ข่าวสารและบทความ

ไลฟ์สไตล์ที่ปรับเปลี่ยน ส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ในสังคมสมัยใหม่


#ภัยใกล้ตัว รู้หรือไม่ว่า การมีบุตรยากกำลังเป็นภัยเงียบในสังคมยุคใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ และอาจนำไปสู่ปัญหาเรื่องการเจริญพันธุ์ หรือปัญหาการลดลงของจำนวนประชากร ซึ่งอาจมาจากพฤติกรรม และค่านิยมที่เปลี่ยนไปของผู้คนในยุคปัจจุบัน

 

โดยจะมีสาเหตุมาจากหลากหลายปัจจัย ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและไลฟ์สไตล์ ปัญหาสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การมีน้ำหนักเกิน และการรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการเจริญพันธุ์ทั้งในเพศชายและหญิง 

นอกจากนี้ สารเคมีบางชนิดสามารถเข้าไปรบกวนการทำงานของระบบฮอร์โมนในร่างกาย (Endocrine-Disrupting Chemicals: EDCs) เช่น BPA และพาทาเลต (Phthalates) ซึ่งพบได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น ภาชนะพลาสติก ขวดนม ขวดน้ำดื่ม และสารเคลือบเม็ดยาต่างๆ การได้รับสารเคมีตกค้างเหล่านี้เป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้การทำงานของระบบสืบพันธุ์แย่ลงได้ เช่น ในฝ่ายหญิงพบว่าทำให้โอกาสการตั้งครรภ์ต่อรอบเดือนลดลง ซึ่งอาจเกิดจากคุณภาพของไข่หรือระดับฮอร์โมนที่ลดลง ส่วนในฝ่ายชายพบว่าฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลง อีกทั้งยังส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในทารกเพศชายที่คลอดจากหญิงที่ได้รับสารเคมีเหล่านี้อีกด้วย โดยมีรายงานว่า ปริมาณและคุณภาพของอสุจิลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา

ดังนั้น การดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยจากสารพิษ และการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอนามัยการเจริญพันธุ์ จึงเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกัน และลดปัญหาภาวะมีบุตรยากในสังคมยุคใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน


หากคุณกำลังวางแผนมีลูก หรือสงสัยว่ามีภาวะมีบุตรยาก สามารถติดต่อเพื่อนัดหมายปรึกษาคุณหมอ ผ่านช่องทางที่สะดวกได้ทันที คุณหมอจะช่วยออกแบบการรักษาเฉพาะคู่ ไม่ว่าจะเป็นการทำ IUI การฉีดน้ำเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก หรือการทำเด็กหลอดแก้ (IVF) ด้วยวิธี ICSI

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

🔬นักวิทย์ 💬 อยากเล่า : แช่แข็งไข่เก็บไว้ 10 ปี ทำได้หรือไม่

คุณดวงสมร จากแลปเลี้ยงตัวอ่อนจะมาไขทุกข้อสงสัย ให้สาวๆ ที่มีความกังวลเรื่องระยะเวลาในการเก็บรักษาไข่ที่แช่แข็ง ว่าจะสามารถเก็บไว้ได้นานแค่ไหน

ถามหมอ 💬 กับหมอโฟม : ผนังมดลูกควรจะหนาเท่าไหร่ ถึงจะพร้อมใส่ตัวอ่อน

เยื่อบุโพรงมดลูก มีหน้าที่ในการรับการฝังตัวของตัวอ่อน เยื่อบุโพรงมดลูกของแต่ละคน ในแต่ละรอบเดือนจะหนาไม่เท่ากัน แล้วต้องหนาเท่าไหร่จึงจะเหมาะกับการใส่ตัวอ่อน

5 สิ่งที่ต้องรู้ หากอยากมีลูกหลังอายุ 35 ปี

มาเรียนรู้ข้อมูลสำคัญเพื่อเตรียมความพร้อม หากวางแผนมีลูกหลังอายุ 35 ปี เพราะปัจจุบันผู้หญิงเลือกที่จะสร้างความมั่นคงในชีวิต ก่อนที่จะตัดสินใจมีลูก