ข่าวสารและบทความ

𝐒𝐮𝐩𝐞𝐫𝐢𝐨𝐫 𝐀.𝐑.𝐓. 𝐋𝐈𝐕𝐄 : 🅔🅟.46 ❝ ตู้เลี้ยงตัวอ่อน Geri® ช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์สูงขึ้น ได้อย่างไร ❞


ตู้เลี้ยงตัวอ่อนแบบติดกล้อง หรือที่เรียกว่า Time-Lapse Incubator มีส่วนช่วยเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ได้อย่างไร?


กระบวนการเลี้ยงตัวอ่อนเป็นอย่างไร?

ในขั้นตอนการรักษาผู้มีบุตรยาก เมื่อคู่สมรสเข้ามาปรึกษากับคุณหมอ เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุ และเข้าสู่กระบวนการรักษาด้วยการทำเด็กหลอดแก้ว ซึ่งขั้นตอนการรักษานั้น จะอ้างอิงจากการตั้งครรภ์ด้วยวิธีธรรมชาติ คือ เมื่อไข่ออกมาจากรังไข่ จะผสมกับอสุจิที่บริเวณปีกมดลูก เมื่อปฏิสนธิสำเร็จ ตัวอ่อนจะพัฒนา มีการแบ่งเซลล์ขึ้นเรื่อยๆ เคลื่อนที่เข้าสู่โพรงมดลูก และฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูก ในตัวอ่อนระยะวันที่ 5 หรือวันที่ 6 ที่เรียกว่า ตัวอ่อนระยะ บลาสโตซีสต์ (Blastocyst)

การเลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ จะเป็นการจำลองมดลูกของคุณแม่ ด้วยการใช้ตู้เลี้ยงตัวอ่อน รวมไปถึงน้ำยาที่เป็นสารอาหารให้กับตัวอ่อน ที่มีความเหมาะสมกับตัวอ่อนในแต่ละระยะ ตั้งแต่ออกมาจากรังไข่ไปจนถึงโพรงมดลูก

ซี่งนอกจากน้ำยาแล้ว สิ่งที่สำคัญในการเลี้ยงตัวอ่อนคือตู้เลี้ยงตัวอ่อน หรือที่เรียกว่า Incubator

โดยภายในตู้เลี้ยงตัวอ่อน จะมีการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และก๊าซ ในปริมาณที่เหมาะสม ใกล้เคียงกับสภาวะภายในร่างกาย ซึ่งตัวอ่อนจะถูกเลี้ยงในตู้เลี้ยงเป็นเวลา 5-6 วัน เพื่อให้ตัวอ่อนพัฒนาเป็น ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst) เพื่อตรวจโครโมโซม แช่แข็ง หรือ ย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูก ต่อไป


ตู้เลี้ยงตัวอ่อนมี  2 ประเภท

1) Standard Incubator หรือ Conventional Incubator เป็นตู้เลี้ยงตัวอ่อนแบบมาตรฐานทั่วไป มีฝาปิด เพื่อป้องกันการรบกวนจาก สิ่งแวดล้อมภายนอก โดยใน 1 ห้องเลี้ยง จะสามารถวางจานเลี้ยงตัวอ่อนได้ หลายจาน และต้องนำจานเลี้ยงตัวอ่อนออกมาจากตู้เลี้ยง เพื่อดูพัฒนาการของตัวอ่อนที่กล้องจุลทรรศน์

2) Time-Lapse Incubator เป็นตู้เลี้ยงตัวอ่อนที่มีกล้องจุลทรรศน์และกล้องบันทึกภาพติดตั้งไว้ภายในห้องเลี้ยง ทำให้สามารถติดตามการเจริญเติบโตของตัวอ่อนได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องนำจานเลี้ยงตัวอ่อนออกมานอกตู้ ลดการรบกวนจากสิ่งแวดล้อมภายนอก และย้อนดูพัฒนาการของตัวอ่อนได้ เพื่อเลือกตัวอ่อนก่อนย้ายกลับสู่โพรงมดลูกได้แม่นยำมากขึ้น


Geri® Time-Lapse Incubator คือ อะไร?

ตู้เลี้ยงตัวอ่อน แบบ Time-Lapse Incubator ที่ Superior A.R.T. เลือกใช้ คือ Geri® Time-Lapse Incubator โดยตู้นี้จะแบ่งออกเป็น 6 ช่อง และในแต่ละช่องจะใช้เลี้ยงตัวอ่อนสำหรับคนไข้ 1 คนเท่านั้น ไม่นำมาปนกัน นอกจากนี้ Geri® ยังเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถจัดการแต่ละเคสผ่านระบบคอมพิวเตอร์ได้


Geri® ช่วยเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ได้อย่างไร?

คุณสมบัติเด่นของ Geri® Time-Lapse Incubator คือ ตัวอ่อนของคนไข้จะอยู่แยกกันในแต่ละช่องของตัวเอง ซึ่งในแต่ละช่องจะมีขนาดเล็ก ทำให้สามารถควบคุมอุณหภูมิและควบคุมแก๊สได้ดี เมื่อเปิด/ปิดฝาตู้เลี้ยงตัวอ่อน อุณหภูมิและสภาวะต่างๆ ในแต่ละช่องจะสามารถกลับมาอยู่ในการควบคุมได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น เมื่อเทียบกับ Standard Incubator ที่มีฝาที่กว้างกว่า พื้นที่ที่กว้างกว่า การกลับมาของอุณหภูมิและแก๊สก็จะช้ากว่า

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและสภาวะของแก๊ส ส่งผลให้ตัวอ่อนแบ่งตัวได้ช้าลง หรือเจริญเติบโตได้ไม่ดี การที่เราควบคุมอุณหภูมิและแก๊สให้กลับมาอยู่ในสภาวะเดิมได้เร็ว จะยิ่งทำให้ตัวอ่อนอยู่ในสภาวะที่ปลอดภัยมากขึ้น

นอกจากนี้ ในแต่ละช่องของ Geri® จะติดตั้งกล้องกล้องจุลทรรศน์ขนาดเล็กและกล้องบันทึกภาพของตัวอ่อนในแต่ละช่องแยกกัน และถ้าในกรณีที่ช่องไหนเสีย ก็ไม่จำเป็นต้องปิดเครื่อง เพราะสามารถแก้ไขช่องใดช่องหนึ่งได้ โดยที่ช่องอื่นๆ ยังสามารถดำเนินการต่อไปได้

นอกจากนี้ ตู้ Geri® สามารถเลี้ยงตัวอ่อนด้วยระบบการเลี้ยงตัวอ่อนแบบควบคุมความชื้น (humidity technology) เพื่อช่วยรักษาสมดุลของ Osmolality และรักษาค่า pH ของน้ำยาได้ดีขึ้น ตัวอ่อนที่อยู่ในตู้เลี้ยงที่มีความชื้น จึงมีคุณภาพที่ดีกว่า และได้ตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสต์มากขึ้น

เมื่อได้จำนวนตัวอ่อนในระยะบลาสโตซิสต์มากขึ้น โอกาสที่จะนำไปใส่กลับในโพรงมดลูก หรือนำไปตรวจโครโมโซมก็สูงขึ้น ซึ่งมีการศึกษาที่เปรียบเทียบอัตราการตั้งครรภ์จากการใส่กลับตัวอ่อนจากที่เลี้ยงในตู้ Geri® กับที่เลี้ยงใน Standard Incubator พบว่าอัตราการตั้งครรภ์ของตัวอ่อนที่เลี้ยงในตู้ Geri® สูงกว่าอัตราการตั้งครรภ์ของตัวอ่อนที่เลี้ยงใน Standard Incubator

ด้วยคุณสมบัติทั้งหมดที่กล่าวมา ทำให้ตู้ Geri® ได้รับรางวัลมากมาย เช่น Good Design Awards จากประเทศสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย โดย Superior A.R.T. เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ที่นำตู้เลี้ยงตัวอ่อน Geri® เข้ามาใช้ตั้งแต่ปี 2017


ข่าวสารและบทความอื่นๆ

ถามหมอ 💬 : อายุ 40+ มีลูกได้ไหม by หมอจิว

เมื่อผู้หญิงเริ่มมีอายุมากขึ้น ความกังวลเรื่องการมีบุตรก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย จนหลายคนมีคำถามว่า อายุ 40 ปีขึ้นไป ยังมีโอกาสมีลูกได้หรือไม่?

สเปิร์มน้อย สเปิร์มไม่แข็งแรง แก้ไขได้ ถ้ารู้ก่อน

สเปิร์มน้อย สเปิร์มไม่แข็งแรง แก้ไขได้ ถ้ารู้ก่อน ด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพคู่รัก Couple Checkup ในราคาพิเศษเพียง 4,999 บาท

Lab และ Technology ปัจจัยสำคัญที่ห้ามมองข้ามในการเลือกทำ ICSI

เนื่องจากการทำ ICSI เป็นกระบวนการที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อน ห้องปฏิบัติการ (Lab) จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง