ข่าวสารและบทความ

𝐒𝐮𝐩𝐞𝐫𝐢𝐨𝐫𝐀.𝐑.𝐓. 𝐋𝐈𝐕𝐄 : 🅔🅟 41 พาชมแล็บเลี้ยงตัวอ่อน และ แล็บตรวจเซลล์ตัวอ่อน


หลายคนอาจสงสัยว่าหลังจากกระตุ้นไข่และเก็บไข่เรียบร้อยแล้ว ไข่จะถูกเก็บไว้ที่ไหน? วันนี้ดอกเตอร์เก๋จะพาไปทัวร์ห้องแล็บทั้งหมดของคลินิค Superior A.R.T. เพื่อให้เห็นภาพการทำงานว่าคุณหมอประสานงานกับนักวิทย์อย่างไร ในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว


เริ่มจากก่อนเข้าห้องแล็บ จะมีโซนเปลี่ยนเสื้อผ้า ซึ่งเป็นจุดที่นักวิทย์ทั้ง embryologists และ geneticists เข้าได้เท่านั้น 

ห้องแล็บจะแบ่งออกเป็น 3 ห้องหลักๆ ซึ่งทุกห้องมาตรฐานระดับสากล ISO 15189, ISO 15190 และ ISO 9001 ในการรองรับคุณภาพและความสามารถ รวมถึงความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่ออกโดยกระทรวงสาธารณสุข 

1. ห้องแล็บสเปิร์ม หรือ Andrology ใช้ในการเตรียมสเปิร์มทั้งหมด  


2. ห้องเลี้ยงตัวอ่อน หรือ Embryology ซึ่งค่อนข้างเข้มงวดเรื่องความสะอาด จึงต้องมีประตู 2 ชั้น เมื่อทุกคนเข้ามาหมดแล้วก็จะปิดประตูบานแรกก่อน หลังจากนั้นถึงจะสามารถเข้าไปในห้องได้ 

ภายในห้องนี้จะเป็นพื้นที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงตัวอ่อนทั้งหมด โดยมีการแบ่งโซนอย่างชัดเจน และมีการจัดการพื้นที่ให้เป็นทางเดินแบบ One-way เพื่อให้คนเดินสวนกันน้อยที่สุด เพื่อลดอันตรายและอุบัติเหตุจากการทำงาน 

ซึ่งในห้องนี้จะมีหน้าต่างหลายช่อง เช่น หน้าต่างที่เชื่อมกับห้องผ่าตัด เพื่อเพิ่มความสะดวกเวลาเก็บไข่ โดยจะมีตู้ควบคุมอุณหภูมิและแก๊ส ให้มีสภาวะที่เหมาะสม และบริเวณตรงกลางห้องจะเป็นตู้เลี้ยงตัวอ่อน 2 แบบ คือ ตู้เลี้ยงตัวอ่อน Geri® ซึ่งเป็นตู้ที่มีกล้องอยู่ในตัว สามารถดูตัวอ่อนได้จากหน้าจอโดยไม่ต้องนำออกมา และตู้แบบดั้งเดิม ที่ต้องนำตัวอ่อนออกมาเพื่อดูพัฒนาการของตัวอ่อนด้วยกล้องจุลทรรศน์ 

ภายในห้องนี้ยังมีเครื่องมือสำหรับทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธี ICSI โดยการคัดสเปิร์ม 1 ตัว ยิงเข้าไปในไข่ 1 ใบ และการทำ Biopsy หรือการดึงเซลล์เพื่อนำไปตรวจโครโมโซมตัวอ่อนที่ห้อง Genetics ต่อไป นอกจากนี้ก็มีตู้เตรียมน้ำยา สเตชั่นสำหรับการแช่แข็งตัวอ่อนและการละลายตัวอ่อน และมีห้องแยกเพื่อใช้เก็บตัวอ่อน ไข่ หรือสเปิร์มที่ถูกแช่แข็งอยู่ในถัง 

ที่สำคัญในห้องนี้ยังมีเครื่องฟอกอากาศ 5-6 เครื่อง เพื่อควบคุมอากาศให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม รวมถึงมี HEPA ฟิลเตอร์ช่วยฟอกอากาศจากฝุ่นและกลิ่น และมีการรักษาความดันในห้องนี้ให้เป็น Positive Pressure เพื่อไม่ให้ฝุ่นที่อยู่ด้านนอกเข้ามาในห้อง 


3. ห้อง Genetics ใช้ในการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน ซึ่งตั้งอยู่ติดกับห้องเลี้ยงตัวอ่อน เพื่อลดความเสี่ยงและอุบัติเหตุในการขนย้ายตัวอย่าง ซึ่งภายในห้อง Genetics จะมีห้อง Transfer Room หรือห้องที่นำเซลล์ตัวอย่างของ Embryo ที่ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ มาย้ายลงหลอดทดลอง เพื่อนำไปตรวจ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยทุกๆ จานที่ใส่เซลล์จะมีบาร์โค้ดที่สามารถบอกได้ว่าอยู่ในขั้นตอนไหน ช่วยลดการเกิดความผิดพลาดในการหยิบจานเพาะเลี้ยงผิด หรือแทบจะไม่เกิดขึ้นเลย ในกรณีที่ยิงบาร์โค้ดผิด จะมีเสียงแจ้งเตือนพร้อมไฟสีแดง ทำให้ไม่สามารถทำขั้นตอนใดๆ ต่อไปได้อีกจนกว่าจะมีการแก้ไขให้ถูกต้อง  

อีกทั้งในห้องนี้ยังมีการบันทึกวิดีโอ และมีนักวิทย์ Genetics อีก 1 ท่าน คอยช่วยสังเกตการณ์ในการทำงาน 

หลังจากที่ย้ายตัวอย่างจากจานมาใส่ในหลอดทดลองเรียบร้อยแล้ว ก็จะไปที่ห้อง PCR Cleaning Room ซึ่งเป็นห้องที่ใช้ในการเตรียมน้ำยาเพื่อใช้ Amplify ให้ตัวอย่างขยายตัวเป็นล้านๆ เซลล์ มีการเตรียม ปฏิกิริยาและเตรียมน้ำยาผสมเข้าด้วยกันกับเซลล์ตัวอ่อน โดยที่ยังไม่เกิดปฏิกริยาใดๆ ทั้งสิ้น  

ซึ่งในห้องนี้จะมีหลายสเตชั่น เช่น สเตชั่นกล่อง UV เพื่อป้องกันการปนเปื้อน ทุกวันก่อนเลิกงานนักวิทย์จะทำความสะอาดทุกอย่างในตู้และห้อง และมีการจดบันทึกสารเคมีและน้ำยาต่างๆ ในตู้เย็น 

ต่อมาก็จะย้ายไปที่ห้องขยายตัวอย่างจำนวนเซลล์ ที่ขยายได้ล้านๆ เซลล์ โดยใช้เครื่อง PCR เพื่อนำไปตรวจดูความผิดปกติของโครโมโซม 

และตัวอย่างที่ขยายเป็นล้านๆ เซลล์นี้จะถูกส่งไปยังห้องสุดท้าย คือ ห้อง Analysis สำหรับวิเคราะห์และแปลผล โดยจะมีส่วนที่เอาไว้ทำ Karyomapping ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ในการตรวจคัดกรองตัวอ่อนในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่มีปัญหาเรื่องโรคพันธุกรรม โดยสามารถทำได้เองทั้งหมดที่แล็บนี้ 

อีกทั้งยังมี Fume Hood ตัวช่วยในการลดสารพิษที่เกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการ เพื่อป้องกันนักวิทย์จากน้ำยาที่เป็นพิษที่ไม่ควรสูดดมนาน 

และสุดท้ายห้อง NGS สำหรับตรวจดูว่าโครโมโซมของ Embryo แต่ละตัวมีความผิดปกติไหม และมีการขาดหรือเกินของโครโมโซมหรือไม่ โดยใช้เครื่อง Next-Generation Sequencing (NGS) (MiSeq) เพื่อวิเคราะห์ผลออกมาว่าตัวอ่อนแต่ละตัวมีความผิดปกติหรือไม่ 

โดยข้างๆ กันจะมีเครื่องที่ใช้ทำ Karyomapping เพื่อใช้ตรวจดูตัวอ่อนว่ามีความปกติที่เกิดจากโรคพันธุกรรมหรือไม่ และสามารถตรวจโครโมโซมตัวอ่อนไปพร้อมกันได้ด้วย ทำให้สามารถคัดกรองตัวอ่อนที่มีคุณภาพ เพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ให้สูงขึ้น ซึ่งทางแล็บสามารถตรวจวิเคราะห์โรคทางพันธุกรรมได้หลายโรคเช่น ธาลัสซีเมีย, ตาบอดสี, หูหนวก, ผิวเผือก, กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือโรคเมแทบอลิก ที่ทำให้มีพัฒนาการช้าในเรื่องของสติปัญญาหรือการเคลื่อนไหวร่างกาย 

เรียกได้ว่า ที่คลินิค Superior A.R.T. มีห้องแล็บที่มีคุณภาพ ตอบรับทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มกระตุ้นไข่ไปจนถึงการออกผลตรวจ รวมถึงมีนักวิทย์ฯ และทีมงานที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญ มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย พร้อมดูแลคุณพ่อคุณแม่ทุกคน 

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

ถามหมอ 💬 : อายุ 40+ มีลูกได้ไหม by หมอจิว

เมื่อผู้หญิงเริ่มมีอายุมากขึ้น ความกังวลเรื่องการมีบุตรก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย จนหลายคนมีคำถามว่า อายุ 40 ปีขึ้นไป ยังมีโอกาสมีลูกได้หรือไม่?

สเปิร์มน้อย สเปิร์มไม่แข็งแรง แก้ไขได้ ถ้ารู้ก่อน

สเปิร์มน้อย สเปิร์มไม่แข็งแรง แก้ไขได้ ถ้ารู้ก่อน ด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพคู่รัก Couple Checkup ในราคาพิเศษเพียง 4,999 บาท

Lab และ Technology ปัจจัยสำคัญที่ห้ามมองข้ามในการเลือกทำ ICSI

เนื่องจากการทำ ICSI เป็นกระบวนการที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อน ห้องปฏิบัติการ (Lab) จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง