ข่าวสารและบทความ

การทำ IUI ทำอย่างไร? ทำความเข้าใจกระบวนการ IUI ฉบับเข้าใจง่าย

ในบทความที่แล้ว เราได้พูดถึง ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการฉีดอสุจิเข้าโพรงมดลูก หรือ  IUI (Intrauterine Insemination)  หนึ่งในวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากที่ง่ายและค่าใช้จ่ายไม่สูง โดยครอบคลุมเรื่อง การทำ IUI คืออะไร? กรณีไหนควรทำ IUI? ตลอดจนการทำ IUI มีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด และมีกระบวนการอย่างไร? (อ่านบทความแรกเกี่ยวกับการทำ IUI ของเราได้ ที่นี่)

ในบทความนี้ เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการทำ IUI กันอีกครั้ง แต่ในแบบเจาะลึกและละเอียดยิ่งขึ้นเพื่อให้คุณได้เข้าใจและเตรียมความพร้อมก่อนมาพบคุณหมอ รายละเอียดในแต่ละขั้นตอนของการทำ IUI มีอะไรบ้าง มาเริ่มกันเลย

เมื่อไหร่: เมื่อคุณสะดวกในการทำนัดหมาย

ใช้เวลานานแค่ไหน: 30-45 นาที

ขั้นตอนแรก ก่อนเริ่มกระบวนการใดๆ คือการนัดปรึกษากับคุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์และภาวะการมีบุตรยาก ที่คลินิกที่มีชื่อเสียงและมีประสบการณ์ โดยในขั้นตอนนี้ คุณหมอจะถามประวัติ และตรวจร่างกายเพิ่มเติม ตามสาเหตุภาวะมีบุตรยากของคุณ เช่น การตรวจมดลูกและท่อนำไข่, การตรวจค่าฮอร์โมน, และการทดสอบอื่นๆ ที่จำเป็น ส่วนฝ่ายชายเข้ารับการตรวจและวิเคราะห์คุณภาพอสุจิ  คุณหมอจะตรวจสอบและประเมินสภาพร่างกายโดยรวม เพื่อประเมินว่า IUI เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคุณหรือไม่ ซึ่ง IUI อาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีภาวะมีบุตรยากระดับรุนแรง 

ในการนัดพบแรกนี้ยังถือเป็นโอกาสที่คุณจะได้สอบถามและปรึกษาเกี่ยวกับข้อกังวลต่างๆ ที่มีเกี่ยวกับการทำ IUI, กระบวนการโดยรวม, ค่าใช้จ่าย และข้อมูลอื่นที่คุณอยากรู้ และคุณสามารถประเมินดูว่าคุณรู้สึกสบายใจและพึงพอใจกับแพทย์, คลินิก และกระบวนการทางเลือกต่างๆ มากน้อยแค่ไหน คลินิกเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ที่น่าเชื่อถือ และแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์ จะทำให้คุณรู้สึกมั่นใจได้ว่า  ไม่ว่าคุณจะพบปัญหาใดระหว่างกระบวนการ แพทย์จะคอยช่วยให้คำแนะนำและแก้ปัญหาให้เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ 

เมื่อไหร่: วันที่ 2 หรือวันที่ 3 ของการมีประจำเดือน

ใช้เวลานานแค่ไหน: 10 – 12 วัน

เมื่อเริ่มกระบวนการ IUI แพทย์จะประเมินว่าคุณควรจะได้รับยาเพื่อใช้กระตุ้นรังไข่ หรือสามารถผลิตไข่ได้เองตามธรรมชาติ กระบวนการกระตุ้นไข่ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าในรอบการรักษานั้นจะมีไข่โต โดยในทั้งสองกรณี  แพทย์จะช่วยประเมิน คอยติดตามและกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในขั้นตอนการทำ IUI ให้กับคุณ

ในส่วนของยากระตุ้น สามารถใช้ได้ทั้งแบบฉีดหรือแบบรับประทาน หรือทั้งสองแบบร่วมกัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของคุณ โดยในระหว่างนี้ และนัดตรวจอัลตราซาวน์เพื่อติดตามการตอบสนองของรังไข่ ในช่วงเวลาก่อนไข่ตก โดยอาจมีการปรับยาหากจำเป็น และกำหนดช่วงเวลาการทำ IUI โดยคุณและคู่สมรสของคุณ อาจถูกขอให้งดเว้นการมีเพศสัมพันธ์หรือการหลั่งอสุจิเป็นเวลา 2-3 วันก่อนกระบวนการ IUI

และเมื่อฟองไข่มีขนาดอย่างน้อย 18-20 มม. และเยื่อบุโพรงมดลูกมีความหนาอย่างน้อย 7 มม. แล้ว แพทย์จะฉีดยาให้ไข่ตก เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายของฝ่ายหญิงตกไข่ และจะทำนัดเพื่อเริ่มกระบวนการ IUI หลังจากฉีดยาราว 36 ชั่วโมง 

เมื่อไหร่: 36 – 42 ชั่วโมงหลังฉีดยาให้ไข่ตก

ใช้เวลานานแค่ไหน: 15-20 นาที

หลังจากการฉีดยาให้ไข่ตก 36 – 42 ชั่วโมง คุณและสามี จะเริ่มกระบวนการทำ IUI ในขั้นตอนนี้ ฝ่ายชายเก็บน้ำอสุจิ โดยการช่วยตัวเอง ซึ่งเป็นวิธีที่แนะนำ เพื่อลดโอกาสการปนเปื้อนของแบคทีเรีย ตัวอย่างน้ำอสุจิที่เก็บได้ จะถูกส่งไปที่ห้องปฏิบัติการทันที  และหลังจากที่พักไว้เพื่อให้น้ำอสุจิละลายตัวให้เหลว ประมาณ 30 นาทีแล้ว ก็จะถูกนำไปล้างเพื่อขจัดเศษสเปิร์มที่ไม่เคลื่อนที่ และสารอื่นๆ ในน้ำอสุจิที่ทำให้มดลูกระคายเคืองหรือทำให้ไข่ตายได้ เหลือ อสุจิที่มีสุขภาพดีที่มีความเข้มข้นสูงซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ 

หลังจากเตรียมอสุจิแล้ว ก็จะเริ่มกระบวนการทำ IUI โดยแพทย์จะเริ่มจากการใช้เครื่องมือเปิดช่องคลอด  เพื่อให้มองเห็นปากมดลูก และค่อยๆ สอดสายสวนขนาดเล็กและฉีดอสุจิเข้าไปในโพรงมดลูกโดยตรง เพื่อช่วยให้อสุจิสามารถว่ายเข้าไปในท่อนำไข่และปฏิสนธิกับไข่ได้อย่างสะดวก กระบวนการทั้งหมดแทบไม่มีความเจ็บปวด ไม่ต้องใช้ยาสลบ และใช้เวลาเพียงแค่ 5-10 นาทีก็เสร็จสิ้น โดยแพทย์จะขอให้คุณนอนพักประมาณ 30 นาทีก่อน จึงเดินทางกลับบ้านได้

เมื่อไหร่: 14 วันหลังกระบวนการ IUI

ใช้เวลานานแค่ไหน: 2-3 นาที

ประมาณ 14 วันหลังจากทำ IUI คุณสามารถทดสอบการตั้งครรภ์ที่บ้านหรือที่คลินิก หากไม่ประสบความสำเร็จในการทำ IUI ในครั้งแรก ก็อย่าเพิ่งหมดหวัง คุณสามารถทำ IUI ซ้ำได้ 3-4 รอบ หรือในบางกรณีอาจถึง 6 รอบ ขึ้นอยู่กับอายุของคุณ หากผ่านไป 4-6 รอบแล้วยังไม่ประสบความสำเร็จ แพทย์อาจแนะนำให้คุณพิจารณาทางเลือกในการรักษาอื่นๆ เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว IVF หรือ ICSI  โดยหลังจากกระบวนการ IUI คุณสามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ตามปกติรวมทั้งการมีเพศสัมพันธ์

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการแช่แข็งตัวอ่อนของเรา คลิกที่นี่

https://youtu.be/Etk9yjc8-5s

References

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

ถามหมอ 💬 : อายุ 40+ มีลูกได้ไหม by หมอจิว

เมื่อผู้หญิงเริ่มมีอายุมากขึ้น ความกังวลเรื่องการมีบุตรก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย จนหลายคนมีคำถามว่า อายุ 40 ปีขึ้นไป ยังมีโอกาสมีลูกได้หรือไม่?

สเปิร์มน้อย สเปิร์มไม่แข็งแรง แก้ไขได้ ถ้ารู้ก่อน

สเปิร์มน้อย สเปิร์มไม่แข็งแรง แก้ไขได้ ถ้ารู้ก่อน ด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพคู่รัก Couple Checkup ในราคาพิเศษเพียง 4,999 บาท

Lab และ Technology ปัจจัยสำคัญที่ห้ามมองข้ามในการเลือกทำ ICSI

เนื่องจากการทำ ICSI เป็นกระบวนการที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อน ห้องปฏิบัติการ (Lab) จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง