ข่าวสารและบทความ

สาว Gen Z แชร์ เรื่องราวการฝากไข่ Egg Freezing ตั้งแต่อายุ 25 ผ่าน#eggfreezingjourney

อะไรนะ! สาวๆ ต่างประเทศเริ่มฝากไข่ตั้งแต่อายุ 25 Global Trend สาวๆ Gen Z เริ่มฝากไข่กันแล้ว มีคนดูคลิปใน Tiktok ถึง 30 ล้านวิว

สาว Gen Z แชร๋เรื่องราวฝากไข่ตั้งแต่อายุ 25 ผ่าน #eggfreezingjourney

ผู้หญิงในช่วงวัยอายุ 20-30 จำนวนมาก เริ่มหันมาฝากแช่แข็งไข่มากขึ้น เนื่องจากมีความกังวลเรื่องภาวะมีบุตรยากในอนาคต พร้อมกับโพสต์รีวิวประสบการณ์การเก็บไข่ลงโซเชียลมีเดียผ่านช่องทาง TikTok โดยใช้แฮชแท็ก #eggfreezingjourney ซึ่งมียอดวิวมากกว่า 30 ล้านครั้ง 

องค์กร Human Fertilisation and Embryology Authority (HFEA) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระที่กำกับดูแลเกี่ยวกับตัวอ่อนและการเจริญพันธุ์ของอังกฤษ ออกมาเปิดเผยสถิติพบว่า ในปี 2564 มีการฝากไข่ เก็บไข่มากกว่า 4,200 ฟอง โดยเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากปี 2562 ที่มีการเก็บไข่เพียง 2,500 ฟอง และข้อมูลล่าสุดยังระบุว่ามีผู้หญิงที่มีอายุต่ำกว่า 34 ปี จำนวน 1,363 คน เคยผ่านการแช่แข็งไข่อย่างน้อย 1 ครั้ง ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากกว่าปี 2019 ถึง 63%

เชื่อกันว่าผู้หญิงที่ใช้บริการแช่แข็งไข่ Social Egg Freezing มีจำนวนพุ่งสูงขึ้น เนื่องมาจากเหตุการณ์โควิด-19 เพราะการแพร่ระบาดทำให้การออกเดทของผู้หญิงโสดต้องหยุดชะงักลง ส่งผลให้หลายคนเริ่มไม่แน่ใจว่าจะได้เจอคู่ครองที่เหมาะสมเพื่อสร้างครอบครัวเมื่อใด และเกิดความกังวลใจถึงการมีลูกในอนาคต 

นอกจากนี้ยังมีหญิงสาวหลายๆ คนออกมาแชร์เหตุผลการเก็บไข่ ฝากไข่ แช่แข็งไข่ หรือ Egg Freezing อาทิเช่น ‘แช่แข็งไข่เพื่อซื้อเวลาให้ตัวเองได้ทำตามเป้าหมายในชีวิตการทำงาน’ , ‘ไม่อยากรีบร้อนที่จะแต่งงานเพื่อมีลูก ประกอบกับทางครอบครัวเคยมีประวัติมีลูกยาก ประจำเดือนหมดเร็ว’ , ‘ตัดสินใจฝากไข่เพราะสุขภาพไม่แข็งแรง มียีนมะเร็งเต้านมทำให้ไม่อยากมีลูกด้วยวิธีธรรมชาติ เพราะไม่อยากส่งต่อยีนนี้กับลูก’ เป็นต้น

ไม่ว่าการตัดสินใจแช่แข็งไข่ในหมู่สาวๆ ที่อายุยังน้อยจะเป็นเพราะเหตุผลอะไร แต่การแช่แข็งไข่ก็ถือเป็นทางเลือกที่ช่วยให้สามารถวางแผนการเริ่มต้นชีวิตครอบครัวให้มีคุณภาพและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก ​: https://www.dailymail.co.uk/health/article-12345389/Why-Gen-Z-rushing-freeze-eggs-TikTok-craze-driven-fertility-fears-women-20s.html

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

ของขวัญชิ้นแรกที่ล้ำค่าสำหรับลูกน้อย คัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อน หลีกเลี่ยงโรคธาลัสซีเมีย

ของขวัญชิ้นแรกสำหรับลูกน้อย คัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อน หลีกเลี่ยงโรคธาลัสซีเมีย มีความแม่นยำและน่าเชื่อถือกว่า 95% ให้ลูกน้อยของคุณมีสุขภาพดี

ถามหมอ 💬 กับหมอนิ : ธาลัสซีเมียเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่

ธาลัสซีเมียเป็นโรคโลหิตจางที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งสามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกได้โดยตรง จึงเป็นเรื่องที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังวางแผนจะมีบุตรเกิดความกังวลไม่น้อย และมีคำถามตามมาว่า “ธาลัสซีเมียสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่?”

AMH (Anti-Müllerian Hormone) ควรอยู่ที่เท่าไหร่นะ?

AMH (Anti-Müllerian Hormone) คือ ฮอร์โมนที่ถูกผลิตขึ้นโดยเซลล์ของไข่ในรังไข่ เป็นตัวช่วยประเมินการทำงานของรังไข่ และปริมาณไข่ที่เหลืออยู่