Topic: Ep.35. ประจำเดือนมาผิดปกติ สัญญาณเตือนภาวะมีลูกยาก
ประจำเดือนปกติของผู้หญิงอยู่ที่ 28±7 วัน โดยนับวันแรกที่มีเลือดออกจนถึงวันแรกของเลือดออกถัดไป ประจำเดือนที่ปกติไม่ควรมากระปริดกระปรอย
เยื่อบุโพรงมดลูก ทำหน้าที่ฝังตัวของตัวอ่อน ถ้าไม่มีการฝังตัว ก็จะหลุดลอกออกเป็นประจำเดือน
ประจำเดือนวันแรก ไข่จะมีฟองขนาดเล็ก หลังจากนั้น ร่างกายสร้างฮอร์โมนกระตุ้นไข่ให้โตขึ้น และไข่ที่โตขึ้นจะสร้างฮอร์โมนเพศหญิงที่ชื่อ Estradiol ซึ่งจะทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งไข่โตเต็มที่ เยื่อบุโพรงมดลูกก็จะหนาตัวเต็มที่เช่นกัน ปกติความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกก่อนไข่ตกเฉลี่ยอยู่ที่ 8-12 มิลิลเมตร เมื่อไข่ตกไข่จะสร้างฮอร์โมนตัวที่สอง ชื่อโปรเจสเตอโรน ทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกให้มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น เพื่อรอบรับการฝังตัวของตัวอ่อน ถ้าเกิดการตั้งครรภ์ มีตัวอ่อนมาฝังตัว ก็จะไม่มีการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูกเป็นประจำเดือน แต่ถ้าไม่มีการตั้งครรภ์เปลือกไข่จะมีอายุอีกประมาณ 2 สัปดาห์ หรือ 14 วัน เมื่อไม่มีการตั้งครรภ์ เปลือกไข่จะสลายไป การสร้างฮอร์โมนจะลดลง ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกค่อยๆสลายออกมากลายเป็นประจำเดือน
วงจรของประจำเดือนจะประมาณ 28 วัน นับจากประจำเดือนมารอบแรกถึงรอบถัดไป โดยปกติจะแบ่งเป็นครึ่งหน้าไข่ตก ครึ่งหลังเป็นระยะเวลาของเปลือกไข่ เพื่อสร้างโปรเจสเตอโรนมาประคองการตั้งครรภ์จะประมาณ 14 วัน ถ้าผู้หญิงคนไหนที่มีรอบเดือนเกิน 28 วัน แสดงว่า ไข่โตช้ากว่า 14 วัน แต่ครึ่งหลังคือระยะเวลาของเปลือกไข่ที่สร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน จะ fix อยู่ที่ 14 วัน ดังนั้น รอบเดือนอาจจะมากกว่า 28 วันได้แต่บวกลบไม่ควรเกิน 7 วัน
ประจำเดือนแบบไหนผิดปกติ
รอบประจำเดือนปกติของผู้หญิงอยู่ที่ 28±7 วัน ดังนั้น ถ้ารอบเดือน 21 วันหรือ 35 วัน แสดงว่ายังปกติอยู่ไม่จำเป็นต้องมาหาหมอ
ปริมาณประจำเดือนมามากน้อยขนาดไหน
ระยะเวลาการมีเลือดประจำเดือนคือประมาณ 2-3 วันถือว่าปกติ ไม่มีปริมาณมากจนซีด ใช้ปริมาณเลือดประจำเดือนที่มาเป็นตัววัดว่าประจำเดือนมาผิดปกติจากเดิมหรือไม่ เช่นเคยใช้ผ้าอนามัยจำนวน 3 ผืน ต่อวัน แต่ใช้มากขึ้นหรือน้อยลง หรือว่าเลือดมีสีผิดปกติไปจากเดิม เช่น จากเคยสีแดงเป็นสีน้ำตาล อันนี้ก็ถือว่า ประจำเดือนมาผิดปกติ
รอบเดือนมาเร็วกว่า 21 วัน
เกิดได้ 2 สาเหตุ คือ
1. มักเกิดจากจากไข่ไม่ตก
2. มีไข่ตกแต่ฮอร์โมนเปลือกไข่ทำงานได้ไม่ดี เรียกว่า Corpusluthial defect คือ ระยะเวลาที่เปลือกไข่สร้าง ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนได้สั้นกว่าปกติ จากเดิมที่ควรจะเป็น 14 วัน ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกก่อนเร็วกว่าปกติ เมื่อตัวอ่อนกำลังจะฝังตัว แต่เกิดการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูกก่อน ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถฝังตัวได้ ทำให้มีปัญหาการมีลูกยาก ซึ่งแก้ไขได้ไม่ยากด้วยการให้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนแบบกินเพื่อช่วยประคองเยื่อบุโพรงมดลูกให้คงตัวอยู่ได้ ก็สามารถตั้งครรภ์ได้ตามปกติ
รอบเดือนมาช้าเกิน 35 วัน
สาเหตุที่พบได้บ่อย คือภาวะไข่ไม่ตก เกิดภาวะไข่ไม่โตต่อ เกิดจากการภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล หรือ คนไข้ที่มีภาวะPCOS คนไข่กลุ่มนี้จะมีไข่เยอะมากแต่เป็นไข่ที่โตไม่เต็มที่ เพราะจะมีแต่ฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างเดียว แต่ไม่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เกิดขึ้นหลังไข่ตก ทำให้ประจำเดือนจะมาเมื่อไหร่ก็ได้จะเกิดภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาไปเรื่อยๆจนเลือดไปเลี้ยงไม่พอ จึงหลุดลอกเป็นประจำเดือนออกมา ทำให้มีภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง และมีบุตรยากตามมา
ไข่ไม่ตกจากสาเหตุอื่น
- กินยาที่มีผลต่อการตกไข่ เช่น ยาต้านภาวะซึมเศร้า
- คนไข้ที่มีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักรวดเร็ว ผอมลงเร็ว หรืออ้วนขึ้นเร็ว
- คนไข้ที่ออกกำลังกายมากเกินไป ทำให้ไขมันในร่างกายน้อยเกินไป อาจทำให้ไข่ไม่ตกได้
ภาวะรังไข่เสื่อม
เกิดในคนไข้ที่อายุค่อนข้างเยอะ ประจำเดือนมาบ้างไม่สม่ำเสมอ ไข่ในรังไข่เริ่มน้อย ทำให้บางเดือนไข่ตกบ้างไม่ตกบ้าง ประจำเดือนจึงมาไม่สม่ำเสมอ
ตอบปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือนมาไม่ปกติ
ประจำเดือนมาถี่ห่าง มักเกิดจากการฮอร์โมนที่ไม่สมดุล การตกไข่ที่ผิดปกติไป
ปริมาณประจำเดือนที่ปกติ มามาก มักเกิดจากโครงสร้างมดลูกที่ผิดปกติไป เช่นมีเนื้องอกทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกพื้นที่เพิ่มขึ้นจึงมีประจำเดือนมาก หรือเนื้องอกไปขัดขวางการบีบตัวของมดลูกของการมีประจำเดือน หรือมีติ่งเนื้อในโพรงมดลูกก ทำให้ประจำเดือนมากระปริดกระปรอย
มดลูกโตกลมทั้งลูก ทำให้มีปัญหาเรื่องประจำเดือนมามาก และปวดประจำเดือน
สีเลือดประจำเดือน เช่นสีน้ำตาลมากถึงเกือบดำ อาจเกิดจากการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูกเฉพาะผิวๆ
ประจำเดือนหายไปเลยหรือมาช้ากว่าปกติ นอกจากปัญหาการมีบุตรยากแล้ว สิ่งที่ต้องระวังคือ เยื่อบุโพรงมดลูกที่ไม่หลุดลอกออกมา สามารถกลายเป็นมะเร็งได้ เพราะฉะนั้น ถ้ามีปัญหาประจำเดือนผิดปกติแบบชัดเจน หรือมีปัญหาการมีบุตรยาก หรือปวดท้องประจำเดือนมาก ควรมาพบแพทย์
คนไข้ที่มีบุตรยาก และประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ไม่ต้องรอเวลาจนครบ 1 ปีแล้วไม่มีบุตรจึงค่อยมาพบแพทย์ อันนี้ ควรมาพบแพทย์เพื่อปรึกษาการมีบุตรยากได้เลย
ถ้าประจำเดือนมาผิดปกติ และมีอายุเกิน 40 ปี มีความเสี่ยงจะเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เมื่อมาพบแพทย์ จะทำการตรวจอัลตราซาวน์ก่อนเพื่อดูภาวะ PCOS เยื่อบุมดลูกหนาตัวผิดปกติหรือไม่ มีเนื้องอกไหม เจาtเลือด เพื่อตรวจดูฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการโตของไข่ในรังไข่ เช่น ฮอร์โมน Prolactin ฮอร์โมนไทยรอยด์
ถ้าเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวมากๆ ประจำเดือนไม่มานานๆ อายุเกิน 40 ปี หรือถ้าอายุเกิน 35 ปีแล้วมีประวัติการใช้ฮอร์โมนจะแนะนำเก็บชิ้นเนื้อในโพรงมดลูกไปตรวจเพื่อดูว่ามีมะเร็งแอบแฝงหรือไม่ ถ้าไม่มีมะเร็ง คนไข้ต้องการมีบุตรก็จะทำการรักษาเลย แต่ถ้าไม่ต้องการมีบุตร ก็จะให้ทานยาปรับให้ประจำเดือนมาให้มาสม่ำเสมอปกติ เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งในอนาคต และรักษาสาเหตุ เช่น อ้วนให้ไปลดน้ำหนัก ถ้ากินยาต้านซึมเศร้า ก็ต้องดูว่าสามารถปรับลดยาได้ไหม
หรือหากคุณกำลังมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะมีบุตรยาก สามารถเข้ามาปรึกษากับแพทย์เฉพาะทาง เพื่อตรวจร่างกายและรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว IVF, ICSI, และ IUI เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์
ข่าวสารและบทความอื่นๆ
𝐒𝐮𝐩𝐞𝐫𝐢𝐨𝐫 𝐀.𝐑.𝐓. 𝐋𝐈𝐕𝐄 : 🅔🅟.46 ❝ ตู้เลี้ยงตัวอ่อน Geri® ช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์สูงขึ้น ได้อย่างไร ❞
การเลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ เป็นการจำลองมดลูกของคุณแม่ โดยใช้น้ำยาเป็นสารอาหารที่เหมาะสมกับตัวอ่อนในแต่ละระยะ แล้วตู้เลี้ยงตัวอ่อนแบบติดกล้อง Time-Lapse Incubator มีส่วนช่วยเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ได้อย่างไร?