ข่าวสารและบทความ

5 เรื่องจริงที่คุณอาจยังไม่รู้เกี่ยวกับ PCOS

5 เรื่องจริงที่คุณอาจยังไม่รู้เกี่ยวกับ PCOS

5 เรื่องจริงที่คุณอาจยังไม่รู้เกี่ยวกับ PCOS

จากที่เราได้นำเสนอเกี่ยวกับ PCOS หรือ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ไปหลายตอนแล้ว แต่ก็ยังมีอีกหลายเรื่องเกี่ยวกับ PCOS ตัวร้ายที่เป็นอุปสรรคกับการตั้งครรภ์ กับ 5 เรื่องจริงที่คุณอาจยังไม่รู้!

1. PCOS สัมพันธ์กับภาวะฮอร์โมนเพศชายเกิน และภาวะดื้ออินซูลิน

คนไข้ที่มี PCOS จะมีการดื้ออินซูลินมากกว่าคนปกติ  ส่งผลให้มีการผลิตฮอร์โมนเพศชายมากขึ้น ทำให้ไข่ไม่ตกและประจำเดือนมาผิดปกติ

2. ลดน้ำหนักอย่างเดียว อาจไม่พอสำหรับ PCOS

ใครที่อ้วนอาจเชื่อว่า ถ้าลดน้ำหนักเพียงอย่างเดียวจะช่วยรักษาโรค PCOS ได้ ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมด ผู้ที่เป็น PCOS ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อปรับสมดุลฮอร์โมน เช่น การปรับโภชนาการ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ และปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง นอกเหนือจากแค่ลดน้ำหนัก

3. ภาวะ PCOS พบได้เยอะกว่าที่คิด

ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์เผชิญกับภาวะ PCOS มากถึง 5 ล้านคน และเกือบครึ่งหนึ่งไม่ทราบว่าตนเองมีภาวะนี้ นอกจากนี้ตามสถิติพบว่า PCOS เป็นสาเหตุหลักของภาวะมีบุตรยากอีกด้วย 

4. แม้จะเป็น PCOS ก็สามารถตั้งครรภ์ได้

จริงอยู่ที่ PCOS เป็นสาเหตุหลักหนึ่งของภาวะมีบุตรยาก เพราะไข่ตกไม่สม่ำเสมอ แต่ในปัจจุบัน เทคโนโลยีรักษาภาวะมีบุตรยากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น การทำเด็กหลอดแก้ว IVF หรือ ICSI สามารถช่วยให้ผู้ที่มีภาวะ PCOS ตั้งครรภ์ได้ไม่ยาก หากคุณกำลังประสบปัญหานี้และอยากมีลูก ควรมาปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาภาวะมีบุตรยาก

5. ใครๆ ก็มีโอกาสเป็น PCOS ได้

คนส่วนใหญ่อาจคิดว่า PCOS เกิดขึ้นเฉพาะแค่คนอ้วนเท่านั้น แต่ความเป็นจริง คือภาวะอ้วนอาจทำให้อาการ PCOS แย่ลง แต่ความจริงแล้ว PCOS สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน ไม่ว่าจะอ้วนหรือผอม ดังนั้น การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพเป็นประจำ ช่วยลดปัญหาหรืออาการต่างๆ ของภาวะ PCOS ลงได้

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

🔬นักวิทย์ 💬 อยากเล่า : กลุ่มไหนบ้างที่มาคัดกรองลูกปลอดโรคที่ Superior A.R.T.

ดร.เก๋ เกษร จะมาเล่าให้ฟังว่า 3 กลุ่มที่เข้ามาปรีกษา เพื่อเพิ่มโอกาสในการมีบุตรที่แข็งแรง ปลอดจากโรคทางพันธุกรรมมีใครกันบ้าง

𝐒𝐮𝐩𝐞𝐫𝐢𝐨𝐫 𝐀.𝐑.𝐓. 𝐋𝐈𝐕𝐄 : 🅔🅟.55 ❝ทำหมันแล้ว แต่อยากมีลูก จะทำอย่างไร❞

เคยทำหมันมาแล้ว ตอนนี้อยากมีลูกอีกครั้ง จะมีแนวทางการรักษาใดบ้างที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สำเร็จมากขึ้น

ไขข้อข้องใจ! การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน (PGT) มีผลต่อคุณภาพของตัวอ่อนจริงหรือ?

หลายคนกังวลว่า การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน (PGT) อาจทำให้ตัวอ่อนเสียหายหรือส่งผลต่อการฝังตัว วันนี้ Superior A.R.T. จะมาพาทุกคนไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้กันค่ะ