ข่าวสารและบทความ

𝐒𝐮𝐩𝐞𝐫𝐢𝐨𝐫 𝐀.𝐑.𝐓. 𝐋𝐈𝐕𝐄 : 🅔🅟 34 ❝ พาชมพัฒนาการตั้งแต่ไข่จนเป็นตัวอ่อน ❞

Topic:  Ep.34. พาชมพัฒนาการตั้งแต่ไข่จนเป็นตัวอ่อน

ถ้าจะพูดถึงสภาวะมีบุตรยากแล้ว คงหนีไม่พ้นสุขภาพร่างกายของทั้งฝ่ายชายและหญิง โดยปัญหาที่มักเกิดกับฝ่ายหญิงคือ คุณภาพของไข่ ซึ่งคุณภาพของไข่จะลดลงตามอายุของผู้หญิงดังนั้นการตรวจฮอร์โมน AMH (Anti-Müllerian hormone) เป็นการตรวจวิเคราะห์ค่าฮอร์โมน โดยฮอร์โมนนี้ถูกสร้างขึ้นจากเซลล์ที่หุ้มไข่เอาไว้ ยิ่งจำนวนไข่ในรังไข่มีมากเท่าไหร่ ปริมาณฮอร์โมน AMH ที่ได้จากผลตรวจเลือดก็จะยิ่งมากเท่านั้น โดยค่า AMH จะน้อยลงตามอายุดังนั้นถ้ามีค่า AMH น้อย ควรพิจาราณาการเก็บไข่แช่แข็งไว้ เพื่ออนาคตที่จะต้องการตั้งครรภ์

ส่วนในผู้ชาย ปัญหาก็คือคุณภาพของอสุจิ โดยอสุจิที่ดีนั้นจะต้องดูทั้งจำนวน รูปร่าง และการเคลื่อนที่ จึงจะสามารถบอกได้

ดังนั้นในขั้นตอนแรกของการรักษาภาวะมีบุตรยาก คือการตรวจสุขภาพทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ว่ามีสุขภาพที่เหมาะสมไหม จากนั้นก็จะเริ่มกระบวนการรักษา โดยขั้นแรกจะทำการกระตุ้นไข่ของฝ่ายหญิงให้มีการตกไข่จำนวนมากพร้อมๆกัน โดยใช้ยากระตุ้นโดยจะเริ่มใช้ยาตั้งแต่วันที่ 2 ของการมีประจำเดือน และมีการติดตามผลของยาที่ใช้กระตุ้นทุกๆ 4-5 วัน เพื่อจะได้ทราบว่าร่างกายตอบสนองต่อยาดีหรือไม่ จากนั้น 9-10 จะทำการเก็บไข่ที่เหมาะสม โดยใช้คลื่นอัลตราซาวด์ช่วยชี้จุดเก็บไข่ และทำการดูดไข่ ผ่านทางปลายเข็มเล็กๆ มาไว้ที่หลอด แล้วนำมาผสมเทียมกับอสุจิที่ผ่านการคัดเลือกมาแล้ว จากนั้นทำการเลี้ยงตัวอ่อนนี้ในน้ำยาเลี้ยงที่สภาวะที่เหมาะสมในห้องปฏิบัติการ จนถึงระยะ Blastocyst (Day 5) จะทำการ Biopsy หรือการนำชิ้นส่วนของตัวอ่อนบางส่วนมาตรวจความผิดปกติของโครโมโซมต่อ ซึ่งโดยปกติแล้วในผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 30 ปี จะต้องมีตัวอ่อนที่ปกติประมาณ 70% ส่วนผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 30 ปีก็จะมีตัวอ่อนที่ปกติน้อยลงเรื่อยๆตามอายุ หลังจากที่มีตัวอ่อนที่ปกติก็จะทำการย้ายตัวอ่อนกลับให้กับคนไข้ต่อไป

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

𝐒𝐮𝐩𝐞𝐫𝐢𝐨𝐫 𝐀.𝐑.𝐓. 𝐋𝐈𝐕𝐄 : 🅔🅟.47 ❝ ท้องแล้ว แต่มีเลือดออก ทำอย่างไรดี ต้องกังวลไหม ❞

หากกำลังตั้งท้องแล้วมีเลือดออก หรือมีภาวะแท้งคุกคามควรทำอย่างไร ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการแท้ง และวิธีป้องกันไม่ให้เกิดการแท้งในครั้งต่อไป

𝐒𝐮𝐩𝐞𝐫𝐢𝐨𝐫 𝐀.𝐑.𝐓. 𝐋𝐈𝐕𝐄 : 🅔🅟.44 ❝ พ่อแม่ไม่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม ยังจำเป็นต้องตรวจโครโมโซมตัวอ่อนหรือไม่ ❞

คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนหรือไม่ ข้อดีข้อเสียของการตรวจโครโมโซมมีอะไรบ้าง และการตรวจโครโมโซมคือการตรวจอะไรกันแน่

𝐒𝐮𝐩𝐞𝐫𝐢𝐨𝐫 𝐀.𝐑.𝐓. 𝐋𝐈𝐕𝐄 : 🅔🅟.46 ❝ ตู้เลี้ยงตัวอ่อน Geri® ช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์สูงขึ้น ได้อย่างไร ❞

การเลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ เป็นการจำลองมดลูกของคุณแม่ โดยใช้น้ำยาเป็นสารอาหารที่เหมาะสมกับตัวอ่อนในแต่ละระยะ แล้วตู้เลี้ยงตัวอ่อนแบบติดกล้อง Time-Lapse Incubator มีส่วนช่วยเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ได้อย่างไร?