ข่าวสารและบทความ

𝐒𝐮𝐩𝐞𝐫𝐢𝐨𝐫 𝐀.𝐑.𝐓. 𝐋𝐈𝐕𝐄 : 🅔🅟 36 ❝ การรักษาด้วยวีธี ICSI กับโอกาสได้ลูกแฝดเป็นอย่างไร? ❞


การรักษาด้วยเด็กหลอดแก้ว ICSI ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ และการมีลูกแฝดสูงกว่าการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ โดยโอกาสการเกิดลูกแฝดขึ้นอยู่กับจำนวนตัวอ่อนที่ใส่กลับและปัจจัยอื่นๆ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อสร้างสมดุลระหว่างโอกาสความสำเร็จและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

การเกิดลูกแฝดมี 2 ประเภท

  1. แฝดแท้
  2. แฝดเทียม

สาเหตุการตั้งครรภ์แฝดตามธรรมชาติ ซึ่งถือว่าเป็นภาวะแทรกซ้อน

  1. ครอบครัวมีประวัติการตั้งครรภ์แฝด ส่วนมากจะเกิดจากฝั่งผู้หญิง
  2. ผู้หญิงที่อายุมากขึ้น โอกาสการตั้งครรภ์แฝดจะมากขึ้น

การตั้งครรภ์แฝดโดยเทคโนโลยี

  1. IUI โดยต้องคำนึงถึงอายุของคุณผู้หญิง และจำนวนไข่ที่ตกและมีคุณภาพดี
  2. การทำเด็กหลอดแก้ว คือการใส่ 2 ตัวอ่อนครั้งเดียว ซึ่งโอกาสเกิดแฝดประมาณ 29% (ถ้าใส่ตัวอ่อน 1 ตัวมีโอกาสที่จะแบ่งตัวเป็นแฝดได้ 2%)
  3. ถ้าไม่ตรวจโครโมโซมตัวอ่อนและจะใส่ตัวอ่อน 2 ตัว ทำได้ แต่จะต้องคำนึงถึง อายุแม่ด้วย ถ้าอายุเยอะก็ไม่ควร
  4. การใส่ตัวอ่อน 2 ตัวที่ตรวจโครโมโซมแล้วไม่ได้ช่วยเพิ่มโอการการตั้งครรภ์จากเดิมมากนัก (ปกติ 60-70%)แต่ช่วยเพิ่มโอการการเกิดแฝดได้ถึง 40%

ความเสี่ยงของการตั้งครรภ์แฝด

  1. เพิ่มโอกาสแท้ง
  2. เพิ่มโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ความดันสูง เบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ และ คลอดก่อนกำหนดได้ถึง 65%

ผู้หญิงที่ไม่ควรตั้งครรภ์แฝด

  1. อายุเยอะ
  2. มีโรคประจำตัว
  3. เคยตั้งครรภ์และผ่าคลอดมาก่อน

กรณีที่หมออาจยินยอมให้ใส่ตัวอ่อนมากกว่า 1 ได้ เช่น

  1. เคยทำเด็กหลอดแก้วแล้วไม่สำเร็จโดยที่ทั้งคนไข้และตัวอ่อนปกติ
  2. ตัวอ่อนที่ละลายจากการแช่แข็งออกมาตัวแรกคุณภาพไม่ดี จึงต้องละลายอีกตัวและใส่พร้อมกัน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับลูกแฝดได้ จากบทความ
ทำความเข้าใจการตั้งครรภ์ลูกแฝดจากกระบวนการ IVF” และ
5 ข้อควรรู้ เกี่ยวการมีลูกแฝด และการตั้งครรภ์แฝด (Multiple Pregnancy)

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

ถามหมอ 💬 กับหมอจิว จิ้มหน้าทำสวย ส่งผลต่อการทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธี ICSI มั๊ยนะ

การจิ้มหน้าทำสวย อาจทำให้คุณแม่ที่กำลังวางแผนจะมีลูกน้อย มีความกังวลว่าจะส่งผลต่อการตั้งตรรภ์ หรือทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธี ICSI หรือไม่

𝐒𝐮𝐩𝐞𝐫𝐢𝐨𝐫 𝐀.𝐑.𝐓. 𝐋𝐈𝐕𝐄 : 🅔🅟.42 𝐖𝐨𝐫𝐥𝐝 𝐄𝐦𝐛𝐫𝐲𝐨𝐥𝐨𝐠𝐢𝐬𝐭 𝐃𝐚𝐲 25 กรกฎาคม วันนักเพาะเลี้ยงตัวอ่อนโลก

นักเพาะเลี้ยงตัวอ่อน คือใคร ปฏิบัติหน้าที่อะไร มีบทบาทสำคัญ เกี่ยวข้องกับการรักษาผู้มีบุตรยากในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วอย่างไร?

𝐒𝐮𝐩𝐞𝐫𝐢𝐨𝐫𝐀.𝐑.𝐓. 𝐋𝐈𝐕𝐄 : 🅔🅟 41 พาชมแล็บเลี้ยงตัวอ่อน และ แล็บตรวจเซลล์ตัวอ่อน

หลายคนอาจสงสัยว่าหลังจากกระตุ้นไข่และเก็บไข่เรียบร้อยแล้ว ไข่จะถูกเก็บไว้ที่ไหน? วันนี้ดอกเตอร์เก๋จะพาไปทัวร์ห้องแล็บทั้งหมดของคลินิค Superior A.R.T. เพื่อให้เห็นภาพการทำงานว่าคุณหมอประสานงานกับนักวิทย์อย่างไร