ข่าวสารและบทความ

รู้ไหมคะว่า สัญญาณจากประจำเดือนสามารถบ่งบอกว่าคุณอาจมีลูกยากได้

รู้ไหมคะว่าประจำเดือนส่ง ”สัญญาณ” บอกว่าคุณอาจมีลูกยากได้

1 ประจำเดือนมาไม่ปกติ

คุณไม่ต้องกังวลหากประจำเดือนมาช้าไป 1 หรือ 2 วัน แต่ถ้าประจำเดือนขาดๆ หายๆ หรือมาไม่ปกติ รอบสั้นเกิน 24 วัน หรือยาวเกิน 35 วันบ่อยๆ เป็นสิ่งที่บ่งชี้ได้ว่าคุณอาจมีไข่ตกบ้างไม่ตกบ้าง ซึ่งคิดเป็น 30-40% ของสาเหตุของการมีบุตรยาก

2 ประจำเดือนมามากกว่าปกติ

ประจำเดือนมากผิดปกติ หรือยาวนานผิดปกติ เช่น ประจำเดือนมากจนต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ 1 ชั่วโมง หรือประจำเดือนมานานเกินกว่า 7 วัน มีสาเหตุได้จากหลายปัจจัย เช่น ความผิดปกติของฮอร์โมนที่ส่งผลกระทบต่อการตกไข่และการมีประจำเดือน ทำให้ประจำเดือนมามากกว่าปกติ, ปัญหาเกี่ยวกับมดลูก เช่น มีเนื้องอกในมดลูก, มะเร็งรังไข่, มะเร็งปากมดลูก, ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (PCOS)  เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เป็นต้น

3 ปวดท้องเมื่อมีประจำเดือน

อาการปวดท้องประจำเดือนบางครั้งก็อาจบ่งบอกถึงความผิดปกติบางอย่างในร่างกายได้ ผู้หญิงมากกว่า 176 ล้านคนทั่วโลกมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เช่นในอุ้งเชิงกราน หรือช็อกโกแล็ตซิสต์ที่รังไข่ ส่งผลให้ปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่มีผลทำให้ตั้งครรภ์ได้ยาก เนื่องจากขัดขวางการเคลื่อนที่ของไข่และอสุจิผ่านท่อนำไข่

4 ประจำเดือนไม่มา

หากประจำเดือนของคุณไม่มาเลย เป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าไม่มีไข่ตกอย่างแน่นอน เพราะจะมีประจำเดือนหลังจากไข่ตกในแต่ละเดือน และถ้าประจำเดือนไม่มาเลยก็มีโอกาสสูงที่จะมีภาวะมีบุตรยาก

หากคุณสังเกตว่าประจำเดือนมีความผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจหาสาเหตุและหาแนวทางแก้ไขต่อไป หรือตรวจสุขภาพเฉพาะทางสำหรับผู้หญิงกับ Lady Plus Checkup

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

ตรวจอัลตราซาวด์เจอไข่หลายฟอง แต่พอเก็บจริงทำไมถึงได้น้อย?

ตรวจอัลตราซาวด์เจอไข่หลายฟอง แต่พอเก็บจริงทำไมถึงได้น้อย อีกหนึ่งปัญหาชวนปวดหัวของคนอยากมีลูก หาคำตอบกับคลินิคซูพีเรีย เอ.อาร์.ที.

ความลับ Vitamin D ช่วยให้ไข่และสเปิร์มมีคุณภาพ?

วิตามินดี นับว่าเป็นวิตามินที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อร่างกายอย่างมาก แต่เอ๊ะ! ทุกคนรู้กันรึเปล่านะ ว่าวิตามินดีส่งผลดีต่อคุณภาพไข่และสเปิร์มอีกด้วย

คุณมีลูกยากหรือไม่! มาดูขั้นตอนการประเมินและการทดสอบภาวะเจริญพันธุ์กันค่ะ

ธาลัสซีเมียสามารถป้องกันได้ด้วย Karyomapping ตรวจหาโรคทางพันธุกรรมในระดับยีนเดี่ยว เพื่อคัดกรองตัวอ่อนที่ปราศจากโรคใส่กลับสู่โพรงมดลูก