ภาวะรังไข่ตอบสนองไม่ดี

คุณแม่ชาวอินเดียวัย 31 ปี มีบุตรแล้ว 2 คน พยายามจะมีบุตรอีก แต่เกิดการแท้งบุตรถึง 2 ครั้ง และไม่สามารถตั้งครรภ์ตามธรรมชาติได้ แพทย์ตรวจพบว่าเธอมีค่าฮอร์โมน AMH ต่ำ (ฮอร์โมนการทำงานของรังไข่) เธอเคยเข้ารับการรักษาโดยการทำ IVF ในอินเดียมาแล้ว แต่การตอบสนองต่อการรักษาไม่ดีนักและไม่ประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ หลังจากนั้นคนไข้ได้รับการส่งตัวมาพบ พญ.นิศารัตน์ สุนทราภาที่ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. คุณหมอทำการปรับวิธีการกระตุ้นไข่และแนะนำให้ตรวจโครโมโซมด้วยเทคนิค PGT-A (NGS) อย่างละเอียด ในรอบแรกของการกระตุ้นไข่ เธอสามารถเก็บไข่ได้ถึง 15 ใบและได้ตัวอ่อนคุณภาพดีจำนวน 7 ตัวที่สามารถส่งตรวจวิเคราะห์โครโมโซมด้วยวิธี NGS ได้

ผลวิเคราะห์ NGS พบว่ามีตัวอ่อนเพียง 2 ตัวเท่านั้นที่มีโครโมโซมสมบูรณ์ ดังนั้นการมีอัตราการได้ตัวอ่อนโครโมโซมผิดปกติสูงจึงเป็นคำตอบว่าทำไมก่อนหน้านี้คนไข้จึงมีภาวะแท้งถึง 2 ครั้งและมีบุตรยาก คุณแม่ท่านนี้ตั้งครรภ์หลังจากการย้ายตัวอ่อนที่โครโมโซมปกติเพียงหนึ่งตัว จนคุณหมอเจ้าของไข้ในอินเดียถึงกับเอ่ยชมคุณหมอของเราว่า “พญ. นิศารัตน์ เป็นอัจฉริยะ”

นัดปรึกษาแพทย์

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ