Topic: Ep.31. ปล่อยมานานไม่ท้องซักที ต้องตรวจอะไรบ้าง ?
• การเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์
1. อาหาร ทานอาหารที่มีประโยชน์และเหมาะสม
- ลดอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรต เนื่องจากมีผลกับการตกไข่และฮอร์โมน
- เน้นรับประทานผักและผลไม้ ที่ไม่หวาน
- รับประทานโปรตีนจาก ถั่วและเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน หรือ ปลา
2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและเหมาะสม
- ออกกำลังกายเป็นประจำ 2-3 วันต่อสัปดาห์ วันละ 30 นาที – 1 ชั่วโมง
3. การลดหรือเลิก แอลกอฮอล์และบุหรี่
4. การนอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ
- การนอนหลับพักผ่อนที่เหมาะสมในแต่ละวันนั้นคือ 6-8 ชั่วโมง และช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการนอนหลับอยู่ในช่วง 23.00 – 01.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ร่างการมีการหลั่ง growth hormone (IGF1) ซึ่งมีผลต่อ คุณภาพ, ปริมาณ และรูปร่างของไข่
5. น้ำหนักตัวที่เหมาะสม
- น้ำหนักตัวที่มากเกินไป มีผลต่อฮอร์โมนในร่างกาย อาจทำให้เกิด PCOS สูงขึ้น อัตราการตั้งครรภ์และการฝังตัวของตัวอ่อนลดลง และมีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆขณะตั้งครรภ์ได้มากขึ้น โดยน้ำหนักที่เหมาะสมในผู้หญิง คำนวณได้จาก ( ส่วนสูง -110)
6. โดยในผู้ชาย มีข้อปฏิบัติเพิ่มเติม เช่น
- การหลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือพฤติกรรมบางอย่างที่มีผลทำให้ อุณหภูมิของลูกอัณฑะสูงขึ้น ซึ่งมีผลต่อ รูปร่างและการสร้าง sperm
- การใส่ชั้นในที่แน่นหรือคับจนเกินไป
- การขับขี่รถจักรยานยนต์ หรือ จักรยาน
7. การรับประทานวิตามินเสริม
ผู้หญิง
- Folic Acid หรือ Folate เพื่อช่วยป้องกันการเกิดความผิดปกติของทารก
- วิตามิน E, C และ Co-Q10. ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม anti-oxidant ช่วยในเรื่องคุณภาพของไข่
- วิตามิน D จากงานวิจัยทราบว่าในคนที่พบ วิตามิน D ต่ำกว่าเกณฑ์ มีผลทำให้มีบุตรยาก นอกจากนี้อาจจะมีการเพิ่มอาหารเสริมบางชนิด ในกรณีที่พบว่าจำนวนของไข่มีน้อย ก่อนการเตรียมกระตุ้นไข่โดยรับประทานในระยะเวลาสั้นๆและตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น
ผู้ชาย
- วิตามินบางชนิดช่วยทำให้คุณภาพและปริมาณของ sperm ดีขึ้น
- Zinc
- วิตามิน E, D และ C เข้มข้น
- L-Carnitine
• การตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์
1. การตรวจสุขภาพทั่วไป เพื่อดูความพร้อมของร่างกาย เช่น ส่วนสูง น้ำหนัก และ ความดันโลหิต
2. การตรวจเลือด
- ตรวจ ความเข้มข้นของเม็ดเลือด (CBC) ดูปริมาณของเกล็ดเลือด รูปร่างและเม็ดเลือดขาว
- ตรวจ หมู่เลือด
- ตรวจหาผลเลือดโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ เอดส์ ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี
- ตรวจพาหะ thalassemia เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค thalassemia และช่วยในการวางแผนการการตั้งครรภ์ในกรณีที่พ่อและแม่เป็นพาหะของโรค
- ตรวจหาภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน ในผู้หญิง ถ้ามีการติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์จะทำให้เกิดความผิดปกติร้ายแรงในเด็กได้
ในกรณีของผู้ที่มีภาวะมีบุตรยากนั้น จะมีการตรวจสุขภาพเพิ่มเติมซึ่งมีความจำเพาะมากขึ้น จากการตรวจข้างต้น เพื่อจะได้ทราบถึงแนวทางในการรักษาต่อไป
ผู้ชาย
- เพิ่มการตรวจวิเคราะห์คุณภาพของอสุจิ (เพื่อดูปริมาณ, รูปร่างและจำนวนของอสุจิ)
ผู้หญิง
- การตรวจภายในด้วยการอัลตราซาวด์ ทางช่องคลอดเพื่อตรวจหาความผิดปกติของมดลูก, โพรงมดลูก และรังไข่ รวมไปถึงจำนวนไข่ โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการตรวจด้วยวิธีนี้คือ วันที่ 2-3 ของการมีประจำเดือน
- การตรวจฮอร์โมน เพิ่มเติมบางชนิด ที่เกี่ยวข้องกับการตกไข่และการเจริญเติบโตของไข่ สามารถตรวจได้ทั้งในช่วงที่มีและไม่มีประจำเดือน ได้แก่
- ฮอร์โมนการทำงานของรังไข่ (AMH) บอกปริมาณของไข่ในรังไข่
- ฮอร์โมนไทรอยด์ (TSH)
- โปรแลคติน