ข่าวสารและบทความ

10 เรื่องชวนเซอร์ไพรส์ที่คุณอาจไม่รู้มาก่อนเกี่ยวกับอสุจิ (ตอนที่ 2)

❝ คุณรู้เรื่องอสุจิดีพอหรือยัง? ❞

วันนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักอสุจิให้มากขึ้น ผ่าน 10 เรื่องชวนเซอร์ไพรส์ที่คุณอาจไม่รู้มาก่อนเกี่ยวกับอสุจิ ตอนที่ 2 จะเป็นเรื่องอะไรบ้างนั้นไปอ่านกันเลย!

6. อัณฑะช่วยควบคุมอุณภูมิ
อสุจิจะถูกเก็บไว้ในลูกอัณฑะ โดยอัณฑะจะช่วยควบคุมอุณหภูมิบริเวณถุงที่เก็บอสุจิให้ต่ำกว่าอุณหภูมิร่างกายประมาณ 2 องศาเซลเซียส โดยกล้ามเนื้อสำคัญที่ช่วยควบคุมอุณหภูมิคือ cremaster ที่จะยกและปล่อยอัณฑะเพื่อควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับอสุจิ

7. สัญญาณไวไฟทำลายอสุจิ
มีผลการวิจัยชี้ชัดว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน และอุปกรณ์ไวไฟส่งผลต่ออสุจิในเรื่องศักยภาพการเคลื่อนที่และทำลายอสุจิ ทำให้ความสามารถในการมีบุตรลดลง

8. เก็บน้ำเชื้อไว้นานๆ ส่งผลต่อคุณภาพอสุจิ
ใครที่มีความคิดว่าเก็บน้ำเชื้อไว้นานๆ จะช่วยเพิ่มความเข้มข้นและประสิทธิภาพอสุจิได้ละก็ บอกเลยว่าผิด! การเก็บน้ำเชื้อไว้นานๆ จะทำให้อสุจิอยู่ในอวัยวะสืบพันธุ์นานขึ้น ทำให้มีโอกาสรับสารพิษที่ทำลายอสุจิได้ ดังนั้นเพื่อประสิทธิภาพที่ดีของอสุจิ ผู้ชายควรหลั่งน้ำอสุจิประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ 

9. อสุจิอุดมไปด้วยสารอาหาร
ในน้ำอสุจิมีปริมาณโปรตีนมากพอๆ กับไข่ไก่ขาว รวมถึงสารอาหารที่จำเป็นอื่นๆ อีกมากมาย เช่น วิตามินซี แมกนีเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส สังกะสี และแคลเซียม 

10. ผู้ชายสามารถผลิตอสุจิได้ตลอดชีวิต
ผู้ชายสามารถผลิตอสุจิได้ทุกวันตลอดชีวิต แต่ถึงแม้จะผลิตอสุจิได้ แต่ปริมาณและคุณภาพของน้ำอสุจิย่อมลดลงเมื่อผู้ชายมีอายุมากขึ้น

จบไปแล้วกับเรื่องชวนเซอร์ไพรส์​ของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เรียกว่าอสุจิ แต่ละเรื่องไม่ธรรมดาเลยใช่ไหมคะ หวังว่าบทความที่เราเอามาฝากในวันนี้จะทำให้คุณเข้าใจธรรมชาติของร่างกายเราได้มากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม : 10 เรื่องชวนเซอร์ไพรส์ที่คุณอาจไม่รู้มาก่อนเกี่ยวกับอสุจิ ตอนที่ 1

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

ไลฟ์สไตล์ที่ปรับเปลี่ยน ส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ในสังคมสมัยใหม่

รู้หรือไม่ว่า การมีบุตรยากกำลังเป็นภัยเงียบในสังคมยุคใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจเกิดจากพฤติกรรม และค่านิยมที่เปลี่ยนไปของผู้คนในยุคปัจจุบัน

ถามหมอ 💬 กับหมอจิว : ปล่อยธรรมชาตินานแค่ไหน ถึงเข้าข่ายมีลูกยาก

เพราะระยะเวลาในการตั้งครรภ์ของคู่สมรสที่ปล่อยธรรมชาติ จะมีความแตกต่างกันไป หลายคนเกิดคำถามว่า ต้องพยายามมีลูกตามธรรมชาติมานานแค่ไหน ถึงจะถือว่าเข้าข่ายมีบุตรยาก?

ถามหมอ 💬 กับหมอนิ : เคยแท้งมาก่อน โอกาสมีลูกจะลดลงหรือไม่ ?

คุณหมอนิ พญ.นิศารัตน์ จะมาตอบข้อสงสัยให้ทุกท่านได้ทราบกัน สำหรับคุณแม่ที่เคยสูญเสียลูกน้อยจากการแท้งลูก อาจมีความกังวลใจว่าโอกาสในการมีลูกอีกครั้งจะยากขึ้นหรือไม่