ข่าวสารและบทความ

การเป็นเบาหวานจะส่งผลทำให้มีลูกยากหรือเปล่า?

การเป็นเบาหวานจะส่งผลทำให้มีลูกยากหรือเปล่า

หลายคนคงมีความสงสัย ว่าการเป็นเบาหวานจะส่งผลทำให้มีลูกยากหรือเปล่า?

สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หากไม่ได้ดูแลควบคุมภาวะเบาหวาน อาจส่งผลทำให้มีลูกยากทั้งในฝ่ายชายและฝ่ายหญิง โดยผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานจะตั้งครรภ์ได้ยากเนื่องจากภาวะฮอร์โมนผิดปกติ ประจำเดือนไม่มาหรือมาไม่สม่ำเสมอ ไข่ไม่มีคุณภาพ แม้ว่าผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานบางคนจะไม่ได้มีปัญหาในการตั้งครรภ์ แต่การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงในระหว่างตั้งครรภ์จะมีผลเสียต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ และมีความเสี่ยงสูงในการแท้งบุตร รวมถึงทารกบางรายอาจต้องได้รับการดูแลต่อในหน่วยอภิบาลผู้ป่วยวิกฤติทารกแรกเกิดอีกด้วย

สำหรับผลกระทบของโรคเบาหวานต่อภาวะการเจริญพันธุ์ในเพศชายนั้น อาจทำให้เกิดปัญหาการไม่แข็งตัวของอวัยวะเพศ การหลั่งย้อนทางไปยังกระเพาะปัสสาวะทำให้ไม่มีน้ำอสุจิหลั่งในช่องคลอด ฮอร์โมนเพศชายลดลง และความต้องการทางเพศลดลง นอกจากนี้ยังอาจทำให้ปริมาณและคุณภาพของตัวอสุจิลดลง ซึ่งจะเห็นได้จากอสุจิที่ผิดรูปร่าง หรือมีความผิดปกติ

หากมีภาวะเบาหวานแต่อยากมีลูกต้องทำอย่างไร?

1. พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย : การวางแผนตรวจร่างกายก่อนมีลูกเป็นเรื่องที่สำคัญ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถช่วยออกแบบการรักษาและให้คำแนะนำที่เหมาะกับแต่ละคู่ เพื่อให้การตั้งครรภ์เป็นไปอย่างปลอดภัยทั้งตัวคุณแม่เองและลูกน้อยในครรภ์

2. วางแผนการรับประทานอาหาร : ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้น ผัก ผลไม้ หรือธัญพืช ควบคุมน้ำตาลเพื่อลดโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน และควรทานวิตามินที่จำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์ให้เพียงพอ โดยเฉพาะกรดโฟลิก ซึ่งจำเป็นในการป้องกันความผิดปกติของระบบประสาทของทารกในครรภ์ ซึ่งสามารถปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้โดยตรง

3. ออกกำลังกาย : การออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 4-5 วัน จะช่วยให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ ร่างกายแข็งแรง ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้

กล่าวโดยสรุปคือคนที่เป็นเบาหวานสามารถมีลูกได้แต่ต้องมีการวางแผนและการติดตามอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ส่วนท่านไหนที่เป็นโรคเบาหวานและพยายามมีลูกมาแล้วมากกว่า 1 ปี ควรเข้ารับการหาแนวทางการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากต่อไป เพื่อให้การตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพปลอดภัยทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

ของขวัญชิ้นแรกที่ล้ำค่าสำหรับลูกน้อย คัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อน หลีกเลี่ยงโรคธาลัสซีเมีย

ของขวัญชิ้นแรกสำหรับลูกน้อย คัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อน หลีกเลี่ยงโรคธาลัสซีเมีย มีความแม่นยำและน่าเชื่อถือกว่า 95% ให้ลูกน้อยของคุณมีสุขภาพดี

ถามหมอ 💬 กับหมอนิ : ธาลัสซีเมียเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่

ธาลัสซีเมียเป็นโรคโลหิตจางที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งสามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกได้โดยตรง จึงเป็นเรื่องที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังวางแผนจะมีบุตรเกิดความกังวลไม่น้อย และมีคำถามตามมาว่า “ธาลัสซีเมียสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่?”

AMH (Anti-Müllerian Hormone) ควรอยู่ที่เท่าไหร่นะ?

AMH (Anti-Müllerian Hormone) คือ ฮอร์โมนที่ถูกผลิตขึ้นโดยเซลล์ของไข่ในรังไข่ เป็นตัวช่วยประเมินการทำงานของรังไข่ และปริมาณไข่ที่เหลืออยู่