ข่าวสารและบทความ

21 มี.ค. วันดาวน์ซินโดรมโลก

21 มี.ค. วันดาวน์ซินโดรมโลก

วันที่ 21 มีนาคมของทุกปีถูกกำหนดให้เป็น “วันดาวน์ซินโดรมโลก” (World Down Syndrome Day) เพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มอาการดาวน์ รวมถึงส่งเสริมสิทธิและคุณภาพชีวิตของผู้ที่มีภาวะนี้

ดาวน์ซินโดรม เป็นภาวะความผิดปกติของโครโมโซมที่พบได้บ่อยที่สุดในทารกแรกเกิด โดยเกิดจากการที่ตัวอ่อนมีโครโมโซมคู่ที่ 21 จำนวน 3 แท่ง แทนที่จะมีเพียง 2 แท่ง ซึ่งโครโมโซมที่เกินมานี้ส่งผลต่อพัฒนาการของตัวอ่อน ทำให้เกิดความผิดปกติทางร่างกายและสติปัญญา ทั้งนี้ โอกาสเกิดภาวะดาวน์ซินโดรมจะเพิ่มขึ้นในกรณีที่มารดามีอายุมากกว่า 35 ปี

แม้ว่าดาวน์ซินโดรมไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่สามารถ “ป้องกันได้” ด้วยการตรวจคัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนการฝังตัว (Preimplantation Genetic Testing for Aneuploidy, PGT-A) ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์จำนวนโครโมโซมทั้ง 23 คู่

ที่ Superior A.R.T. เรามีนักพันธุศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญที่ให้บริการตรวจคัดกรองนี้ โดยใช้เทคโนโลยี NGS (Next Generation Sequencing) เพื่อคัดเลือกตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติ ลดความเสี่ยงของภาวะดาวน์ซินโดรมก่อนนำตัวอ่อนฝังกลับสู่โพรงมดลูกของมารดาต่อไป


ข่าวสารและบทความอื่นๆ

🔬นักวิทย์ 💬 อยากเล่า : กลุ่มไหนบ้างที่มาคัดกรองลูกปลอดโรคที่ Superior A.R.T.

ดร.เก๋ เกษร จะมาเล่าให้ฟังว่า 3 กลุ่มที่เข้ามาปรีกษา เพื่อเพิ่มโอกาสในการมีบุตรที่แข็งแรง ปลอดจากโรคทางพันธุกรรมมีใครกันบ้าง

𝐒𝐮𝐩𝐞𝐫𝐢𝐨𝐫 𝐀.𝐑.𝐓. 𝐋𝐈𝐕𝐄 : 🅔🅟.55 ❝ทำหมันแล้ว แต่อยากมีลูก จะทำอย่างไร❞

เคยทำหมันมาแล้ว ตอนนี้อยากมีลูกอีกครั้ง จะมีแนวทางการรักษาใดบ้างที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สำเร็จมากขึ้น

ไขข้อข้องใจ! การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน (PGT) มีผลต่อคุณภาพของตัวอ่อนจริงหรือ?

หลายคนกังวลว่า การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน (PGT) อาจทำให้ตัวอ่อนเสียหายหรือส่งผลต่อการฝังตัว วันนี้ Superior A.R.T. จะมาพาทุกคนไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้กันค่ะ