ข่าวสารและบทความ

7 เรื่องสำคัญ ที่คุณยังไม่รู้ หรือเข้าใจผิด เกี่ยวกับโอกาสการตั้งครรภ์ 🤰

7 เรื่องน่ารู้ ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ 🤰

1.ความเครียดส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์

รู้ไหมว่าเรื่องเครียดที่เราเจอในแต่ละวันนั้น อาจส่งผลต่อโอกาสการตั้งครรภ์ได้ เพราะสมองจะหลั่งฮอร์โมนความเครียดที่ส่งผลต่อการตกของไข่และการแข็งตัวขององคชาตได้

2. ผู้หญิงที่วางแผนมีลูกควรรับประทานกรดโฟลิกก่อนตั้งครรภ์

ผู้หญิงส่วนใหญ่คิดว่าควรเริ่มกินวิตามินหลังจากตั้งครรภ์แล้วเท่านั้น แต่จริงๆ แล้ว ควรรับประทานวิตามิน เช่น กรดโฟลิกซึ่งเป็นวิตามินบีชนิดหนึ่งที่ร่างกายต้องการ 2 เดือนก่อนที่วางแผนจะมีลูก เพราะจะช่วยลดภาวะผิดปกติของทารกในครรภ์ ช่วยเสริมสร้างกระบวนการผลิตเซลล์ใหม่ให้มีคุณภาพดี ทำให้ไข่แข็งแรง เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์มากขึ้น

3. ท่วงท่าของการมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้ส่งผลต่อการตั้งครรภ์

มักจะมีความเชื่อกันว่าท่วงท่าของการมีเพศสัมพันธ์จะช่วยให้สอดใส่ได้ลึกขึ้น ช่วยให้ท้องง่ายนั้นไม่จริงเสมอไป เพราะเมื่อมีการหลั่งน้ำอสุจิในตำแหน่งที่เหมาะสม สเปิร์มก็สามารถเคลื่อนตัวไปที่รังไข่ได้ตามปกติอยู่แล้ว

4. ยืนขึ้นทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์จะไม่ส่งผลกระทบต่อการปฏิสนธิ

การยืนขึ้นหลังมีเพศสัมพันธ์ตามธรรมชาติจะไม่ส่งผลต่อความสามารถของสเปิร์มในการปฏิสนธิกับไข่ ยกเว้นแต่ในกระบวนการผสมเทียม ผู้ป่วยควรนอนราบประมาณ 30 นาที –  1 ชม. หลังจากขั้นตอนการผสมเทียม

5. มีเพศสัมพันธ์หลายครั้งในหนึ่งวันไม่ได้เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

การมีเพศสัมพันธ์ทุกวันในช่วงที่ไข่ตกจะช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้ เพราะสเปิร์มสามารถอยู่รอไข่ในมดลูกได้ประมาณ 42 ถึง 72 ชั่วโมงหลังการหลั่ง ดังนั้นการมีเพศสัมพันธ์ทุกวัน หรือสองวันก่อนไข่ตกจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้

6. ไม่ว่าจะอ้วน ผอม หรือร่างกายสมส่วน ก็ไม่ได้การันตีถึงโอกาสการมีลูก

การออกกำลังกายและการรักษารูปร่างเป็นสิ่งที่ดี อย่างไรก็ตาม การเล่นกีฬาที่หนักเกินไป รวมไปถึงการลดน้ำหนักที่มากจนเกินไป อาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร ส่งผลกระทบต่อช่วงเวลาของไข่ตกทำให้มีบุตรยากได้

7. ประจำเดือนมาสม่ำเสมอไม่ได้หมายความว่าจะตั้งครรภ์ได้เสมอไป

ผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มักจะมีปัญหาในการตั้งครรภ์ เพราะไม่สามารถวางแผนประเมินหาช่วงเวลาของไข่ตกได้ แต่รู้หรือไม่ว่าแม้จะมีรอบเดือนมาปกติสม่ำเสมอก็สามารถมีภาวะมีบุตรยากได้เช่นกัน อันเนื่องจากปัจจัยอื่น ดังนั้นควรพบสูตินรีแพทย์หากคุณมีอายุมากกว่า 35 ปี หรืออายุต่ำกว่า 35 ปี แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์หลังลองมาแล้วมากกว่า 1 ปี เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับการทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://bit.ly/3VHGQif

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

🔬นักวิทย์ 💬 อยากเล่า : แช่แข็งไข่เก็บไว้ 10 ปี ทำได้หรือไม่

คุณดวงสมร จากแลปเลี้ยงตัวอ่อนจะมาไขทุกข้อสงสัย ให้สาวๆ ที่มีความกังวลเรื่องระยะเวลาในการเก็บรักษาไข่ที่แช่แข็ง ว่าจะสามารถเก็บไว้ได้นานแค่ไหน

ถามหมอ 💬 กับหมอโฟม : ผนังมดลูกควรจะหนาเท่าไหร่ ถึงจะพร้อมใส่ตัวอ่อน

เยื่อบุโพรงมดลูก มีหน้าที่ในการรับการฝังตัวของตัวอ่อน เยื่อบุโพรงมดลูกของแต่ละคน ในแต่ละรอบเดือนจะหนาไม่เท่ากัน แล้วต้องหนาเท่าไหร่จึงจะเหมาะกับการใส่ตัวอ่อน

5 สิ่งที่ต้องรู้ หากอยากมีลูกหลังอายุ 35 ปี

มาเรียนรู้ข้อมูลสำคัญเพื่อเตรียมความพร้อม หากวางแผนมีลูกหลังอายุ 35 ปี เพราะปัจจุบันผู้หญิงเลือกที่จะสร้างความมั่นคงในชีวิต ก่อนที่จะตัดสินใจมีลูก