ข่าวสารและบทความ

5 สิ่งที่ต้องรู้ หากอยากมีลูกหลังอายุ 35 ปี


ปัจจุบัน ผู้หญิงหลายคนเลือกที่จะสร้างความมั่นคงในชีวิต ก่อนที่จะตัดสินใจมีลูก ทำให้การมีลูกหลังอายุ 35 ปี เป็นเรื่องปกติมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อมูลสำคัญสำหรับว่าที่คุณแม่ควรรู้ เพื่อเตรียมตัวให้พร้อม หากอยากมีลูกหลังอายุ 35 ปี


1. แม้อายุจะมากขึ้น แต่โอกาสในการมีลูกก็ยังคงมีอยู่ ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์

เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว ทำให้ผู้หญิงหลายคนสามารถมีลูกได้ แม้ว่าจะอายุเกิน 35 ปี เพราะปัจจุบันมีคลินิคและโรงพยาบาลในไทยที่นำเทคโนโลยีมาใช้และให้บริการมากขึ้น


2. การตั้งครรภ์หลังอายุ 35 ปี อาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ

เช่น ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง และครรภ์เป็นพิษ แต่สิ่งเหล่านี้สามารถควบคุมได้ด้วยการดูแลสุขภาพ และไปตามนัดแพทย์เพื่อตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ


3. การมีลูกหลัง 35 ปี อาจมีความเสี่ยงที่ลูกจะมีความผิดปกติทางโครโมโซมมากขึ้น

เช่น ดาวน์ซินโดรม แต่ปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อนก่อนย้ายเข้าสู่มดลูก (PGT-A) รวมไปถึงการตรวจคัดกรองทารกที่อยู่ในครรภ์ (NIPT) ที่มีความแม่นยำสูง และสามารถตรวจพบความผิดปกติทางโครโมโซมได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ช่วยให้คุณเตรียมตัว ป้องกัน และรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้


4. ปัจจุบัน มีการบริการและการตรวจคัดกรองแบบครบวงจร ที่ออกแบบมาเพื่อคุณแม่ที่ตั้งครรภ์หลังอายุ 35 ปีโดยเฉพาะ

เช่น การตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกที่อยู่ในครรภ์ (NIPT), การตรวจอัลตราซาวด์เพื่อหาความผิดปกติของทารกอย่างละเอียด, การติดตามการเจริญเติบโตของทารกอย่างสม่ำเสมอ หรือการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้การตั้งครรภ์ของคุณแม่ปลอดภัยมากขึ้น


5. การมีสุขภาพที่ดี ในช่วงเตรียมตัวก่อนและระหว่างตั้งครรภ์หลังอายุ 35 ปีนั้นสำคัญมาก

โดยคุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม พักผ่อนให้เพียงพอ และปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล


สำหรับสาวๆ คนไหนที่มีความกังวลว่าจะมีน้องได้ไหม สามารถเข้ามาปรึกษากับคุณหมอ เพื่อตรวจประเมินก่อนได้นะคะ 🙂 รายละเอียดการตรวจวิเคราะห์ภาวะมีบุตรยาก คลิก

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

🔬นักวิทย์ 💬 อยากเล่า : กลุ่มไหนบ้างที่มาคัดกรองลูกปลอดโรคที่ Superior A.R.T.

ดร.เก๋ เกษร จะมาเล่าให้ฟังว่า 3 กลุ่มที่เข้ามาปรีกษา เพื่อเพิ่มโอกาสในการมีบุตรที่แข็งแรง ปลอดจากโรคทางพันธุกรรมมีใครกันบ้าง

𝐒𝐮𝐩𝐞𝐫𝐢𝐨𝐫 𝐀.𝐑.𝐓. 𝐋𝐈𝐕𝐄 : 🅔🅟.55 ❝ทำหมันแล้ว แต่อยากมีลูก จะทำอย่างไร❞

เคยทำหมันมาแล้ว ตอนนี้อยากมีลูกอีกครั้ง จะมีแนวทางการรักษาใดบ้างที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สำเร็จมากขึ้น

ไขข้อข้องใจ! การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน (PGT) มีผลต่อคุณภาพของตัวอ่อนจริงหรือ?

หลายคนกังวลว่า การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน (PGT) อาจทำให้ตัวอ่อนเสียหายหรือส่งผลต่อการฝังตัว วันนี้ Superior A.R.T. จะมาพาทุกคนไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้กันค่ะ