ข่าวสารและบทความ

𝐒𝐮𝐩𝐞𝐫𝐢𝐨𝐫𝐀.𝐑.𝐓. 𝐋𝐈𝐕𝐄 : 🅔🅟 41 พาชมแล็บเลี้ยงตัวอ่อน และ แล็บตรวจเซลล์ตัวอ่อน


หลายคนอาจสงสัยว่าหลังจากกระตุ้นไข่และเก็บไข่เรียบร้อยแล้ว ไข่จะถูกเก็บไว้ที่ไหน? วันนี้ดอกเตอร์เก๋จะพาไปทัวร์ห้องแล็บทั้งหมดของคลินิค Superior A.R.T. เพื่อให้เห็นภาพการทำงานว่าคุณหมอประสานงานกับนักวิทย์อย่างไร ในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว


เริ่มจากก่อนเข้าห้องแล็บ จะมีโซนเปลี่ยนเสื้อผ้า ซึ่งเป็นจุดที่นักวิทย์ทั้ง embryologists และ geneticists เข้าได้เท่านั้น 

ห้องแล็บจะแบ่งออกเป็น 3 ห้องหลักๆ ซึ่งทุกห้องมาตรฐานระดับสากล ISO 15189, ISO 15190 และ ISO 9001 ในการรองรับคุณภาพและความสามารถ รวมถึงความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่ออกโดยกระทรวงสาธารณสุข 

1. ห้องแล็บสเปิร์ม หรือ Andrology ใช้ในการเตรียมสเปิร์มทั้งหมด  


2. ห้องเลี้ยงตัวอ่อน หรือ Embryology ซึ่งค่อนข้างเข้มงวดเรื่องความสะอาด จึงต้องมีประตู 2 ชั้น เมื่อทุกคนเข้ามาหมดแล้วก็จะปิดประตูบานแรกก่อน หลังจากนั้นถึงจะสามารถเข้าไปในห้องได้ 

ภายในห้องนี้จะเป็นพื้นที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงตัวอ่อนทั้งหมด โดยมีการแบ่งโซนอย่างชัดเจน และมีการจัดการพื้นที่ให้เป็นทางเดินแบบ One-way เพื่อให้คนเดินสวนกันน้อยที่สุด เพื่อลดอันตรายและอุบัติเหตุจากการทำงาน 

ซึ่งในห้องนี้จะมีหน้าต่างหลายช่อง เช่น หน้าต่างที่เชื่อมกับห้องผ่าตัด เพื่อเพิ่มความสะดวกเวลาเก็บไข่ โดยจะมีตู้ควบคุมอุณหภูมิและแก๊ส ให้มีสภาวะที่เหมาะสม และบริเวณตรงกลางห้องจะเป็นตู้เลี้ยงตัวอ่อน 2 แบบ คือ ตู้เลี้ยงตัวอ่อน Geri® ซึ่งเป็นตู้ที่มีกล้องอยู่ในตัว สามารถดูตัวอ่อนได้จากหน้าจอโดยไม่ต้องนำออกมา และตู้แบบดั้งเดิม ที่ต้องนำตัวอ่อนออกมาเพื่อดูพัฒนาการของตัวอ่อนด้วยกล้องจุลทรรศน์ 

ภายในห้องนี้ยังมีเครื่องมือสำหรับทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธี ICSI โดยการคัดสเปิร์ม 1 ตัว ยิงเข้าไปในไข่ 1 ใบ และการทำ Biopsy หรือการดึงเซลล์เพื่อนำไปตรวจโครโมโซมตัวอ่อนที่ห้อง Genetics ต่อไป นอกจากนี้ก็มีตู้เตรียมน้ำยา สเตชั่นสำหรับการแช่แข็งตัวอ่อนและการละลายตัวอ่อน และมีห้องแยกเพื่อใช้เก็บตัวอ่อน ไข่ หรือสเปิร์มที่ถูกแช่แข็งอยู่ในถัง 

ที่สำคัญในห้องนี้ยังมีเครื่องฟอกอากาศ 5-6 เครื่อง เพื่อควบคุมอากาศให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม รวมถึงมี HEPA ฟิลเตอร์ช่วยฟอกอากาศจากฝุ่นและกลิ่น และมีการรักษาความดันในห้องนี้ให้เป็น Positive Pressure เพื่อไม่ให้ฝุ่นที่อยู่ด้านนอกเข้ามาในห้อง 


3. ห้อง Genetics ใช้ในการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน ซึ่งตั้งอยู่ติดกับห้องเลี้ยงตัวอ่อน เพื่อลดความเสี่ยงและอุบัติเหตุในการขนย้ายตัวอย่าง ซึ่งภายในห้อง Genetics จะมีห้อง Transfer Room หรือห้องที่นำเซลล์ตัวอย่างของ Embryo ที่ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ มาย้ายลงหลอดทดลอง เพื่อนำไปตรวจ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยทุกๆ จานที่ใส่เซลล์จะมีบาร์โค้ดที่สามารถบอกได้ว่าอยู่ในขั้นตอนไหน ช่วยลดการเกิดความผิดพลาดในการหยิบจานเพาะเลี้ยงผิด หรือแทบจะไม่เกิดขึ้นเลย ในกรณีที่ยิงบาร์โค้ดผิด จะมีเสียงแจ้งเตือนพร้อมไฟสีแดง ทำให้ไม่สามารถทำขั้นตอนใดๆ ต่อไปได้อีกจนกว่าจะมีการแก้ไขให้ถูกต้อง  

อีกทั้งในห้องนี้ยังมีการบันทึกวิดีโอ และมีนักวิทย์ Genetics อีก 1 ท่าน คอยช่วยสังเกตการณ์ในการทำงาน 

หลังจากที่ย้ายตัวอย่างจากจานมาใส่ในหลอดทดลองเรียบร้อยแล้ว ก็จะไปที่ห้อง PCR Cleaning Room ซึ่งเป็นห้องที่ใช้ในการเตรียมน้ำยาเพื่อใช้ Amplify ให้ตัวอย่างขยายตัวเป็นล้านๆ เซลล์ มีการเตรียม ปฏิกิริยาและเตรียมน้ำยาผสมเข้าด้วยกันกับเซลล์ตัวอ่อน โดยที่ยังไม่เกิดปฏิกริยาใดๆ ทั้งสิ้น  

ซึ่งในห้องนี้จะมีหลายสเตชั่น เช่น สเตชั่นกล่อง UV เพื่อป้องกันการปนเปื้อน ทุกวันก่อนเลิกงานนักวิทย์จะทำความสะอาดทุกอย่างในตู้และห้อง และมีการจดบันทึกสารเคมีและน้ำยาต่างๆ ในตู้เย็น 

ต่อมาก็จะย้ายไปที่ห้องขยายตัวอย่างจำนวนเซลล์ ที่ขยายได้ล้านๆ เซลล์ โดยใช้เครื่อง PCR เพื่อนำไปตรวจดูความผิดปกติของโครโมโซม 

และตัวอย่างที่ขยายเป็นล้านๆ เซลล์นี้จะถูกส่งไปยังห้องสุดท้าย คือ ห้อง Analysis สำหรับวิเคราะห์และแปลผล โดยจะมีส่วนที่เอาไว้ทำ Karyomapping ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ในการตรวจคัดกรองตัวอ่อนในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่มีปัญหาเรื่องโรคพันธุกรรม โดยสามารถทำได้เองทั้งหมดที่แล็บนี้ 

อีกทั้งยังมี Fume Hood ตัวช่วยในการลดสารพิษที่เกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการ เพื่อป้องกันนักวิทย์จากน้ำยาที่เป็นพิษที่ไม่ควรสูดดมนาน 

และสุดท้ายห้อง NGS สำหรับตรวจดูว่าโครโมโซมของ Embryo แต่ละตัวมีความผิดปกติไหม และมีการขาดหรือเกินของโครโมโซมหรือไม่ โดยใช้เครื่อง Next-Generation Sequencing (NGS) (MiSeq) เพื่อวิเคราะห์ผลออกมาว่าตัวอ่อนแต่ละตัวมีความผิดปกติหรือไม่ 

โดยข้างๆ กันจะมีเครื่องที่ใช้ทำ Karyomapping เพื่อใช้ตรวจดูตัวอ่อนว่ามีความปกติที่เกิดจากโรคพันธุกรรมหรือไม่ และสามารถตรวจโครโมโซมตัวอ่อนไปพร้อมกันได้ด้วย ทำให้สามารถคัดกรองตัวอ่อนที่มีคุณภาพ เพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ให้สูงขึ้น ซึ่งทางแล็บสามารถตรวจวิเคราะห์โรคทางพันธุกรรมได้หลายโรคเช่น ธาลัสซีเมีย, ตาบอดสี, หูหนวก, ผิวเผือก, กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือโรคเมแทบอลิก ที่ทำให้มีพัฒนาการช้าในเรื่องของสติปัญญาหรือการเคลื่อนไหวร่างกาย 

เรียกได้ว่า ที่คลินิค Superior A.R.T. มีห้องแล็บที่มีคุณภาพ ตอบรับทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มกระตุ้นไข่ไปจนถึงการออกผลตรวจ รวมถึงมีนักวิทย์ฯ และทีมงานที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญ มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย พร้อมดูแลคุณพ่อคุณแม่ทุกคน 

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

ถามหมอ 💬 กับหมอจิว จิ้มหน้าทำสวย ส่งผลต่อการทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธี ICSI มั๊ยนะ

การจิ้มหน้าทำสวย อาจทำให้คุณแม่ที่กำลังวางแผนจะมีลูกน้อย มีความกังวลว่าจะส่งผลต่อการตั้งตรรภ์ หรือทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธี ICSI หรือไม่

𝐒𝐮𝐩𝐞𝐫𝐢𝐨𝐫 𝐀.𝐑.𝐓. 𝐋𝐈𝐕𝐄 : 🅔🅟.42 𝐖𝐨𝐫𝐥𝐝 𝐄𝐦𝐛𝐫𝐲𝐨𝐥𝐨𝐠𝐢𝐬𝐭 𝐃𝐚𝐲 25 กรกฎาคม วันนักเพาะเลี้ยงตัวอ่อนโลก

นักเพาะเลี้ยงตัวอ่อน คือใคร ปฏิบัติหน้าที่อะไร มีบทบาทสำคัญ เกี่ยวข้องกับการรักษาผู้มีบุตรยากในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วอย่างไร?

ถามหมอ 💬 กับหมอจิว : น้ำอสุจิหลั่ง ใช่ว่าจะมีลูกได้

หมอจิวจะมาไขข้อสงสัยว่า น้ำอสุจิหลั่งแล้วจะมีลูกได้หรือไม่ คู่รักหลายคู่อาจเข้าใจผิดว่า การมีเพศสัมพันธ์แล้วมีน้ำอสุจิหลั่ง ก็จะทำให้มีลูกได้เลย