ข่าวสารและบทความ

5 เรื่อง ที่คนอยากท้องต้องรู้

5 เรื่อง ที่คนอยากท้องต้องรู้

1️⃣ ไม่มีวิธีไหนที่ทำให้ร่างกายผลิตไข่เพิ่มได้
รุ้ไหมว่าร่างกายของผู้หญิงไม่สามารถผลิตไข่เพิ่มได้ เพราะผู้หญิงทุกคนเกิดมาพร้อมไข่ 1-2 ล้านฟอง โดยจำนวนไข่จะค่อยๆ ลดลงเหลือไม่กี่แสนฟองเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น จากนั้นไข่จะลดลงเรื่อยๆ ทุกปี โดยจะลดลงอย่างมากหลังจากอายุ 37 ปีเป็นต้นไป ดังนั้นการเลือกฝากไข่ที่สมบูรณ์ไว้เมื่ออายุยังน้อยและนำกลับมาใช้ในวันที่พร้อมมีบุตรจึงเป็นทางเลือกที่ดี เพื่อป้องกันปัญหามีลูกยากในอนาคต

2️⃣ ตั้งครรภ์ตอนอายุมากยิ่งเพิ่มความเสี่ยง
นอกจากจำนวนไข่ที่ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น การตั้งครรภ์หลังอายุ 35 ปี ยังเพิ่มความเสี่ยงโครโมโซมที่ผิดปกติของตัวอ่อน เพิ่มโอกาสแท้งบุตรมากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นหากคุณมีอายุมากกว่า 35 ปี การเข้ารับการปรึกษากับสูตินรีแพทย์หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนมีบุตรและรักษาภาวะมีบุตรยาก จะช่วยลดความเสี่ยงในด้านต่างๆ ได้

3️⃣ ใช้ยาคุมกำเนิดไม่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ในอนาคต
หลายๆ คนมีความเชื่อว่าการใช้ยาคุมกำเนิดต่อเนื่องนั้น จะทำให้มีลูกยากในอนาคตนั้น อาจไม่เป็นความจริงเสมอไป การวิจัยแสดงให้เห็นว่าเมื่อหยุดใช้ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน อัตราการตั้งครรภ์นั้น ไม่ต่างกับผู้หญิงที่ไม่เคยกินยาคุมมาก่อนเลย แต่สำหรับการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฉีด มีผลทำให้มีบุตรช้าและยากขึ้น แม้หยุดยาไปนานแล้ว

4️⃣ ท่าทางการมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์
ไม่ว่าท่วงท่าการมีเพศสัมพันธ์จะเป็นแบบไหน ก็ไม่ได้เพิ่มโอกาสให้คุณตั้งท้องเพิ่มขึ้นหรือลดลง เพราะตัวอสุจิสามารถเคลื่อนตัวเข้าสู่มดลูกได้อยู่แล้ว หัวใจสำคัญคือคุณต้องไม่เครียดไม่กดดัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์มากขึ้น

5️⃣ โอกาสทองในการตั้งครรภ์นั้น มีเพียงไม่กี่วันต่อเดือน
หลายๆ คู่ที่วางแผนจะมีลุก อาจยังไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วร่างกายของผู้หญิงมีช่วงเวลาทองที่มีโอกาสการตั้งครรภ์สูงอยู่เพียงไม่กี่วันต่อรอบเดือนเท่านั้น ช่วงที่ไข่ตกมักจะเกิดขึ้นประมาณสองสัปดาห์ก่อนประจำเดือนรอบถัดไป ซึ่งระยะเวลาที่มีโอกาสตั้งครรภ์สูงคือ 1-2 วันก่อนไข่ตก และสิ้นสุดลงหลังไข่ตก 1 วัน รวมทั้งหมดประมาณ 4 วันเท่านั้น อย่างไรก็ตามอสุจิสามารถอยู่รอดในร่างกายได้ประมาณ 3-5 วัน ดังนั้นเพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ควรมีเพศสัมพันธ์ก่อนไข่ตกและในวันที่ไข่ตกด้วย เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์มากยิ่งขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://bit.ly/3DPYURp

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

🔬นักวิทย์ 💬 อยากเล่า : กลุ่มไหนบ้างที่มาคัดกรองลูกปลอดโรคที่ Superior A.R.T.

ดร.เก๋ เกษร จะมาเล่าให้ฟังว่า 3 กลุ่มที่เข้ามาปรีกษา เพื่อเพิ่มโอกาสในการมีบุตรที่แข็งแรง ปลอดจากโรคทางพันธุกรรมมีใครกันบ้าง

𝐒𝐮𝐩𝐞𝐫𝐢𝐨𝐫 𝐀.𝐑.𝐓. 𝐋𝐈𝐕𝐄 : 🅔🅟.55 ❝ทำหมันแล้ว แต่อยากมีลูก จะทำอย่างไร❞

เคยทำหมันมาแล้ว ตอนนี้อยากมีลูกอีกครั้ง จะมีแนวทางการรักษาใดบ้างที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สำเร็จมากขึ้น

ไขข้อข้องใจ! การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน (PGT) มีผลต่อคุณภาพของตัวอ่อนจริงหรือ?

หลายคนกังวลว่า การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน (PGT) อาจทำให้ตัวอ่อนเสียหายหรือส่งผลต่อการฝังตัว วันนี้ Superior A.R.T. จะมาพาทุกคนไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้กันค่ะ