
ประเมินและทดสอบภาวะเจริญพันธุ์ เพื่อให้รู้ว่าคุณมีลูกยากหรือไม่
1. ซักประวัติและตรวจร่างกาย
แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยละเอียด เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับคู่สมรสแต่ละคู่
2. อัลตร้าซาวด์เพื่อประเมินอวัยวะในอุ้งเชิงกราน
ทำอัลตร้าซาวด์เพื่อประเมินโครงสร้างของมดลูก ท่อนำไข่และรังไข่ และหากตรวจในช่วงที่มีประจำเดือน (วันที่ 2-3 ของรอบเดือน) จะสามารถบอกจำนวนฟองไข่ในรังไข่ได้ด้วย
3. การตรวจในห้องปฏิบัติการ
ตรวจเลือดประเมินความพร้อมก่อนรักษา เช่น ความสมบูรณ์ของเลือด, ตรวจคัดกรองพาหะธาลัสซีเมีย, ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, วัดระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับภาวะมีบุตรยากในฝ่ายหญิง เพื่อนำผลที่ได้มาประเมินวิธีที่เหมาะสมในการรักษาต่อไป
4. ฉีดสีตรวจโพรงมดลูกและปีกมดลูก
ในกรณีที่สงสัยว่าอาจมีท่อนำไข่อุดตัน หรือสงสัยความผิดปกติในโพรงมดลูก แพทย์อาจสั่งให้ทำการฉีดสีตรวจโพรงมดลูกและปีกมดลูก
5. ตรวจวิเคราะห์น้ำเชื้ออสุจิ
ตรวจวิเคราะห์น้ำเชื้ออสุจิของฝ่ายชาย เพื่อประเมินปริมาณ ความหนาแน่น การเคลื่อนไหว ตลอดจนรูปร่างของอสุจิ หากมีความผิดปกติ อาจตรวจประเมินเพิ่มเติม หรือใช้เทคนิคการเก็บน้ำเชื้ออสุจิพิเศษ หรือวิธีการปฏิสนธิรูปแบบอื่น
ข่าวสารและบทความอื่นๆ

