ข่าวสารและบทความ

การตรวจคัดกรองโครโมโซม PGT-A คืออะไร ?


PGT-A (หรือเดิมเรียกว่า PGS) คือ การตรวจคัดกรองโครโมโซมของตัวอ่อนก่อนการฝังตัว ซึ่งเป็นเทคนิคการวิเคราะห์หาความผิดปกติของโครโมโซมทั้ง 23 คู่

โดยที่ Superior A.R.T. เราใช้เทคนิค NGS (Next Generation Sequencing) ในการตรวจคัดกรองโรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม เช่น ดาวน์ซินโดรม และการลดความเสี่ยงของการแท้งบุตร ด้วยเทคนิคนี้จะทำให้นักพันธุศาสตร์สามารถเลือกตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติเพื่อนำไปฝังตัวต่อไปได้

ข้อดีของการตรวจคัดกรอง PGT-A คือช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ที่ประสบความสำเร็จ โดยมีผลว่า ผู้ที่ตรวจคัดกรอง PGT-A มีอัตราการตั้งครรภ์ต่อการรักษา 1 ครั้ง ที่ 74% นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ และลดความเสี่ยงที่จะมีบุตรที่ผิดปกติทางพันธุกรรมได้อีกด้วยค่ะ


แล้วการตรวจคัดกรอง PGT-A เหมาะกับใครบ้าง?

  • คู่สมรสที่ฝ่ายหญิงมีอายุ 35 ปีขึ้นไป
  • คู่สมรสที่มีประวัติการตั้งครรภ์บุตรที่มีความผิดปกติของโครโมโซม
  • คู่สมรสที่มีประวัติแท้งบุตร 2 ครั้งขึ้นไป เนื่องมาจากความผิดปกติของโครโมโซมหรือไม่ทราบสาเหตุ
  • คู่สมรสที่มีภาวะมีบุตรยาก และเคยพบปัญหาตัวอ่อนไม่ฝังตัวอย่างน้อย 2 ครั้ง
  • คู่สมรสที่ต้องการเลือกเพศของบุตรด้วยเหตุผลทางการแพทย์
  • คู่สมรสที่มีความผิดปกติของโครโมโซม เช่น มีการสลับตำแหน่งของโครโมโซม

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

ไลฟ์สไตล์ที่ปรับเปลี่ยน ส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ในสังคมสมัยใหม่

รู้หรือไม่ว่า การมีบุตรยากกำลังเป็นภัยเงียบในสังคมยุคใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจเกิดจากพฤติกรรม และค่านิยมที่เปลี่ยนไปของผู้คนในยุคปัจจุบัน

ถามหมอ 💬 กับหมอจิว : ปล่อยธรรมชาตินานแค่ไหน ถึงเข้าข่ายมีลูกยาก

เพราะระยะเวลาในการตั้งครรภ์ของคู่สมรสที่ปล่อยธรรมชาติ จะมีความแตกต่างกันไป หลายคนเกิดคำถามว่า ต้องพยายามมีลูกตามธรรมชาติมานานแค่ไหน ถึงจะถือว่าเข้าข่ายมีบุตรยาก?

ถามหมอ 💬 กับหมอนิ : เคยแท้งมาก่อน โอกาสมีลูกจะลดลงหรือไม่ ?

คุณหมอนิ พญ.นิศารัตน์ จะมาตอบข้อสงสัยให้ทุกท่านได้ทราบกัน สำหรับคุณแม่ที่เคยสูญเสียลูกน้อยจากการแท้งลูก อาจมีความกังวลใจว่าโอกาสในการมีลูกอีกครั้งจะยากขึ้นหรือไม่