แม้แนวโน้มการแต่งงานช้า จะมีข้อดี คือทำให้สามารถลงหลักปักฐานในช่วงเวลาที่พร้อมและเหมาะสมที่สุด แต่การแต่งงานช้าก็ย่อมหมายถึงความเสี่ยงมีบุตรในช่วงที่อายุมาก ซึ่งมักก่อให้เกิดภาวะการมีบุตรยาก รวมถึงภาวะความผิดปกติจากการมีบุตรช้าต่างๆ การ เก็บไข่ ฝากไข่ แช่แข็งไข่ (Egg Freezing) ในช่วงอายุที่ระบบสืบพันธุ์ยังแข็งแรงสมบูรณ์ เพื่อรอนำมาใช้ในช่วงเวลาที่พร้อม จึงนับว่าเป็นทางเลือกในการเตรียมพร้อมที่ตอบโจทย์ แต่การฝากไข่คืออะไรกันแน่? มีรายละเอียดใดบ้างที่ควรรู้? วันนี้ Superior A.R.T. มีคำตอบ
การเก็บไข่ ฝากไข่ แช่แข็งไข่ หรือ Egg Freezing คืออะไร?
การเก็บไข่ ฝากไข่ แช่แข็งไข่ (Egg Freezing) เป็นการรักษาคุณภาพของเซลล์ไข่ของผู้หญิงโดยการแช่แข็งเอาไว้ ซึ่งเหมือนเป็นการหยุดเวลา ก่อนที่ไข่จะเสื่อมคุณภาพลงเมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้น แล้วค่อยนำมาละลายเมื่อว่าที่คุณแม่พร้อมที่จะตั้งครรภ์ โดยนำเซลล์ไข่ไปปฏิสนธิภายนอกกับอสุจิของสามีในเวลาที่กำหนดเองได้ ด้วยเทคนิคทางการแพทย์ที่ช่วยในการเจริญพันธุ์ การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF หรือ ICSI) จากนั้นก็นำกลับเข้าไปฝังตัวในโพรงมดลูกภายในร่างกายอีกครั้ง เพื่อให้ไข่เติบโตกลายเป็นลูกน้อยที่น่ารักต่อไป
การฝากไข่มักถูกใช้ในกรณีใดบ้าง?
กระบวนการฝากไข่สามารถถูกใช้ในหลากหลายกรณี ดังนี้:
- ผู้ที่วางแผนมีบุตรในอนาคตแต่ยังไม่พร้อมมีบุตรในขณะนี้ หรือการที่คู่หญิงชายวางแผนแต่งงานช้าลงด้วยปัจจัยหลายๆ อย่างทางสังคม เช่น การศึกษา หน้าที่การงาน หรือการใช้ชีวิตตามความฝัน
- ผู้หญิงที่ยังไม่เจอคู่ชีวิตในเวลาที่ใช่ แต่วางแผนการมีบุตรในอนาคต
- ผู้หญิงที่ต้องได้รับการรักษาโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น การรักษาด้วยการฉายรังสี หรือการให้เคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งที่อาจส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ การเก็บรักษาไข่ไว้ในขณะที่ร่างกายยังสมบูรณ์จึงถือว่าเป็นทางเลือกที่เหมาะสม
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของรังไข่ เช่น เนื้องอก ซีสต์ หรือ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวหมดประจำเดือนเร็ว เคยมีประวัติผ่าตัดบริเวณรังไข่มาก่อน
- ผู้มีปัญหาด้านพันธุกรรม ชนิดที่ทำให้รังไข่เสื่อมการทำงานเร็ว หรือ ผู้มีประวัติเสี่ยงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเร็ว
- กรณีที่ใช้วิธีเด็กหลอดแก้ว (IVF) หรือ ICSI ไข่ที่ได้รับการกระตุ้นออกมาแล้ว แต่ยังไม่ได้นำมาใช้ แพทย์อาจแนะนำให้นำไข่ไปแช่แข็งไว้เพื่อรอวันที่พร้อมปฏิสนธิ
การฝากไข่มีขั้นตอนอย่างไร?
การฝากไข่มีขั้นตอนอยู่ 3 ขั้นตอนหลักๆ คือ:
1. การกระตุ้นไข่
หลังจากที่แพทย์ได้ตรวจอัลตราซาวด์รังไข่และตรวจระดับฮอร์โมนในเลือดเรียบร้อยแล้ว จะแนะนำวิธีการฉีดยากระตุ้นไข่ (เริ่มวันที่ 2 หรือ 3 ของการมีประจำเดือน) เพื่อกระตุ้นให้มีการตกไข่ในปริมาณที่มากกว่าปกติ โดยจะกระตุ้นทุกวันเป็นเวลา 10 – 14 วัน แพทย์จะทำการตรวจร่างกายเป็นระยะ (ทุก 2-3 วัน) เพื่อเช็กจำนวนไข่ ว่าเป็นไปตามเป้าหมายแล้วหรือยัง (โดยส่วนใหญ่ คาดหวังให้อยู่ที่ 10-20 ใบ) ตรวจดูตำแหน่งของไข่ ตลอดจนความแข็งแรงสมบูรณ์ของไข่ หากทุกอย่างตรงตามเป้าหมาย จะฉีดยากระตุ้นการตกไข่ (36 ชั่วโมงก่อนการเก็บไข่) เพื่อเตรียมตัวสู่กระบวนการการดูดเก็บไข่ในขั้นตอนต่อไป
2. การดูดเก็บไข่ หรือการเก็บไข่
ในการเก็บเซลล์ไข่ แพทย์จะให้ยาสลบแก่คนไข้ จึงไม่รู้สึกถึงความเจ็บระหว่างการเก็บไข่ แพทย์จะอัลตร้าซาวด์รังไข่เพื่อตรวจดูความพร้อมและตำแหน่งที่ไข่จะตก จากนั้นจะทำการดูดเก็บไข่โดยใช้เข็มขนาดเล็กสอดเข้าไปทางช่องคลอดและดูดไข่ออกมาจากรังไข่ ซึ่งจะต้องทำในช่วงเวลาก่อนไข่ตกเท่านั้น
3. การแช่แข็งไข่ การฝากไข่
หลังจากแพทย์เก็บไข่ที่จะนำไปปฏิสนธิต่อในอนาคตแล้ว เซลล์ไข่จะถูกแช่แข็ง ด้วยเทคนิคการแช่แข็งแบบผลึกแก้ว หรือ Vitrification และเก็บรักษาในไนโตรเจนเหลว ที่อุณหภูมิติดลบ จนกว่าจะตัดสินใจนำไข่มาใช้
ประสิทธิผลของการเก็บรักษาไข่
ไข่ที่ถูกแช่แข็งไว้ในไนโตรเจนเหลวนั้น สามารถเก็บได้นานเป็น 10 ปี โดยจะเก็บไว้ที่อุณหภูมิ ต่ำกว่า – 190 องศาเซลเซียส เพื่อคงคุณภาพของไข่ไว้ให้เหมือนเดิมแม้เวลาจะผ่านไป เพื่อรอเวลาที่พร้อมที่สุดของ (ว่าที่) คุณพ่อคุณแม่ อย่างไรก็ตามการตั้งครรภ์ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุของหญิงที่จะตั้งครรภ์ ความแข็งแรงของร่างกาย และความแข็งแรงของอสุจิของฝ่ายชายด้วย
การฝากไข่ปลอดภัย/มีความเสี่ยงแค่ไหน?
แม้ว่าการฝากไข่จะเป็นวิธีการที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็อาจเกิดผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการกระตุ้นไข่และเก็บไข่ได้ เช่น ภาวะรังไข่ตอบสนองต่อการกระตุ้นมากเกินไป (Ovarian Hyperstimulation Syndrome) หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น บางรายอาจมีอาการเจ็บ ท้องเสีย คลื่นไส้ ปวดศีรษะ น้ำหนักขึ้น หรืออาจมีอารมณ์แปรปรวน เนื่องจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้น แต่ไม่ถึงกับเป็นอันตรายต่อชีวิต
การฝากไข่มีอัตราความสำเร็จเท่าไหร่?
โอกาสตั้งครรภ์จากการฝากไข่นั้นเท่ากับการตั้งครรภ์โดยธรรมชาติ โดยช่วงอายุที่แพทย์แนะนำคือ 20 ไปจนถึง 35 ปี เนื่องจากอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ เซลล์ไข่เมื่อนำมาละลายด้วยวิธีการ Vitrification โอกาสรอดสูงถึง 90-95% ดังนั้น ยิ่งมีจำนวนของไข่มาก ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์มากขึ้นเท่านั้น
แพทย์จะแนะนำจำนวนการเก็บไข่ที่เหมาะสม โดยจะขึ้นกับอายุของฝ่ายหญิง ผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปีจำนวนไข่ที่ถูกเก็บและนำไปแช่แข็งจะอยู่ที่ประมาณ 10-15 ฟองสำหรับการตั้งครรภ์ 1 ครั้ง และจะเก็บได้ปริมาณที่น้อยลงตามอายุ โดยโอกาสการตั้งครรภ์จะอยู่ที่ประมาณ 7% ต่อไข่ 1 ใบ
ดังที่ได้เล่าไปตอนต้น โอกาสตั้งครรภ์จากการฝากไข่ไม่ใช่ 100% ความสำเร็จในการตั้งครรภ์เกิดจากปัจจัยต่างๆ ของร่างกายของทั้งฝ่ายชายและหญิงเช่นเดียวกับการตั้งครรภ์โดยธรรมชาติ ซึ่งการฝากไข่นั้นเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งของการนำไข่มาเก็บรักษาไว้ภายนอกร่างกายเท่านั้น
บทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับกับ การเก็บไข่ ฝากไข่ แช่แข็งไข่ Egg Freezing
- แช่แข็งไข่ทำอย่างไร? ทำความเข้าใจกระบวนการแช่แข็งไข่ ฉบับเข้าใจง่าย
- บริการ เก็บไข่ ฝากไข่ แช่แข็งไข่
- ตรวจอัลตราซาวด์เจอไข่หลายฟอง แต่พอเก็บจริงทำไมถึงได้น้อย?
- ตัดสินใจฝากไข่ เมื่อไหร่ดีนะ