ข่าวสารและบทความ

AMH (Anti-Müllerian Hormone) ควรอยู่ที่เท่าไหร่นะ?

ฮอร์โมน AMH ค่าควรอยู่ที่เท่าไหร่

AMH (Anti-Müllerian Hormone) คือ ฮอร์โมนที่ถูกผลิตขึ้นโดยเซลล์ของไข่ในรังไข่ของผู้หญิง ซึ่งจะเป็นตัวช่วยประเมินการทำงานของรังไข่ และปริมาณไข่ที่เหลืออยู่ในรังไข่ และมักถูกนำมาใช้ในกระบวนการตรวจภาวะเจริญพันธุ์ เพื่อพยากรณ์โอกาสในการตั้งครรภ์ โดยแพทย์จะใช้ผลตรวจ AMH เพื่อเลือกแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เช่น การทำ IVF/ICSI หรือการกระตุ้นไข่

เกณฑ์วัดค่า AMH ว่ามากหรือน้อย (หน่วยเป็นระดับ ng/mL)

  • ค่า AMH ที่มากกว่า 5.0 : สูง (มักพบร่วมกับ PCOS)
  • ค่า AMH 1.0 – 5.0 : ปกติ (มีโอกาสตั้งครรภ์ดี)
  • ค่า AMH 0.5 – 1.0 : ต่ำ (ไข่เหลือน้อย เสี่ยงมีบุตรยาก)
  • ค่า AMH ที่น้อยกว่า 0.5 : ต่ำมาก (อาจมีภาวะหมดประจำเดือนเร็ว)

อย่างไรก็ตาม ระดับ AMH จะแตกต่างกันไปตามอายุและบุคคล

แล้ว AMH ของเราควรอยู่ที่เท่าไหร่?

อายุ 25–30 ปี ค่าปกติอยู่ที่ประมาณ 2–4 ng/mL

อายุ 35 ปีขึ้นไป ค่าจะลดลงเรื่อยๆ และต่ำกว่า 1 ng/mL อาจบอกถึงภาวะไข่ใกล้หมด

แม้ค่า AMH จะไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้ แต่ชะลอการลดลงและเสริมคุณภาพไข่ได้ โดยมีคำแนะนำ ดังนี้

  • กินอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น อะโวคาโด, บลูเบอร์รี่, ถั่ว
  • กินวิตามินเสริม เช่น Co-Q10, DHEA, วิตามิน D
  • ลดความเครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงสารพิษ เช่น ควันบุหรี่, อาหารแปรรูป
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

🔬นักวิทย์ 💬 อยากเล่า : กลุ่มไหนบ้างที่มาคัดกรองลูกปลอดโรคที่ Superior A.R.T.

ดร.เก๋ เกษร จะมาเล่าให้ฟังว่า 3 กลุ่มที่เข้ามาปรีกษา เพื่อเพิ่มโอกาสในการมีบุตรที่แข็งแรง ปลอดจากโรคทางพันธุกรรมมีใครกันบ้าง

𝐒𝐮𝐩𝐞𝐫𝐢𝐨𝐫 𝐀.𝐑.𝐓. 𝐋𝐈𝐕𝐄 : 🅔🅟.55 ❝ทำหมันแล้ว แต่อยากมีลูก จะทำอย่างไร❞

เคยทำหมันมาแล้ว ตอนนี้อยากมีลูกอีกครั้ง จะมีแนวทางการรักษาใดบ้างที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สำเร็จมากขึ้น

ไขข้อข้องใจ! การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน (PGT) มีผลต่อคุณภาพของตัวอ่อนจริงหรือ?

หลายคนกังวลว่า การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน (PGT) อาจทำให้ตัวอ่อนเสียหายหรือส่งผลต่อการฝังตัว วันนี้ Superior A.R.T. จะมาพาทุกคนไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้กันค่ะ