ข่าวสารและบทความ

8 พฤษภาคม 2567 วันธาลัสซีเมียโลกเพื่อรณรงค์ให้เห็นถึงความสำคัญในการป้องกันโรคธาลัสซีเมีย

8 พฤษภาคม 2567 วันธาลัสซีเมียโลก

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้ทุกวันที่ 8 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันธาลัสซีเมียโลกเพื่อรณรงค์ให้เห็นถึงความสำคัญในการป้องกันโรคธาลัสซีเมีย ที่สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปยังบุตรได้ ซึ่งพบว่ามีคนที่เป็นพาหะธาลัสซีเมียร้อยละ 40 ของประชากรไทย

โรคธาลัสซีเมีย สามารถป้องกันได้ด้วย Karyomapping เทคนิคล่าสุดที่ช่วยในการตรวจหาโรคทางพันธุกรรมในระดับยีนเดี่ยว เพื่อคัดกรองตัวอ่อนที่ปราศจากโรคใส่กลับสู่โพรงมดลูก หรือในกรณีที่มีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมีย ก็สามารถคัดกรองตัวอ่อนที่ปลอดโรคและมีเนื้อเยื่อเข้ากันได้กับบุตรที่ป่วย (HLA Matching) เพื่อใช้ในการรักษาบุตรที่เป็นธาลัสซีเมียให้หายขาดได้

Karyomapping ถือเป็นเทคนิคที่มีความละเอียดสูง แม่นยำมากกว่า 95% และสามารถตรวจครอบคลุมโรคทางพันธุกรรมอื่นๆ ได้อีกหลายโรค จึงเหมาะกับคู่สมรสที่มีประวัติโรคพันธุกรรมในครอบครัว และอยากมีลูกที่แข็งแรง ปราศจากโรค ผู้ที่สนใจสามารถตรวจคัดกรอง Karyomapping ได้ที่ Superior A.R.T.

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

🔬นักวิทย์ 💬 อยากเล่า : กลุ่มไหนบ้างที่มาคัดกรองลูกปลอดโรคที่ Superior A.R.T.

ดร.เก๋ เกษร จะมาเล่าให้ฟังว่า 3 กลุ่มที่เข้ามาปรีกษา เพื่อเพิ่มโอกาสในการมีบุตรที่แข็งแรง ปลอดจากโรคทางพันธุกรรมมีใครกันบ้าง

𝐒𝐮𝐩𝐞𝐫𝐢𝐨𝐫 𝐀.𝐑.𝐓. 𝐋𝐈𝐕𝐄 : 🅔🅟.55 ❝ทำหมันแล้ว แต่อยากมีลูก จะทำอย่างไร❞

เคยทำหมันมาแล้ว ตอนนี้อยากมีลูกอีกครั้ง จะมีแนวทางการรักษาใดบ้างที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สำเร็จมากขึ้น

ไขข้อข้องใจ! การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน (PGT) มีผลต่อคุณภาพของตัวอ่อนจริงหรือ?

หลายคนกังวลว่า การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน (PGT) อาจทำให้ตัวอ่อนเสียหายหรือส่งผลต่อการฝังตัว วันนี้ Superior A.R.T. จะมาพาทุกคนไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้กันค่ะ