ข่าวสารและบทความ

Superiorgenix Carrier Screening Test การตรวจคัดกรองพาหะโรคทางพันธุกรรมในคู่สมรสก่อนการตั้งครรภ์ คืออะไร จำเป็นไหม

🔬เราอาจส่งต่อโรคทางพันธุกรรมไปยังลูกน้อยโดยไม่รู้ตัว การตรวจคัดกรองพาหะโรคทางพันธุกรรมในคู่สมรส คืออะไร? จำเป็นไหม? ช่วยลดโอกาสในการส่งต่อโรคทางพันธุกรรมได้หรือไม่? 🧬

การตรวจคัดกรองพาหะโรคทางพันธุกรรมในระดับยีน (Superiorgenix Carrier Screening Test) คือนวัตกรรมการตรวจวิเคราะห์เพื่อหาพาหะของโรคทางพันธุกรรมในคู่สมรส ที่อาจมีความผิดปกติของยีนแฝงอยู่ ซึ่งสามารถส่งต่อความบกพร่องทางพันธุกรรมนั้นสู่ทารก ทำให้เกิดความพิการของเด็กได้ แม้ว่าภายนอกคู่สมรสอาจดูมีสุขภาพแข็งแรง แต่โดยทั่วไปพบว่าอาจเป็นพาหะของโรคพันธุกรรมประมาณ 1–3% 

ดังนั้นการตรวจคัดกรองยีนพาหะโรคทางพันธุกรรมนี้ จะช่วยให้คู่สมรสที่ต้องการมีบุตร สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคที่อาจถ่ายทอดไปยังบุตรได้ ซึ่งการตรวจคัดกรองนี้สามารถทำได้โดยเก็บตัวอย่างการตรวจจากน้ำลาย โดยใช้ระยะเวลาตรวจประมาณ 14-21 วัน 

ทำไมจึงควรตรวจคัดกรองยีนพาหะโรคทางพันธุกรรม มีประโยชน์อย่างไรบ้าง?

การตรวจนี้ จะช่วยวิเคราะห์ยีนที่มีความผิดปกติได้กว่า 300 ยีน  ซึ่งทำให้สามารถวิเคราะห์หาพาหะของโรคพันธุกรรมที่มีโอกาสก่อให้เกิดความพิการและทุพพลภาพในอวัยวะต่างๆ ของทารกได้ เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคธาลัสซีเมีย โรคตาบอดสี กลุ่มอาการโครโมโซมเอ็กซ์เปราะบาง เป็นต้น ดังนั้นการตรวจก่อนการตั้งครรภ์ จะช่วยลดความเสี่ยง และช่วยวางแผนการมีบุตรได้อย่างเหมาะสม

ใครเหมาะสำหรับการตรวจ?

✅ คู่สมรสที่กำลังวางแผนการมีบุตร

✅ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคทางพันธุกรรม

✅ ผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสี่ยงของการมีลูกที่มีความผิดปกติจากพันธุกรรม

คู่สมรสที่กำลังวางแผนจะมีบุตรจากกระบวนการเด็กหลอดแก้ว และต้องการทราบว่าตัวเองและคู่ครองมีพาหะของยีนแฝงอยู่หรือไม่ สามารถเข้ามาปรึกษาและตรวจคัดกรองกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ทุกวันที่ Superior A.R.T. ค่ะ

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

🔬นักวิทย์ 💬 อยากเล่า : แช่แข็งไข่เก็บไว้ 10 ปี ทำได้หรือไม่

คุณดวงสมร จากแลปเลี้ยงตัวอ่อนจะมาไขทุกข้อสงสัย ให้สาวๆ ที่มีความกังวลเรื่องระยะเวลาในการเก็บรักษาไข่ที่แช่แข็ง ว่าจะสามารถเก็บไว้ได้นานแค่ไหน

ถามหมอ 💬 กับหมอโฟม : ผนังมดลูกควรจะหนาเท่าไหร่ ถึงจะพร้อมใส่ตัวอ่อน

เยื่อบุโพรงมดลูก มีหน้าที่ในการรับการฝังตัวของตัวอ่อน เยื่อบุโพรงมดลูกของแต่ละคน ในแต่ละรอบเดือนจะหนาไม่เท่ากัน แล้วต้องหนาเท่าไหร่จึงจะเหมาะกับการใส่ตัวอ่อน

5 สิ่งที่ต้องรู้ หากอยากมีลูกหลังอายุ 35 ปี

มาเรียนรู้ข้อมูลสำคัญเพื่อเตรียมความพร้อม หากวางแผนมีลูกหลังอายุ 35 ปี เพราะปัจจุบันผู้หญิงเลือกที่จะสร้างความมั่นคงในชีวิต ก่อนที่จะตัดสินใจมีลูก