ข่าวสารและบทความ

วิธีการเลือกเพศลูกมีกี่ประเภท? ทำความรู้จักวิธีการเลือกเพศลูกที่ได้รับความนิยมทั่วโลก

วิธีการเลือกเพศลูกมีกี่ประเภท? ทำความรู้จักวิธีการเลือกเพศลูกที่ได้รับความนิยมทั่วโลก

ในปัจจุบัน การเลือกเพศลูก (sex selection) นั้นถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก ด้วยเหตุผลหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เหตุผลทางการแพทย์ เพื่อเลี่ยงและป้องกันการส่งต่อโรคทางพันธุกรรมที่มีสาเหตุมาจากโครโมโซมเพศ (sex-linked diseases) หรือเหตุผลอื่นๆ เช่น ต้องการที่รักษาสมดุลจำนวนบุตรชาย-หญิงในครอบครัว หรือต้องการมีบุตรคนใหม่ที่เป็นเพศเดียวกับที่บุตรที่สูญเสียไป ตลอดจนค่านิยมทางวัฒนธรรมอื่นๆ การเลือกเพศลูก (sex selection) มีวิธีใดบ้าง มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และน่าเชื่อถือ อย่างไร ? ในบทความนี้ ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. ได้รวบรวมและสรุปข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเลือกเพศลูก จะมีวิธีใดบ้าง มาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันในบทความนี้กันเลยค่ะ

  1. การเลือกเพศลูกด้วยวิธีธรรมชาติ (Natural Methods)
  2. การเลือกเพศลูกด้วยวิธีการคัดเลือกสเปิร์ม (Sperm Sorting Methods)
  3. การเลือกเพศลูกด้วยวิธีการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมก่อนการฝังตัว (Preimplantation Genetic Testing)

1. การเลือกเพศลูกด้วยวิธีธรรมชาติ (Natural Sex Selection Methods)

สำหรับวิธีแรก การเลือกเพศลูกด้วยวิธีทางธรรมชาตินั้น มีหลากหลายวิธีที่ได้รับความนิยม เช่น วิธี Shettles, วิธี Whelan, วิธีการสังเกตมูกปากมดลูก, วิธีการปรับโภชนาการก่อนการตั้งครรภ์, และตลอดจนอุปกรณ์ในการช่วยเลือกเพศลูกต่างๆ อย่างเช่น GenSelect และ Smart Stork

วิธีการดังกล่าว ใช้หลักการของช่วงเวลาที่มีเพศสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับอสุจิ X หรือ Y, การปรับภาวะกรดด่างในช่องคลอด, การปรับโภชนาการ, ตลอดจนการรับประทานอาหารเสริมต่างๆ

  • วิธีการกำหนดเวลา เป็นการกำหนดเวลาในการมีเพศสัมพันธ์ที่สัมพันธ์กับช่วงเวลาการตกไข่ วิธีนี้ฝ่ายหญิงจะต้องคอยติดตามรอบการตกไข่ของตัวเอง ได้รับคำแนะนำให้มีเพศสัมพันธ์ในท่าที่อาจมีผลต่อเพศลูกอีกด้วย อย่างไรก็ดี จากผลการศึกษาและวิจัยในปัจจุบัน พบว่า ผลลัพธ์ของวิธีดังกล่าว ยังไม่ชัดเจน และมีแนวโน้มที่จะไม่เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้ลูกตามเพศที่ต้องการ  
  • วิธีการปรับโภชนาการ วิธีนี้ คุณแม่และอาจรวมถึงคุณพ่อ จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค และปรับโภชนาการในช่วงก่อนการตั้งครรภ์ โดยเลือกรับประทานอาหารที่จะส่งผลต่อการมีบุตรเพศใดเพศหนึ่งเป็นพิเศษ วิธีนี้มักจะใช้ร่วมกับการกำหนดเวลาในการมีเพศสัมพันธ์ มีหลายงานวิจัยสรุปว่าการปรับเปลี่ยนโภชนาการของแม่ร่วมกับการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาที่เหมาะสมสามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการมีบุตรเพศหญิงได้ แต่ก็มีหลายงานวิจัยที่สรุปผลว่าไม่ช่วย นอกจากนั้นก็ยังไม่มีข้อแนะนำอย่างเป็นทางการ ว่าอาหารและอาหารเสริมชนิดใดบ้างที่สามารถช่วยได้ชัดเจน
  • วิธีการทานอาหารเสริมบางชนิด เช่น GenSelect ใช้หลักโภชนเภสัช (nutriceuticals) ที่ออกแบบสูตรอาหารเสริมขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสให้ได้ลูกตามเพศที่ต้องการ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ยังต้องทำร่วมกับแนวทางปฏิบัติในการรับประทานอาหาร, การเลือกจังหวะเวลาในการมีเพศสัมพันธ์ ตลอดจนการปรับสภาวะในช่องคลอด

2. การเลือกเพศลูกด้วยวิธีการคัดเลือกเพศอสุจิ (Sperm Sorting Methods)

การคัดเลือกอสุจินั้น มีวิธีการต่างๆ ดังนี้ วิธี Gradient (วิธีของ Erickson) , วิธี MicroSort, และวิธีอื่นๆ

  • การคัดเลือกเพศอสุจิด้วยวิธี Gradient  วิธีนี้ ใช้หลักการ ที่อสุจิเพศหญิง (X) และเพศชาย (Y) มีมวลที่แตกต่างกัน เมื่อนำมาเตรียมด้วยน้ำยาเตรียมอสุจิที่มีความเข้มข้นต่างกัน อสุจิเพศหญิงและชาย จะถูกแยกออกจากกัน

    โดยวิธีของ Ericsson มีผลการศึกษาพบว่าความแม่นยำในการเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์บุตรเพศหญิงประมาณ 70 ถึง 80% และ 50% ถึง 75% ในกรณีของบุตรเพศชาย
  • การคัดเลือกเพศอสุจิด้วยวิธีอื่นๆ ยังมีเทคนิคการคัดแยกอสุจิอีกหลายวิธี เช่น เทคนิค Swim-Up ซึ่งจะใช้วิธีคัดแยกอสุจิ X ออกจากอสุจิ Y จากความเร็วในการเคลื่อนตัวที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดี วิธีการเหล่านี้ยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนในเชิงวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน
  • การคัดเลือกเพศอสุจิด้วยวิธี MicroSort เป็นเทคนิคในการคัดแยกอสุจิ ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า Flow Cytometry ในกระบวนการนี้อสุจิจะถูกคัดแยกด้วยการย้อมสีเรืองแสง เนื่องจากอสุจิเพศหญิง (X) มีขนาดใหญ่กว่า (มีปริมาณ DNA มากกว่า) จึงสามารถดูดซับสีย้อมได้มากกว่าอสุจิเพศชาย (Y) นอกจากนี้ อสุจิ X เรืองแสงได้มากกว่า อสุจิ Y จึง ช่วยในการคัดแยกออกจากกันได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดีกระบวนการนี้ยังไม่สามารถคัดแยกตัวอสุจิหญิงและชาย ได้อย่างสมบูรณ์ 100% ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการทดลองใช้เทคโนโลยีนี้แล้ว และรายงานว่ามีอัตราความสำเร็จสูงถึง 90% แต่ในภายหลัง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USFDA) ได้สั่งห้ามไม่ให้มีการนำมาใช้กับมนุษย์ และห้องปฏิบัติการจึงถูกย้ายไปประเทศอื่น

แม้ว่าวิธีการเลือกเพศลูกตามธรรมชาตินั้น จะมีค่าใช้จ่ายน้อย และอาจเคยสร้างปาฏิหาริย์ให้กับคู่รักหลายครอบครัว  แต่ก็มีผลไม่แน่นอน และไม่สามารถบอกอัตราความสำเร็จเป็นตัวเลขที่ชัดเจนได้

3. การเลือกเพศลูกด้วยวิธีการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมก่อนการฝังตัว (Preimplantation Genetic Testing, PGT) ร่วมด้วยวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF/ICSI)

วิธีการเลือกเพศลูกที่มีประสิทธิภาพ น่าเชื่อถือ และปลอดภัยมากที่สุดในบรรดาเทคนิคทั้งหมด คำตอบคือ ‘PGT (Preimplantation Genetic Testing)’ หรือ ‘การตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมก่อนการฝังตัว’ โดยทำควบคู่ไปกับการทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF/ICSI นั่นเอง

วิธีการตรวจ PGT คือ เทคนิคในการตรวจโรคพันธุกรรม หรือโครโมโซมของตัวอ่อน ในครอบครัวที่มีประวัติโรคพันธุกรรม ในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF/ICSI เมื่อไข่ปฏิสนธิกับอสุจิและได้รับการเพาะเลี้ยงจนเติบโตเป็นตัวอ่อนในระยะ ‘บลาสโตซิสต์’ แล้ว นักวิทยาศาสตร์จะตรวจคัดกรองโครโมโซม (PGT) โดยการนำเอาเซลล์บางส่วนจากตัวอ่อนไปตรวจด้วยวิธี Next Generation Sequencing (NGS)

เทคนิคการตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนก่อนการฝังตัว (PGT) จะช่วยให้สามารถตรวจวิเคราะห์ตัวอ่อนในระดับโครโมโซมได้อย่างแม่นยำ ซึ่งรวมไปถึงโครโมโซมเพศ ทำให้สามารถระบุเพศของตัวอ่อนได้ เป็นเทคนิคที่มีความน่าเชื่อถือและมีความแม่นยำสูง ช่วยคัดเลือกตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติและปราศจากโรคทางพันธุกรรม เพื่อนำไปฝังตัวในโพรงมดลูกต่อไป ด้วยเทคนิคนี้ จึงเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้สูงขึ้น ลดความเสี่ยงในการเกิดการแท้ง และภาวะบกพร่องต่างๆ ของทารกในครรภ์ที่เกิดจากโครโมโซมผิดปกติ อย่างไรก็ตาม เทคนิคการทำ PGT ร่วมกับกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว IVF/ICSI จะมีค่าใช้จ่ายและขั้นตอนที่มากกว่า จึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุด ในแต่ละครอบครัว

สรุป

วิธีการเลือกเพศลูก (sex selection) ตามธรรมชาตินั้นเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดและประหยัดที่สุด แต่อาจเหมาะสำหรับคู่ที่เพียงแค่เพิ่มโอกาส ได้ลูกสาวหรือลูกชายตามที่หวังไว้ แต่หากคุณมีเหตุผลและความจำเป็นในการเลือกเพศของบุตร (เช่น เพื่อป้องกันการส่งต่อโรคทางพันธุกรรมที่เชื่อมโยงกับเพศ) วิธีที่มีอัตราความสำเร็จไม่แน่นอนและคาดเดาไม่ได้อย่างวิธีธรรมชาติจึงไม่เหมาะสมกับคุณ และควรใช้วิธีที่แม่นยำมากที่สุด คือการตรวจคัดกรองโครโมโซมก่อนการฝังตัว PGT ร่วมกับการทำเด็กหลอดแก้ว IVF/ ICSI

นอกจากนี้ หากคุณได้พยายามมีบุตรด้วยวิธีธรรมชาติมานานมากกว่า 1 ปีแล้ว แต่ยังไม่สำเร็จ เป็นสัญญาณที่สำคัญว่าอาจจะมีปัญหาเรื่องมีบุตรยาก และควรมองหาวิธีการอื่น เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว IVF/ICSI ซึ่งเป็นหนึ่งในการรักษาภาวะมีบุตรยากที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดในปัจจุบัน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมว่าการทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF/ICSI คืออะไร? มีขั้นตอนใดบ้างนั้น สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่


ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก และวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อน ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2550 ให้บริการช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproduction Technology – A.R.T.)  ครอบคลุมการรักษาภาวะมีบุตรยาก อาทิ เด็กหลอดแก้วIVFICSI, IUI, Egg Freezing, ฝากไข่เก็บไข่แช่แข็งไข่ และมีประสบการณ์ในการตรวจคัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อน, PGT, ตรวจโครโมโซมตัวอ่อน, NGS, และบริการอื่นๆเกี่ยวกับการเจริญพันธุ์ พร้อมข้อมูลเกี่ยวกับ ลูกแฝด และการเลือกเพศลูก ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. เพียบพร้อมด้วยแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ พยาบาล ที่ปรึกษาและบุคลากรที่ชำนาญการ พร้อมดูแลใส่ใจรายละเอียดในทุกขั้นตอน รวมถึงให้ปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

ไลฟ์สไตล์ที่ปรับเปลี่ยน ส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ในสังคมสมัยใหม่

รู้หรือไม่ว่า การมีบุตรยากกำลังเป็นภัยเงียบในสังคมยุคใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจเกิดจากพฤติกรรม และค่านิยมที่เปลี่ยนไปของผู้คนในยุคปัจจุบัน

ถามหมอ 💬 กับหมอจิว : ปล่อยธรรมชาตินานแค่ไหน ถึงเข้าข่ายมีลูกยาก

เพราะระยะเวลาในการตั้งครรภ์ของคู่สมรสที่ปล่อยธรรมชาติ จะมีความแตกต่างกันไป หลายคนเกิดคำถามว่า ต้องพยายามมีลูกตามธรรมชาติมานานแค่ไหน ถึงจะถือว่าเข้าข่ายมีบุตรยาก?

ถามหมอ 💬 กับหมอนิ : เคยแท้งมาก่อน โอกาสมีลูกจะลดลงหรือไม่ ?

คุณหมอนิ พญ.นิศารัตน์ จะมาตอบข้อสงสัยให้ทุกท่านได้ทราบกัน สำหรับคุณแม่ที่เคยสูญเสียลูกน้อยจากการแท้งลูก อาจมีความกังวลใจว่าโอกาสในการมีลูกอีกครั้งจะยากขึ้นหรือไม่