ข่าวสารและบทความ

5 ข้อควรรู้ เกี่ยวกับการมีลูกแฝด และการตั้งครรภ์แฝด (Multiple Pregnancy)

ไม่มีความสุขไหน เท่ากับการที่รู้ว่ากำลังจะได้เป็นแม่ และจะยินดีมากขึ้นเป็นสองเท่า หากรู้ว่ากำลังตั้งครรภ์ลูกแฝด พวกเขาแสนน่ารักเมื่ออยู่ด้วยกันและเหมือนกันจนบางครั้งคุณก็แทบแยกไม่ออก ทว่าลูกแฝด (multiple pregnancy) คืออะไร? ครรภ์แฝดมีกี่ประเภท? ปัจจัยอะไรบ้างที่เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ลูกแฝด? ในบทความนี้ เราจะมีคำตอบ กับ 5 ข้อที่คุณควรรู้เกี่ยวกับการมีลูกแฝด มาเริ่มกันเลย

1. การตั้งครรภ์แฝด (multiple pregnancy) คืออะไร?

การตั้งครรภ์แฝด (multiple pregnancy) หมายถึง การตั้งครรภ์ที่มีทารกในครรภ์มากกว่า 1 คนขึ้นไป โดยหากมีสองคน เรียกว่า “แฝดสอง” (twins), สามคน เรียกว่า “แฝดสาม” (triplets”), และสี่คน เรียกว่า “แฝดสี่” (quadruplets) “การตั้งครรภ์ทารกตั้งแต่สองคนขึ้นไป” เรียกในภาษาอังกฤษว่า “high-order multiples”

2. การตั้งครรภ์ลูกแฝดมีกี่ประเภท?

การตั้งครรภ์ลูกแฝด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

2.1 ฝาแฝดเทียม (Fraternal Twins)

ฝาแฝดเทียม” เกิดจากที่ฝ่ายหญิงมีไข่ตก 2 ใบ ในรอบเดือนนั้นๆ โดยไข่แต่ละใบปฏิสนธิกับอสุจิคนละตัว และพัฒนาจนเป็นตัวอ่อน (embryos) หรือทารก 2 คนที่เติบโตอยู่ภายในมดลูกของฝ่ายหญิงในช่วงเวลาเดียวกัน

เนื่องจากฝาแฝดประเภทนี้ เกิดจากไข่คนละใบที่ปฏิสนธิกับอสุจิคนละตัว ฝาแฝดจึงมีรูปร่างหน้าตาและเพศที่แตกต่างกันได้ เรียกอีกชื่อว่า “แฝดเทียม” (non-identical twins) หรือ Dizygotic twins ซึ่งหมายถึง “สองเซลล์” หรือ “ที่มาจากไข่คนละใบ”

2.2 ฝาแฝดแท้ (Identical Twins)

ฝาแฝดแท้” หรือ Monozygotic Twins (เซลล์เดียวกัน) เกิดจากไข่ 1 ใบที่ปฏิสนธิแล้วแบ่งตัวออกเป็นตัวอ่อน 2 ตัวในระหว่างแบ่งเซลล์ จนพัฒนากลายเป็นทารกในครรภ์ 2 คน ที่หน่วยพันธุกรรมเหมือนกันทุกประการ เป็นเพศเดียวกันและมีหน้าตาเหมือนกัน

3. ปัจจัยใดบ้างที่เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ลูกแฝด?

ผู้หญิงบางคนมีแนวโน้มที่จะให้กำเนิดลูกแฝดมากกว่าคนอื่น จากข้อมูลของ American Society for Reproductive Medicine หรือ ASRM ระบุว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์แฝด ได้แก่ เชื้อชาติ, อายุ, การถ่ายทอดทางพันธุกรรม, ประวัติการตั้งครรภ์แฝดก่อนหน้านี้, ตลอดจนการใช้รักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูล ASRM  เชื้อชาติ, อายุ, พันธุกรรม, หรือประวัติการตั้งครรภ์ก่อนหน้า จะเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์แฝดประเภทฝาแฝดเทียม (Fraternal Twins) เท่านั้น ในขณะที่การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์จะเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์แฝดทั้งประเภทฝาแฝดแท้ (Identical Twins) และฝาแฝดเทียม

  • เชื้อชาติ: จากงานวิจัยพบว่า ผู้หญิงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South-East Asia) และผู้หญิงเชื้อชาติฮิสแปนิก (Hispanic) มีโอกาสมีลูกแฝดน้อยกว่าผู้หญิงแอฟริกันและผู้หญิงผิวขาวที่ไม่ใช่เชื้อชาติฮิสแปนิก
  • กรรมพันธุ์: ประวัติครอบครัวของทั้งฝั่งพ่อและแม่มีส่วนสำคัญในการเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์แฝด อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของ ASRM พบว่า “ประวัติครอบครัวจากฝั่งมารดา มีบทบาทมากกว่าฝั่งบิดาอย่างมีนัยสำคัญในการตั้งครรภ์แฝด” นอกจากนี้ และจะมีโอกาสตั้งครรภ์แฝดเพิ่มขึ้น หากฝ่ายหญิง มีพี่สาว น้องสาว มารดา หรือยาย ที่ให้กำเนิดแฝดเทียม หรือตัวเธอเองเป็นหนึ่งในฝาแฝดเทียม”
  • อายุของฝ่ายหญิง: การตั้งครรภ์ลูกแฝดมีอัตราเพิ่มขึ้นตามอายุ จากการศึกษา พบว่า 16% ของหญิงตั้งครรภ์ที่อายุมากกว่า 45 ปี ตั้งครรภ์ลูกแฝด โดยเป็นแฝดสอง (twins) มากที่สุด นอกจากนี้ หญิงในช่วงวัย 30 ถึง 40 ปีมีแนวโน้มที่จะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงกว่าวัยอื่น และอาจมีจำนวนไข่ตกได้มากกว่าหนึ่งฟองในแต่ละรอบเดือน
  • ประวัติการตั้งครรภ์ก่อนหน้า: หากฝ่ายหญิงเคยตั้งครรภ์มาก่อน โดยเฉพาะการตั้งครรภ์แฝด ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะตั้งครรภ์แฝดได้มากยิ่งขึ้น
  • การใช้ยาเพื่อการเจริญพันธุ์: การใช้ยาเพื่อรักษาภาวะมีบุตรยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งยากระตุ้นการตกไข่อาจกระตุ้นให้มีไข่ตกในแต่ละรอบเดือนมากกว่า 1 ใบ เป็นอีกปัจจัยที่เพิ่มโอกาสในการมีลูกแฝด
  • เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์: เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproductive Technology, ART) เช่น In Vitro Fertilization หรือ IVF มีส่วนเพิ่มอัตราการเกิดลูกแฝดเช่นกัน จากการย้ายตัวอ่อนกลับเข้าไปในมดลูกของฝ่ายหญิงมากกว่า 1 ตัวอ่อน

4. การตั้งครรภ์แฝดมีความเสี่ยงใดบ้างที่ต้องกังวล?

แม้ว่าการตั้งครรภ์ลูกแฝดจะเป็นสิ่งที่วิเศษและน่าตื่นเต้น แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่าครรภ์เดี่ยว ปัญหาที่มักพบบ่อย ได้แก่

4.1 การคลอดก่อนกำหนด: การตั้งครรภ์แฝด มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด (คลอดก่อน 37 สัปดาห์) ได้มากถึง 60% ยิ่งจำนวนทารกในครรภ์มีมากเท่าใด ความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ทารกที่คลอดก่อนกำหนด มีปัญหาระบบการหายใจ การย่อยอาหาร เสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย และต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษในหน่วยอภิบาลทารกแรกเกิด (NICU) จนกว่าพวกเขาจะแข็งแรงพอที่จะอยู่ได้ด้วยตัวเอง

4.2 ภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์: หรือภาวะครรภ์เป็นพิษ (Pregnancy-Induced Hypertension : PIH) เป็นภาวะที่มารดามีความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงต่อทั้งมารดาและทารกหากไม่ได้รับการรักษาโดยเร็ว

4.3 ภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์: หรือภาวะครรภ์เป็นพิษ (Pregnancy-Induced Hypertension : PIH) เป็นภาวะที่มารดามีความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงต่อทั้งมารดาและทารกหากไม่ได้รับการรักษาโดยเร็ว

4.4 ภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์: หรือภาวะครรภ์เป็นพิษ (Pregnancy-Induced Hypertension : PIH) เป็นภาวะที่มารดามีความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงต่อทั้งมารดาและทารกหากไม่ได้รับการรักษาโดยเร็ว

4.5 ภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์: หรือภาวะครรภ์เป็นพิษ (Pregnancy-Induced Hypertension : PIH) เป็นภาวะที่มารดามีความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงต่อทั้งมารดาและทารกหากไม่ได้รับการรักษาโดยเร็ว

4.6 ภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์: หรือภาวะครรภ์เป็นพิษ (Pregnancy-Induced Hypertension : PIH) เป็นภาวะที่มารดามีความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงต่อทั้งมารดาและทารกหากไม่ได้รับการรักษาโดยเร็ว

5. ทำอย่างไรได้บ้างหากอยากมีลูกแฝด?

ดังที่กล่าวข้างต้น การตั้งครรภ์ลูกแฝดนั้นค่อนข้างซับซ้อน ไม่มีกฎตายตัว และไม่มีสูตรสำเร็จที่แน่นอนขึ้นกับสภาพร่างกายและประวัติครอบครัวของแต่ละคน  อย่างไรก็ดี สิ่งแรกที่คุณควรทำ คือการปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์เพื่อประเมินความพร้อมของร่างกาย ความเสี่ยงต่างๆและโอกาสที่คุณจะมีลูกแฝด นอกจากนี้ การเลือกคลินิกรักษาผู้มีบุตรยากที่มีมาตรฐานและมีประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคุณได้รับการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ เช่น ICSI, IUI และ IVF เพื่อเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการตั้งครรภ์แฝด

References

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

การตรวจคัดกรองโครโมโซม PGT-A คืออะไร ?

PGT-A คือ การตรวจคัดกรองโครโมโซมของตัวอ่อนก่อนการฝังตัว ด้วยเทคนิค NGS จะช่วยตรวจคัดกรองโรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม เช่น ดาวน์ซินโดรม

อัตราการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติของสาวๆ แต่ละช่วงอายุ ใน 1 ปี

ผู้หญิงมีช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการตั้งครรภ์ อายุประมาณ 20-30 ปี แต 10 ปีหลัง จำนวนและคุณภาพไข่เริ่มลดลง โอกาสในการตั้งครรภ์ก็ลดลงด้วย

ติดตามช่องทางอื่นๆ ของเรา ผ่าน LINE OA คอนเทนต์ที่คุณจะไม่พลาด โปรโมชั่นลับเฉพาะสำหรับเพื่อนไลน์

รู้ดีลลับโปรเด็ด สำหรับเพื่อนไลน์ ใครที่ไม่อยากพลาดดีลพิเศษ คอนเทนต์ดีๆ และข่าวสารล่าสุดจากเราก่อนใคร อย่าลืมเพิ่มเพื่อน Superior A.R.T. ผ่านช่องทาง LINE OA : @superiorart