ข่าวสารและบทความ

คุณมีลูกยากหรือไม่! มาดูขั้นตอนการประเมินและการทดสอบภาวะเจริญพันธุ์กันค่ะ

ประเมินและทดสอบภาวะเจริญพันธุ์ เพื่อให้รู้ว่าคุณมีลูกยากหรือไม่

1. ซักประวัติและตรวจร่างกาย

แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยละเอียด เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับคู่สมรสแต่ละคู่

2. อัลตร้าซาวด์เพื่อประเมินอวัยวะในอุ้งเชิงกราน

ทำอัลตร้าซาวด์เพื่อประเมินโครงสร้างของมดลูก ท่อนำไข่และรังไข่ และหากตรวจในช่วงที่มีประจำเดือน (วันที่ 2-3 ของรอบเดือน) จะสามารถบอกจำนวนฟองไข่ในรังไข่ได้ด้วย

3. การตรวจในห้องปฏิบัติการ

ตรวจเลือดประเมินความพร้อมก่อนรักษา เช่น ความสมบูรณ์ของเลือด, ตรวจคัดกรองพาหะธาลัสซีเมีย, ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, วัดระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับภาวะมีบุตรยากในฝ่ายหญิง เพื่อนำผลที่ได้มาประเมินวิธีที่เหมาะสมในการรักษาต่อไป

4. ฉีดสีตรวจโพรงมดลูกและปีกมดลูก

ในกรณีที่สงสัยว่าอาจมีท่อนำไข่อุดตัน หรือสงสัยความผิดปกติในโพรงมดลูก แพทย์อาจสั่งให้ทำการฉีดสีตรวจโพรงมดลูกและปีกมดลูก

5. ตรวจวิเคราะห์น้ำเชื้ออสุจิ

ตรวจวิเคราะห์น้ำเชื้ออสุจิของฝ่ายชาย เพื่อประเมินปริมาณ ความหนาแน่น การเคลื่อนไหว ตลอดจนรูปร่างของอสุจิ หากมีความผิดปกติ อาจตรวจประเมินเพิ่มเติม หรือใช้เทคนิคการเก็บน้ำเชื้ออสุจิพิเศษ หรือวิธีการปฏิสนธิรูปแบบอื่น

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

ไลฟ์สไตล์ที่ปรับเปลี่ยน ส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ในสังคมสมัยใหม่

รู้หรือไม่ว่า การมีบุตรยากกำลังเป็นภัยเงียบในสังคมยุคใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจเกิดจากพฤติกรรม และค่านิยมที่เปลี่ยนไปของผู้คนในยุคปัจจุบัน

ถามหมอ 💬 กับหมอจิว : ปล่อยธรรมชาตินานแค่ไหน ถึงเข้าข่ายมีลูกยาก

เพราะระยะเวลาในการตั้งครรภ์ของคู่สมรสที่ปล่อยธรรมชาติ จะมีความแตกต่างกันไป หลายคนเกิดคำถามว่า ต้องพยายามมีลูกตามธรรมชาติมานานแค่ไหน ถึงจะถือว่าเข้าข่ายมีบุตรยาก?

ถามหมอ 💬 กับหมอนิ : เคยแท้งมาก่อน โอกาสมีลูกจะลดลงหรือไม่ ?

คุณหมอนิ พญ.นิศารัตน์ จะมาตอบข้อสงสัยให้ทุกท่านได้ทราบกัน สำหรับคุณแม่ที่เคยสูญเสียลูกน้อยจากการแท้งลูก อาจมีความกังวลใจว่าโอกาสในการมีลูกอีกครั้งจะยากขึ้นหรือไม่