมกับการตรวจวินิจฉัยโครโมโซมของตัวอ่อนก่อนย้ายกลับเข้ามดลูก Pre-implantation Genetic Testing for aneuploidy (PGT-A) เพื่อคัดเลือกตัวอ่อนที่ “euploid” (หรือ จำนวนโครโมโซมปกติ) และเพศที่ไม่มีอาการ ไม่ว่าการเป็นพาหะของพ่อจะเกิดอยู่บนโครโมโซม X หรือ Y เราก็สามารถป้องกันการถ่ายทอดความผิดปกติดังกล่าวได้ง่ายๆ (โดยเลือกตัวอ่อนเป็นเพศชายหากความผิดปกติอยู่บนโครโมโซม X ของพ่อ และเลือกตัวอ่อนเป็นเพศหญิงหากความผิดปกติอยู่บนโครโมโซม Y ของพ่อ)

ส่วนความผิดปกติที่เกิดจากฝั่งคุณแม่ หากภาวะความผิดปกติ X-linked ของฝ่ายหญิงที่เป็นพาหะ มีลักษณะที่เกิดจากยีนเด่น (dominant) การเลือกเพศตัวอ่อน จะไม่สามารถป้องกันโรคทางพันธุกรรมได้ แต่หากเป็นภาวะ X-linked ที่เกิดจากยีนด้อย (recessive) คุณสามารถเลือกย้ายตัวอ่อนในเพศที่จะช่วยเลี่ยงการส่งต่อความผิดปกติทางพันธุกรรมของคุณได้ แต่ปัจจุบันเราสามารถใช้ IVF/ICSI ร่วมกับการตรวจวินิจฉัยยีนที่ผิดปกติของตัวอ่อนก่อนย้ายกลับเข้ามดลูก Pre-implantation Genetic Testing for monogenetic disorders (PGT-M) เพื่อเลือกตัวอ่อนที่ไม่มียีนที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นตัวอ่อนเพศหญิงหรือชายก็ตาม

PGT-M (ก่อนหน้านี้รู้จักกันในชื่อ PGD) คือการวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อน จากกระบวนการเด็กหลอดแก้ว IVF/ICSI ก่อนที่จะย้ายตัวอ่อนกลับมดลูก ที่ Superior A.R.T. เราใช้เทคนิค Karyomapping ซึ่งเป็นเทคโนโลยีล่าสุดสำหรับการตรวจ PGT-M สามารถวิเคราะห์และวินิจฉัยความผิดปกติทางพันธุกรรมได้ถูกต้องแม่นยำ มีความน่าเชื่อถือสูง และออกผลรวดเร็ว ใช้เวลาเพียงแค่ 1-3 สัปดาห์ แตกต่างจากเทคนิค PGT-M อื่นๆ ในอดีต ที่ต้องเสียเวลาหลายเดือน อย่างไรก็ดี

หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ PGT-M และลักษณะเฉพาะของ Karyomapping สามารถคลิกที่นี่

References

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

ถามหมอ 💬 : อายุ 40+ มีลูกได้ไหม by หมอจิว

เมื่อผู้หญิงเริ่มมีอายุมากขึ้น ความกังวลเรื่องการมีบุตรก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย จนหลายคนมีคำถามว่า อายุ 40 ปีขึ้นไป ยังมีโอกาสมีลูกได้หรือไม่?

สเปิร์มน้อย สเปิร์มไม่แข็งแรง แก้ไขได้ ถ้ารู้ก่อน

สเปิร์มน้อย สเปิร์มไม่แข็งแรง แก้ไขได้ ถ้ารู้ก่อน ด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพคู่รัก Couple Checkup ในราคาพิเศษเพียง 4,999 บาท

Lab และ Technology ปัจจัยสำคัญที่ห้ามมองข้ามในการเลือกทำ ICSI

เนื่องจากการทำ ICSI เป็นกระบวนการที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อน ห้องปฏิบัติการ (Lab) จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง