ข่าวสารและบทความ

ฮอร์โมน AMH คืออะไร สำคัญอย่างไรกับการตั้งครรภ์ 

ฮอร์โมน AMH คืออะไร สำคัญอย่างไรกับการตั้งครรภ์

AMH (Anti-Müllerian Hormone) เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากรังไข่ของผู้หญิง บ่งบอกจำนวนไข่และความสามารถในการทำงานของรังไข่ รวมไปถึงเป็นตัวชี้วัดโอกาสการตั้งครรภ์ได้ ฮอร์โมน AMH จะมีค่าสูงในผู้หญิงที่อายุยังน้อย และลดลงเรื่อยๆ จนหมดไปเมื่อมีอายุมากขึ้นหรือเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน 

สำหรับการทำเด็กหลอดแก้ว IVF หรือ ICSI นั้น AMH ช่วยบอกว่ารังไข่จะตอบสนองต่อการกระตุ้นไข่ดีขนาดไหน ต้องใช้ยามากน้อยแค่ไหน เพื่อให้ได้จำนวนไข่ที่เหมาะสม

ค่าปกติของฮอร์โมน AMH

✅ มากกว่า 4 ng/ml : เป็นภาวะฮอร์โมนสูง มักพบร่วมกับภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพไข่ได้

✅ 1.1 – 4 ng/ml เป็นค่าฮอร์โมนในช่วงปกติ

✅ 0.5 – 1.1 ng/ml ฮอร์โมนที่ค่อนข้างต่ำ หมายถึงมีจำนวนไข่อยู่ค่อนข้างน้อย เสี่ยงต่อภาวะมีบุตรยาก

✅ น้อยกว่า 0.5 ng/ml ถือว่าเป็นภาวะฮอร์โมนต่ำ บ่งบอกถึงจำนวนไข่เหลืออยู่จำนวนน้อยมาก  มีภาวะมีบุตรยากสูง หากต้องการมีบุตรควรต้องรีบปรึกษาแพทย์

แต่ต้องบอกก่อนว่าค่าฮอร์โมน AMH ก็จะผันแปรไปตามช่วงอายุในแต่ละคนด้วยนะคะ ดังนั้นหากใครที่กำลังวางแผนมีลูกแล้วมีค่าฮอร์โมน AMH ที่ผิดปกติ หรือมีอายุมากกว่า 35 ขึ้นไป ก็ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการวางแผนการมีบุตรที่เหมาะสม ปลอดภัย และมีคุณภาพค่ะ

ใครอยากรู้จักฮอร์โมน AMH ให้มากขึ้นในทุกแง่มุม

สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ  📺 𝐒𝐮𝐩𝐞𝐫𝐢𝐨𝐫 𝐀.𝐑.𝐓. 𝐋𝐈𝐕𝐄 : 🅔🅟.49 ❝ AMH ต่ำ ทำอย่างไรดี ❞

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

🔬นักวิทย์ 💬 อยากเล่า : แช่แข็งไข่เก็บไว้ 10 ปี ทำได้หรือไม่

คุณดวงสมร จากแลปเลี้ยงตัวอ่อนจะมาไขทุกข้อสงสัย ให้สาวๆ ที่มีความกังวลเรื่องระยะเวลาในการเก็บรักษาไข่ที่แช่แข็ง ว่าจะสามารถเก็บไว้ได้นานแค่ไหน

ถามหมอ 💬 กับหมอโฟม : ผนังมดลูกควรจะหนาเท่าไหร่ ถึงจะพร้อมใส่ตัวอ่อน

เยื่อบุโพรงมดลูก มีหน้าที่ในการรับการฝังตัวของตัวอ่อน เยื่อบุโพรงมดลูกของแต่ละคน ในแต่ละรอบเดือนจะหนาไม่เท่ากัน แล้วต้องหนาเท่าไหร่จึงจะเหมาะกับการใส่ตัวอ่อน

5 สิ่งที่ต้องรู้ หากอยากมีลูกหลังอายุ 35 ปี

มาเรียนรู้ข้อมูลสำคัญเพื่อเตรียมความพร้อม หากวางแผนมีลูกหลังอายุ 35 ปี เพราะปัจจุบันผู้หญิงเลือกที่จะสร้างความมั่นคงในชีวิต ก่อนที่จะตัดสินใจมีลูก