ข่าวสารและบทความ

8 พฤษภาคม วันธาลัสซีเมียโลก ป้องกันธาลัสซีเมียด้วย Karyomapping เทคนิคจาก Superior A.R.T. ในการตรวจตัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อนในระดับยีน

วันธาลัสซีเมียโลก | Superior A.R.T.

องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดให้วันที่ 8 พ.ค. เป็น “วันธาลัสซีเมียโลก“

รู้หรือไม่? โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคโลหิตจางชนิดหนึ่งเกิดจากความผิดปกติของเม็ดเลือดประเทศไทยมีคนที่มีมียีนพาหะธาลัสซีเมียแฝงอยู่ถึงร้อยละ 30-40 ซึ่งผู้ที่มียีนธาลัสซีเมียแฝงหรือพาหะนี้จะไม่มีอาการซีดจากเลือดจาง จะเหมือนคนปกติ แต่สามารถถ่ายทอดยีนที่ผิดปกตินี้สู่ลูกหลานได้ หากทั้งพ่อและแม่เป็นพาหะธาลัสซีเมียชนิดเดียวกันทั่งคู่ ลูกมีโอกาสเป็นธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงได้

ป้องกันธาลัสซีเมียด้วย ❝ Karyomapping ❞  
คือการตรวจคัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อน (embryo) ในระดับยีนเดี่ยว ซึ่งจะทําหลังจากการปฎิสนธิของไข่และอสุจิ ด้วยวิธีการทําเด็กหลอดแก้ว (ICSI) แล้วจึงเลือกตัวอ่อนที่ปกติและปราศจากโรคธาลัสซีเมีย ใส่กลับเข้าสู่โพรงมดลูกของคุณแม่เพื่อการตั้งครรภ์

ซึ่งเทคนิคนี้ยังสามารถคัดกรองโรคทางพันธุกรรมอื่นๆ ได้อีกมากกว่า 1,000 โรค เช่น โรคธาลัสซีเมีย โรคเลือดไหลไม่หยุด โรคถุงน้ำในไต โรคฮันติงตัน โรคผิวเผือก อาการตาบอดสี โรคท้าวแสนปม โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA เป็นต้น

คู่รักที่อยากมีลูก ควรตรวจคัดกรองเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะมีลูก เพื่อให้ลูกน้อยมีสุขภาพแข็งแรงและปลอดจากโรคทางพันธุกรรม

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

🔬นักวิทย์ 💬 อยากเล่า : Checklist 3 กลุ่มเสี่ยง ได้ลูกเป็นโรคทางพันธุกรรม

Checklist 3 กลุ่มเสี่ยงได้ลูกเป็นโรคทางพันธุกรรม พ่อแม่บางคนดูสุขภาพแข็งแรง แต่อาจมีความเสี่ยงที่จะถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมให้ลูกโดยไม่รู้ตัว

ของขวัญชิ้นแรกที่ล้ำค่าสำหรับลูกน้อย คัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อน หลีกเลี่ยงโรคธาลัสซีเมีย

ของขวัญชิ้นแรกสำหรับลูกน้อย คัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อน หลีกเลี่ยงโรคธาลัสซีเมีย มีความแม่นยำและน่าเชื่อถือกว่า 95% ให้ลูกน้อยของคุณมีสุขภาพดี

ถามหมอ 💬 กับหมอนิ : ธาลัสซีเมียเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่

ธาลัสซีเมียเป็นโรคโลหิตจางที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งสามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกได้โดยตรง จึงเป็นเรื่องที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังวางแผนจะมีบุตรเกิดความกังวลไม่น้อย และมีคำถามตามมาว่า “ธาลัสซีเมียสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่?”