ข่าวสารและบทความ

Karyomapping เทคนิคล่าสุดในการตรวจคัดกรองพันธุกรรม ช่วยลดความเสี่ยงที่ลูกเกิดมามีความผิดปกติหรือพิการได้

Karyomapping เป็นเทคโนโลยีล่าสุดในการตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมในระดับยีนในตัวอ่อน

รู้หรือไม่ว่า โรคทางพันธุกรรม 🧬  ที่เกิดจากยีนที่ผิดปกติ อาจทำให้ลูกที่เกิดมามีความผิดปกติหรือพิการได้

คู่สมรสที่มีประวัติโรคทางพันธุกรรมในครอบครัว หรือมีความกังวลใจ ไม่อยากให้ลูกเกิดมามีความผิดปกติ สามารถตรวจคัดกรองยีนส์ที่ผิดปกติ ในตัวอ่อนด้วยเทคโนโลยี Karyomapping เพื่อให้ลูกน้อยปลอดภัยจากโรคทางพันธุกรรม เลี่ยงการถ่ายทอดความผิดปกติจากรุ่นสู่รุ่น

Karyomapping เป็นเทคโนโลยีล่าสุดในการตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมในระดับยีนในตัวอ่อน (Preimplantation Genetic Testing, PGT) เพื่อคัดกรองตัวอ่อนที่ปราศจากโรค ก่อนย้ายกลับสู่โพรงมดลูก

Karyomapping เป็นเทคนิคที่มีความละเอียดในการตรวจยีนส์สูง มีความแม่นยำถึง 95-99%  ใช้เวลาในการออกผลเร็วขึ้น ประมาณ 1-4 สัปดาห์ (เมื่อเทียบกับเทคนิค PCR ที่ต้องใช้เวลาประมาณ 4-12 สัปดาห์)  สามารถตรวจครอบคลุมได้หลายโรค เช่น โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย โรคหูหนวกทางพันธุกรรม โรคตาบอดสี โรคฮีโมฟีเลีย (เลือดออกง่าย หยุดยาก) โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น

คู่สมรสที่มีประวัติโรคพันธุกรรมในครอบครัว ที่อยากมีลูกแข็งแรง ปลอดโรค สามารถเข้ารับตรวจคัดกรอง Karyomapping ได้ที่ Superior A.R.T. Thailand


ข่าวสารและบทความอื่นๆ

🔬นักวิทย์ 💬 อยากเล่า : แช่แข็งไข่เก็บไว้ 10 ปี ทำได้หรือไม่

คุณดวงสมร จากแลปเลี้ยงตัวอ่อนจะมาไขทุกข้อสงสัย ให้สาวๆ ที่มีความกังวลเรื่องระยะเวลาในการเก็บรักษาไข่ที่แช่แข็ง ว่าจะสามารถเก็บไว้ได้นานแค่ไหน

ถามหมอ 💬 กับหมอโฟม : ผนังมดลูกควรจะหนาเท่าไหร่ ถึงจะพร้อมใส่ตัวอ่อน

เยื่อบุโพรงมดลูก มีหน้าที่ในการรับการฝังตัวของตัวอ่อน เยื่อบุโพรงมดลูกของแต่ละคน ในแต่ละรอบเดือนจะหนาไม่เท่ากัน แล้วต้องหนาเท่าไหร่จึงจะเหมาะกับการใส่ตัวอ่อน

5 สิ่งที่ต้องรู้ หากอยากมีลูกหลังอายุ 35 ปี

มาเรียนรู้ข้อมูลสำคัญเพื่อเตรียมความพร้อม หากวางแผนมีลูกหลังอายุ 35 ปี เพราะปัจจุบันผู้หญิงเลือกที่จะสร้างความมั่นคงในชีวิต ก่อนที่จะตัดสินใจมีลูก