ข่าวสารและบทความ

IUI, IVF, ICSI, Egg Freezing เลือกอะไรดีนะ?

ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้ในปัจจุบันมีทางเลือกมากมายสำหรับคนมีบุตรยากได้มีโอกาสมีบุตรจนสมหวังมาแล้วหลากหลายคู่ แต่ละคู่อาจจะมีวิธีการในการรักษาที่แตกต่างกันไปด้วยปัจจัยต่างๆ ลองมาดูกันค่ะ ว่าวิธีไหนเหมาะกับใครบ้าง

IUI (Intra-Uterine Insemination) : การฉีดน้ำเชื้ออสุจิเข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อให้อสุจิเดินทางเข้าไปผสมกับไข่ได้ง่ายขึ้น เหมาะกับคู่สมรสที่ฝ่ายชายมีปริมาณอสุจิ และการเคลื่อนไหวของอสุจิอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือต่ำกว่าเกณฑ์ปกติเล็กน้อย และฝ่ายหญิงไม่มีปัญหาท่อนำไข่ตัน เป็นต้น

IVF (In Vitro Fertilization) : การทำเด็กหลอดแก้ว
IVF คือ การนำอสุจิมาวางรวมกับไข่บนจานทดลอง และปล่อยให้อสุจิเข้าไปผสมกับไข่เอง หลังจากนั้น ตัวอ่อนจะถูกเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ก่อนใส่กลับเข้าสู่โพรงมดลูกตัวต่อไป เหมาะกับฝ่ายหญิงมีท่อนำไข่อุดตัน เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการตกไข่ หรือคู่สมรสฝ่ายชาย มีอสุจิที่น้อยกว่าเกณฑ์ เป็นต้น

ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) : คือ เทคนิคการปฏิสนธิภายนอกร่างกายด้วยวิธีเด็กหลอดแก้ว อีกวิธีหนึ่ง เทคนิคนี้แตกต่างจากการปฏิสนธิด้วยวิธี IVF โดย ICSI นักวิทยาศาสตร์จะเลือก อสุจิที่รูปร่างปกติ และวิ่งดี หนึ่งตัวฉีดเข้าไปในไข่โดยตรง หลังจากผสมกันเป็นตัวอ่อนแล้ว จึงใส่ตัวอ่อนกลับสู่โพรงมดลูกต่อไป เป็นวิธีที่เหมาะกับคู่ที่ฝ่ายชาย มีความผิดปกติของอสุจิอย่างรุนแรง หรือต้องเก็บอสุจิจากลูกอัณฑะโดยตรง ด้วยวิธี PESA/TESE ดังนั้น ICSI คือวิธีการรักษาที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงกว่า IVF นั่นเอง

Egg Freezing : การแช่แข็งไข่ ซึ่งเป็นนำไข่มาแช่แข็งด้วยเทคนิคการแช่แข็งแบบผลึกแก้ว ที่อุณหภูมิ -196°C เมื่อต้องการใช้งาน ไข่จะถูกละลายเพื่อผสมกับอสุจิ ด้วยวิธี ICSI ต่อไป เหมาะกับสาวๆ ที่ยังไม่แพลนจะมีลูก แต่ก็อยากเก็บไข่คุณภาพดีไว้ใช้ในอนาคตข้างหน้า หรือเป็นผู้ป่วยกำลังจะได้รับยาเคมีบำบัด ฉายแสง ที่จะส่งผลให้ปริมาณไข่ในร่างกายลดลงอย่างมาก , ผู้ที่มีความผิดปกติของโครโมโซม ที่จะมีภาวะรังไข่เสื่อมเร็วกว่าปกติ เป็นต้น

โดยสรุปแล้ว การทำ IUI, IVF, ICSI , Egg Freezing ถือเป็นทางเลือกหลากหลาย สำหรับคู่สมรส หรือสาวๆ ที่ต้องการวางแผนครอบครัว แต่ทางที่ดีที่สุดคือการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรงเพื่อตัดสินใจเลือกวิธีที่เหมาะกับคุณมากที่สุด

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

🔬นักวิทย์ 💬 อยากเล่า : กลุ่มไหนบ้างที่มาคัดกรองลูกปลอดโรคที่ Superior A.R.T.

ดร.เก๋ เกษร จะมาเล่าให้ฟังว่า 3 กลุ่มที่เข้ามาปรีกษา เพื่อเพิ่มโอกาสในการมีบุตรที่แข็งแรง ปลอดจากโรคทางพันธุกรรมมีใครกันบ้าง

𝐒𝐮𝐩𝐞𝐫𝐢𝐨𝐫 𝐀.𝐑.𝐓. 𝐋𝐈𝐕𝐄 : 🅔🅟.55 ❝ทำหมันแล้ว แต่อยากมีลูก จะทำอย่างไร❞

เคยทำหมันมาแล้ว ตอนนี้อยากมีลูกอีกครั้ง จะมีแนวทางการรักษาใดบ้างที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สำเร็จมากขึ้น

ไขข้อข้องใจ! การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน (PGT) มีผลต่อคุณภาพของตัวอ่อนจริงหรือ?

หลายคนกังวลว่า การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน (PGT) อาจทำให้ตัวอ่อนเสียหายหรือส่งผลต่อการฝังตัว วันนี้ Superior A.R.T. จะมาพาทุกคนไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้กันค่ะ