ข่าวสารและบทความ

5 ข้อควรรู้ เกี่ยวกับการมีลูกแฝด และการตั้งครรภ์แฝด (Multiple Pregnancy)

ไม่มีความสุขไหน เท่ากับการที่รู้ว่ากำลังจะได้เป็นแม่ และจะยินดีมากขึ้นเป็นสองเท่า หากรู้ว่ากำลังตั้งครรภ์ลูกแฝด พวกเขาแสนน่ารักเมื่ออยู่ด้วยกันและเหมือนกันจนบางครั้งคุณก็แทบแยกไม่ออก ทว่าลูกแฝด (multiple pregnancy) คืออะไร? ครรภ์แฝดมีกี่ประเภท? ปัจจัยอะไรบ้างที่เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ลูกแฝด? ในบทความนี้ เราจะมีคำตอบ กับ 5 ข้อที่คุณควรรู้เกี่ยวกับการมีลูกแฝด มาเริ่มกันเลย

1. การตั้งครรภ์แฝด (multiple pregnancy) คืออะไร?

การตั้งครรภ์แฝด (multiple pregnancy) หมายถึง การตั้งครรภ์ที่มีทารกในครรภ์มากกว่า 1 คนขึ้นไป โดยหากมีสองคน เรียกว่า “แฝดสอง” (twins), สามคน เรียกว่า “แฝดสาม” (triplets”), และสี่คน เรียกว่า “แฝดสี่” (quadruplets) “การตั้งครรภ์ทารกตั้งแต่สองคนขึ้นไป” เรียกในภาษาอังกฤษว่า “high-order multiples”

2. การตั้งครรภ์ลูกแฝดมีกี่ประเภท?

การตั้งครรภ์ลูกแฝด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

2.1 ฝาแฝดเทียม (Fraternal Twins)

ฝาแฝดเทียม” เกิดจากที่ฝ่ายหญิงมีไข่ตก 2 ใบ ในรอบเดือนนั้นๆ โดยไข่แต่ละใบปฏิสนธิกับอสุจิคนละตัว และพัฒนาจนเป็นตัวอ่อน (embryos) หรือทารก 2 คนที่เติบโตอยู่ภายในมดลูกของฝ่ายหญิงในช่วงเวลาเดียวกัน

เนื่องจากฝาแฝดประเภทนี้ เกิดจากไข่คนละใบที่ปฏิสนธิกับอสุจิคนละตัว ฝาแฝดจึงมีรูปร่างหน้าตาและเพศที่แตกต่างกันได้ เรียกอีกชื่อว่า “แฝดเทียม” (non-identical twins) หรือ Dizygotic twins ซึ่งหมายถึง “สองเซลล์” หรือ “ที่มาจากไข่คนละใบ”

2.2 ฝาแฝดแท้ (Identical Twins)

ฝาแฝดแท้” หรือ Monozygotic Twins (เซลล์เดียวกัน) เกิดจากไข่ 1 ใบที่ปฏิสนธิแล้วแบ่งตัวออกเป็นตัวอ่อน 2 ตัวในระหว่างแบ่งเซลล์ จนพัฒนากลายเป็นทารกในครรภ์ 2 คน ที่หน่วยพันธุกรรมเหมือนกันทุกประการ เป็นเพศเดียวกันและมีหน้าตาเหมือนกัน

3. ปัจจัยใดบ้างที่เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ลูกแฝด?

ผู้หญิงบางคนมีแนวโน้มที่จะให้กำเนิดลูกแฝดมากกว่าคนอื่น จากข้อมูลของ American Society for Reproductive Medicine หรือ ASRM ระบุว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์แฝด ได้แก่ เชื้อชาติ, อายุ, การถ่ายทอดทางพันธุกรรม, ประวัติการตั้งครรภ์แฝดก่อนหน้านี้, ตลอดจนการใช้รักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูล ASRM  เชื้อชาติ, อายุ, พันธุกรรม, หรือประวัติการตั้งครรภ์ก่อนหน้า จะเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์แฝดประเภทฝาแฝดเทียม (Fraternal Twins) เท่านั้น ในขณะที่การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์จะเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์แฝดทั้งประเภทฝาแฝดแท้ (Identical Twins) และฝาแฝดเทียม

  • เชื้อชาติ: จากงานวิจัยพบว่า ผู้หญิงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South-East Asia) และผู้หญิงเชื้อชาติฮิสแปนิก (Hispanic) มีโอกาสมีลูกแฝดน้อยกว่าผู้หญิงแอฟริกันและผู้หญิงผิวขาวที่ไม่ใช่เชื้อชาติฮิสแปนิก
  • กรรมพันธุ์: ประวัติครอบครัวของทั้งฝั่งพ่อและแม่มีส่วนสำคัญในการเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์แฝด อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของ ASRM พบว่า “ประวัติครอบครัวจากฝั่งมารดา มีบทบาทมากกว่าฝั่งบิดาอย่างมีนัยสำคัญในการตั้งครรภ์แฝด” นอกจากนี้ และจะมีโอกาสตั้งครรภ์แฝดเพิ่มขึ้น หากฝ่ายหญิง มีพี่สาว น้องสาว มารดา หรือยาย ที่ให้กำเนิดแฝดเทียม หรือตัวเธอเองเป็นหนึ่งในฝาแฝดเทียม”
  • อายุของฝ่ายหญิง: การตั้งครรภ์ลูกแฝดมีอัตราเพิ่มขึ้นตามอายุ จากการศึกษา พบว่า 16% ของหญิงตั้งครรภ์ที่อายุมากกว่า 45 ปี ตั้งครรภ์ลูกแฝด โดยเป็นแฝดสอง (twins) มากที่สุด นอกจากนี้ หญิงในช่วงวัย 30 ถึง 40 ปีมีแนวโน้มที่จะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงกว่าวัยอื่น และอาจมีจำนวนไข่ตกได้มากกว่าหนึ่งฟองในแต่ละรอบเดือน
  • ประวัติการตั้งครรภ์ก่อนหน้า: หากฝ่ายหญิงเคยตั้งครรภ์มาก่อน โดยเฉพาะการตั้งครรภ์แฝด ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะตั้งครรภ์แฝดได้มากยิ่งขึ้น
  • การใช้ยาเพื่อการเจริญพันธุ์: การใช้ยาเพื่อรักษาภาวะมีบุตรยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งยากระตุ้นการตกไข่อาจกระตุ้นให้มีไข่ตกในแต่ละรอบเดือนมากกว่า 1 ใบ เป็นอีกปัจจัยที่เพิ่มโอกาสในการมีลูกแฝด
  • เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์: เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproductive Technology, ART) เช่น In Vitro Fertilization หรือ IVF มีส่วนเพิ่มอัตราการเกิดลูกแฝดเช่นกัน จากการย้ายตัวอ่อนกลับเข้าไปในมดลูกของฝ่ายหญิงมากกว่า 1 ตัวอ่อน

4. การตั้งครรภ์แฝดมีความเสี่ยงใดบ้างที่ต้องกังวล?

แม้ว่าการตั้งครรภ์ลูกแฝดจะเป็นสิ่งที่วิเศษและน่าตื่นเต้น แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่าครรภ์เดี่ยว ปัญหาที่มักพบบ่อย ได้แก่

4.1 การคลอดก่อนกำหนด: การตั้งครรภ์แฝด มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด (คลอดก่อน 37 สัปดาห์) ได้มากถึง 60% ยิ่งจำนวนทารกในครรภ์มีมากเท่าใด ความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ทารกที่คลอดก่อนกำหนด มีปัญหาระบบการหายใจ การย่อยอาหาร เสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย และต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษในหน่วยอภิบาลทารกแรกเกิด (NICU) จนกว่าพวกเขาจะแข็งแรงพอที่จะอยู่ได้ด้วยตัวเอง

4.2 ภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์: หรือภาวะครรภ์เป็นพิษ (Pregnancy-Induced Hypertension : PIH) เป็นภาวะที่มารดามีความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงต่อทั้งมารดาและทารกหากไม่ได้รับการรักษาโดยเร็ว

4.3 ภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์: หรือภาวะครรภ์เป็นพิษ (Pregnancy-Induced Hypertension : PIH) เป็นภาวะที่มารดามีความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงต่อทั้งมารดาและทารกหากไม่ได้รับการรักษาโดยเร็ว

4.4 ภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์: หรือภาวะครรภ์เป็นพิษ (Pregnancy-Induced Hypertension : PIH) เป็นภาวะที่มารดามีความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงต่อทั้งมารดาและทารกหากไม่ได้รับการรักษาโดยเร็ว

4.5 ภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์: หรือภาวะครรภ์เป็นพิษ (Pregnancy-Induced Hypertension : PIH) เป็นภาวะที่มารดามีความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงต่อทั้งมารดาและทารกหากไม่ได้รับการรักษาโดยเร็ว

4.6 ภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์: หรือภาวะครรภ์เป็นพิษ (Pregnancy-Induced Hypertension : PIH) เป็นภาวะที่มารดามีความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงต่อทั้งมารดาและทารกหากไม่ได้รับการรักษาโดยเร็ว

5. ทำอย่างไรได้บ้างหากอยากมีลูกแฝด?

ดังที่กล่าวข้างต้น การตั้งครรภ์ลูกแฝดนั้นค่อนข้างซับซ้อน ไม่มีกฎตายตัว และไม่มีสูตรสำเร็จที่แน่นอนขึ้นกับสภาพร่างกายและประวัติครอบครัวของแต่ละคน  อย่างไรก็ดี สิ่งแรกที่คุณควรทำ คือการปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์เพื่อประเมินความพร้อมของร่างกาย ความเสี่ยงต่างๆและโอกาสที่คุณจะมีลูกแฝด นอกจากนี้ การเลือกคลินิกรักษาผู้มีบุตรยากที่มีมาตรฐานและมีประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคุณได้รับการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว ICSI, IUI และ IVF เพื่อเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการตั้งครรภ์แฝด

References

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

ถามหมอ 💬 : อายุ 40+ มีลูกได้ไหม by หมอจิว

เมื่อผู้หญิงเริ่มมีอายุมากขึ้น ความกังวลเรื่องการมีบุตรก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย จนหลายคนมีคำถามว่า อายุ 40 ปีขึ้นไป ยังมีโอกาสมีลูกได้หรือไม่?

สเปิร์มน้อย สเปิร์มไม่แข็งแรง แก้ไขได้ ถ้ารู้ก่อน

สเปิร์มน้อย สเปิร์มไม่แข็งแรง แก้ไขได้ ถ้ารู้ก่อน ด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพคู่รัก Couple Checkup ในราคาพิเศษเพียง 4,999 บาท

Lab และ Technology ปัจจัยสำคัญที่ห้ามมองข้ามในการเลือกทำ ICSI

เนื่องจากการทำ ICSI เป็นกระบวนการที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อน ห้องปฏิบัติการ (Lab) จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง