สัปดาห์คนหูหนวกแห่งชาติ ถือเป็นวันสำคัญสากลของผู้พิการทางการได้ยิน โดยองค์การสหประชาชาติได้กำหนดวันดังกล่าว เพราะมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักในสิทธิและความเท่าเทียมของการสื่อสาร
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกพบว่าจํานวนผู้ป่วยที่มีภาวะสูญเสียการได้ยิน มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จาก 120 ล้านคนไปเป็น 2,500 ล้านคนทั่วโลกในปี 2050
โรคหูหนวกเกิดได้จากหลายสาเหตุ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ไม่ได้เกิดจากกรรมพันธุ์ กับกลุ่มที่เกิดจากกรรมพันธุ์
กลุ่มที่ไม่ได้เกิดจากกรรมพันธุ์ มีหลากหลายสาเหตุ ได้แก่
- แม่มีการติดเชื้อในระหว่างตั้งครรถ์
- เกิดจากภาวะที่มีการอักเสบของหูชั้นกลาง หรือโพรงกระดูก จนไปถึงแก้วหูทะลุ
- เกิดจากภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือภาวะการติดเชื้ออื่นๆ
- โรคหินปูนเกาะกระดูกหู
- อายุ
- เกิดจากการบาดเจ็บ หรือการกระแทกที่หู
กลุ่มที่เกิดจากกรรมพันธุ์
- ได้รับยีนกลายพันธุ์จากพ่อและแม่ที่เป็นพาหะทั้งคู่
- เกิดจากการที่ทารกได้รับยีนกลายพันธุ์จากพ่อหรือแม่เพียงคนใดคนหนึ่ง
- คนหูหนวกมักเป็นที่เพศชายที่ถ่ายทอดผ่านโครโมโซม X จากแม่ที่เป็นพาหะ
ป้องกันโรคหูหนวกได้ด้วย ❝ Karyomapping ❞
จะเห็นได้ว่าถึงพ่อและแม่จะไม่มีปัญหาเรื่องการได้ยิน แต่พ่อหรือแม่นั้นก็สามารถเป็นพาหะของโรคได้ ถือเป็นภัยเงียบที่ส่งผลต่อลูกน้อย แต่ไม่ต้องตกใจไปค่ะ เพราะเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถช่วยปกป้องลูกน้อยในอนาคตจากโรคหูหนวกได้ด้วยเทคนิค Karyomapping ซึ่งเป็นการตรวจคัดกรองพันธุกรรมในระดับยีนเดี่ยว ของตัวอ่อนที่ปราศจากโรคทางพันธุกรรมก่อนการฝังตัว ได้รับการยอมรับว่ามีความแม่นยำสูง มีความน่าเชื่อถือมากกว่า 95% เลยทีเดียว