ข่าวสารและบทความ

รู้ไหมว่า คุณสามารถป้องกันภาวะดาวน์ซินโดรมที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อยได้ ด้วยการตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน ด้วยวิธี NGS


ดาวน์ซินโดรม เป็นหนึ่งในความผิดปกติของโครโมโซม ที่ตัวอ่อนสามารถรอดและคลอดออกมาเป็นทารกที่พบได้บ่อยที่สุด ภาวะนี้เกิดจากตัวอ่อนมีโครโมโซมคู่ที่ 21 จำนวน 3 แท่ง (Trisomy 21) แทนที่จะมีเพียง 2 แท่งตามปกติ แท่งโครโมโซมที่เกินมา 1 แท่งนี้ส่งผลให้ตัวอ่อนมีการพัฒนาผิดปกติ 
อาการดาวน์ซินโดรม ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการตรวจคัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนการฝังตัว 

Next Generation Sequencing (NGS) ❞ เป็นเทคนิคการตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนการฝังตัวอ่อนกลับเข้ามดลูก โดยการตรวจคัดกรองโครโมโซมของตัวอ่อนทั้ง 23 คู่ ช่วยเลือกตัวอ่อนที่ดีและสมบูรณ์ที่สุดสำหรับการย้ายกลับ เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ล่าสุดที่มีความแม่นยำสูง

สามารถปรึกษากับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่ Superior A.R.T. สำหรับวางแผนการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ เพื่อความมั่นใจในการป้องกันลูกน้อยจากภาวะดาวน์ซินโดรมและภาวะผิดปกติที่ไม่พึงประสงค์

อ่านข้อมูลเรื่อง การวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนการฝังตัว เพิ่มเติม คลิกที่นี่

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

ของขวัญชิ้นแรกที่ล้ำค่าสำหรับลูกน้อย คัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อน หลีกเลี่ยงโรคธาลัสซีเมีย

ของขวัญชิ้นแรกสำหรับลูกน้อย คัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อน หลีกเลี่ยงโรคธาลัสซีเมีย มีความแม่นยำและน่าเชื่อถือกว่า 95% ให้ลูกน้อยของคุณมีสุขภาพดี

ถามหมอ 💬 กับหมอนิ : ธาลัสซีเมียเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่

ธาลัสซีเมียเป็นโรคโลหิตจางที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งสามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกได้โดยตรง จึงเป็นเรื่องที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังวางแผนจะมีบุตรเกิดความกังวลไม่น้อย และมีคำถามตามมาว่า “ธาลัสซีเมียสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่?”

AMH (Anti-Müllerian Hormone) ควรอยู่ที่เท่าไหร่นะ?

AMH (Anti-Müllerian Hormone) คือ ฮอร์โมนที่ถูกผลิตขึ้นโดยเซลล์ของไข่ในรังไข่ เป็นตัวช่วยประเมินการทำงานของรังไข่ และปริมาณไข่ที่เหลืออยู่