ข่าวสารและบทความ

แช่แข็งไข่ทำอย่างไร? ทำความเข้าใจกระบวนการแช่แข็งไข่ ฉบับเข้าใจง่าย

ในบทความที่แล้ว เราได้กล่าวถึงกระบวนการฝากไข่หรือการแช่แข็งไข่ (Egg Freezing) ไม่ว่าจะเป็นวิธีการเก็บไข่, การแช่แข็งและการเก็บรักษาไข่, ใครบ้างที่ควรแช่แข็งไข่ ตลอดจนความปลอดภัยและผลข้างเคียงที่อาจพบได้จากการแช่แข็งไข่ (อ่านบทความแรกของเราเกี่ยวกับการแช่แข็งไข่ (Egg Freezing) ได้ ที่นี่)

ในบทความนี้ เราจะเจาะลึกรายละเอียดแต่ละขั้นตอนในการแช่แข็งไข่ กระบวนการต่างๆ? แต่ละขั้นตอนเริ่มอย่างไร ใช้เวลานานแค่ไหน? วันนี้ Superior A.R.T. มีคำตอบมาให้คุณ

1. ปรึกษาแพทย์

เมื่อไหร่: สามารถปรึกษาแพทย์ได้ทุกช่วงเวลาของรอบประจำเดือน

ใช้เวลานานแค่ไหน: 45 – 60 นาที

เมื่อมาปรึกษาเรื่องการแช่แข็งไข่ครั้งแรก แพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกาย และอธิบายขั้นตอนต่างๆ และตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับกระบวนการแช่แข็งไข่

ข้อแนะนำสำหรับคำถาม เช่น

  • คลินิกมีประสบการณ์ในการแช่แข็งไข่และการละลายไข่มากน้อยเพียงใด?
  • สามารถเก็บไข่ได้กี่ใบในหนึ่งรอบการกระตุ้น?
  • มีโอกาสที่ต้องทำการเก็บไข่มากกว่าหนึ่งรอบหรือไม่?
  • กระบวนการแช่แข็งไข่มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?

แพทย์จะอธิบายแต่ละขั้นตอนโดยละเอียดเพื่อให้เข้าใจกระบวนการต่างๆ มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี คำถามบางข้อที่เฉพาะเจาะจง (เช่น จะได้ไข่กี่ใบในหนึ่งรอบการเก็บไข่? หรือ ควรต้องทำการเก็บไข่กี่รอบถึงจะได้จำนวนไข่ที่เพียงพอ?) แพทย์จะประเมินจากประวัติ ตรวจร่างกายและตรวจเลือด เพื่อประเมินและวางแผนการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ

2. การตรวจร่างกายและตรวจเลือด

เมื่อไหร่: วันที่ 2 หรือวันที่ 3 ของรอบประจำเดือน

ใช้เวลานานแค่ไหน: 30 นาที

หลังจากพูดคุยและปรึกษากับแพทย์แล้ว การรักษาจะเริ่มในวันที่ 2 หรือ 3 ของรอบเดือน เพื่อตรวจเลือดและตรวจอัลตราซาวด์ หลังจากได้รับผลตรวจแล้ว จะสามารถตอบคำถามต่างๆ ที่เจาะจงได้มากขึ้น เช่น จำนวนไข่ที่คาดว่าจะเก็บได้ต่อครั้ง, และโอกาสความสำเร็จโดยรวม

คุณสามารถเริ่มกระบวนการรักษาในวันเดียวกันนั้นได้เลย คุณจะได้รับยาฉีดกระตุ้นไข่โดยคุณสามารถฉีดยาได้ด้วยตัวเองวันละครั้ง เพื่อกระตุ้นให้ฟองไข่ในรังไข่โตขึ้น พยาบาลจะแนะนำวิธีการฉีดยาอย่างละเอียด หากในรอบเดือนนี้ ยังไม่เหมาะสมที่จะเริ่มการรักษา สามารถเริ่มการรักษาในวันที่ 2 หรือวันที่ 3 ของรอบเดือนถัดไป

3. การกระตุ้นติดตามการตอบสนองของไข่

เมื่อไหร่: วันที่ 2 หรือวันที่ 3 ของรอบประจำเดือน

ใช้เวลานานแค่ไหน: 10 – 12 วัน

การฉีดยากระตุ้นไข่ จะใช้เวลาประมาณ 10-12 วัน แพทย์จะนัดหมายเพื่อตรวจเลือดและอัลตราซาวด์ทุก 3-4 วัน เพื่อประเมินการตอบสนองของรังไข่และปรับยาให้เหมาะสมจนกระทั่งฟองไข่โตได้ขนาดที่เหมาะสม แพทย์จะฉีดยากระตุ้นการตกไข่ “trigger shot” (เป็นยาฮอร์โมน human chorionic gonadotropin; hCG หรือ leuprolide acetate; Lupron) เพื่อช่วยให้ไข่หลุดออกจากผนังของถุงไข่ พร้อมสำหรับการถูกเก็บไข่ต่อไป

4. การเก็บไข่และการแช่แข็งไข่

เมื่อไหร่: 36 ชั่วโมงหลังการฉีดยากระตุ้นให้ไข่ตก

ใช้เวลานานแค่ไหน: 60 นาที

36 ชั่วโมงหลังฉีดยากระตุ้นไข่ตก แพทย์จะเริ่มกระบวนการเก็บไข่ ( egg retrieval หรือ Ovum Pick Up; OPU) แพทย์จะทำอัลตราซาวด์เพื่อหาตำแหน่งที่ฟองไข่และใช้เข็มขนาดเล็กสอดผ่านช่องคลอดเข้าไปในฟองไข่เพื่อทำการดูดเก็บเซลล์ไข่ ตลอดกระบวนการนี้คุณจะได้รับยาให้สลบ จึงไม่รู้สึกเจ็บปวดระหว่างการเก็บไข่

หลังเก็บไข่เสร็จ จะสังเกตอาการที่ห้องพักฟื้นต่อประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพื่อรอให้ฟื้นตัวจากยาสลบ จึงสามารถกลับไปพักผ่อนต่อที่บ้านได้

ประมาณ 2-3 ชั่วโมง หลังเก็บไข่ ไข่สุกจะถูกแช่แข็งด้วยเทคนิคการแช่แข็งแบบผลึกแก้ว หรือ “Vitrification” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ไข่ของคุณจะถูกแช่แข็งด้วยการลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ทำให้ไม่เกิดผลึกน้ำแข็งในเซลล์ไข่ (ice crystals)  หากไข่ถูกเก็บรักษาไว้ในห้องปฏิบัติการคุณภาพสูงที่ได้รับการควบคุมสิ่งแวดล้อมอย่างดีเยี่ยม ตลอดจนมีการติดตามปริมาณไนโตรเจนเหลวและความสมบูรณ์ของอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ ไข่ของคุณจะคงคุณภาพไว้ได้เหมือนเดิมแม้เวลาจะผ่านไปนาน เมื่อคุณพร้อมที่จะเป็นคุณแม่ ไข่ของคุณจะถูกนำออกมาละลาย ปฏิสนธิกับอสุจิ ด้วย เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์  วิธี ICSI  และเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการจนเติบโตกลายเป็นตัวอ่อน และย้ายตัวอ่อนดังกล่าวกลับคืนสู่มดลูกของคุณเพื่อให้เติบโตเป็นทารกสุขภาพดี

เกี่ยวกับ ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที

ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2550 โดยการร่วมมือระหว่างแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์และเด็กหลอดแก้วในประเทศไทยและประเทศออสเตรเลีย ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. เป็นคลินิกรักษาผู้มีบุตรยากและวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อนที่เพียบพร้อมด้วยแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และทีมนักวิทยาศาสตร์ที่ชำนาญเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproduction Technology – A.R.T.)  พวกเรามีความมุ่งมั่นจะสานทุกความฝันในการมีบุตรของทุกครอบครัวให้สมบูรณ์

อ้างอิง

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

ตรวจอัลตราซาวด์เจอไข่หลายฟอง แต่พอเก็บจริงทำไมถึงได้น้อย?

ตรวจอัลตราซาวด์เจอไข่หลายฟอง แต่พอเก็บจริงทำไมถึงได้น้อย อีกหนึ่งปัญหาชวนปวดหัวของคนอยากมีลูก หาคำตอบกับคลินิคซูพีเรีย เอ.อาร์.ที.

ความลับ Vitamin D ช่วยให้ไข่และสเปิร์มมีคุณภาพ?

วิตามินดี นับว่าเป็นวิตามินที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อร่างกายอย่างมาก แต่เอ๊ะ! ทุกคนรู้กันรึเปล่านะ ว่าวิตามินดีส่งผลดีต่อคุณภาพไข่และสเปิร์มอีกด้วย

คุณมีลูกยากหรือไม่! มาดูขั้นตอนการประเมินและการทดสอบภาวะเจริญพันธุ์กันค่ะ

ธาลัสซีเมียสามารถป้องกันได้ด้วย Karyomapping ตรวจหาโรคทางพันธุกรรมในระดับยีนเดี่ยว เพื่อคัดกรองตัวอ่อนที่ปราศจากโรคใส่กลับสู่โพรงมดลูก