ข่าวสารและบทความ

แช่แข็งไข่ทำอย่างไร? ทำความเข้าใจกระบวนการแช่แข็งไข่ ฉบับเข้าใจง่าย

ในบทความที่แล้ว เราได้กล่าวถึงกระบวนการฝากไข่หรือการแช่แข็งไข่ (Egg Freezing) ไม่ว่าจะเป็นวิธีการเก็บไข่, การแช่แข็งและการเก็บรักษาไข่, ใครบ้างที่ควรแช่แข็งไข่ ตลอดจนความปลอดภัยและผลข้างเคียงที่อาจพบได้จากการแช่แข็งไข่ (อ่านบทความแรกของเราเกี่ยวกับการแช่แข็งไข่ (Egg Freezing) ได้ ที่นี่)

ในบทความนี้ เราจะเจาะลึกรายละเอียดแต่ละขั้นตอนในการแช่แข็งไข่ กระบวนการต่างๆ? แต่ละขั้นตอนเริ่มอย่างไร ใช้เวลานานแค่ไหน? วันนี้ Superior A.R.T. มีคำตอบมาให้คุณ

1. ปรึกษาแพทย์

เมื่อไหร่: สามารถปรึกษาแพทย์ได้ทุกช่วงเวลาของรอบประจำเดือน

ใช้เวลานานแค่ไหน: 45 – 60 นาที

เมื่อมาปรึกษาเรื่องการแช่แข็งไข่ครั้งแรก แพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกาย และอธิบายขั้นตอนต่างๆ และตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับกระบวนการแช่แข็งไข่

ข้อแนะนำสำหรับคำถาม เช่น

  • คลินิกมีประสบการณ์ในการแช่แข็งไข่และการละลายไข่มากน้อยเพียงใด?
  • สามารถเก็บไข่ได้กี่ใบในหนึ่งรอบการกระตุ้น?
  • มีโอกาสที่ต้องทำการเก็บไข่มากกว่าหนึ่งรอบหรือไม่?
  • กระบวนการแช่แข็งไข่มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?

แพทย์จะอธิบายแต่ละขั้นตอนโดยละเอียดเพื่อให้เข้าใจกระบวนการต่างๆ มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี คำถามบางข้อที่เฉพาะเจาะจง (เช่น จะได้ไข่กี่ใบในหนึ่งรอบการเก็บไข่? หรือ ควรต้องทำการเก็บไข่กี่รอบถึงจะได้จำนวนไข่ที่เพียงพอ?) แพทย์จะประเมินจากประวัติ ตรวจร่างกายและตรวจเลือด เพื่อประเมินและวางแผนการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ

2. การตรวจร่างกายและตรวจเลือด

เมื่อไหร่: วันที่ 2 หรือวันที่ 3 ของรอบประจำเดือน

ใช้เวลานานแค่ไหน: 30 นาที

หลังจากพูดคุยและปรึกษากับแพทย์แล้ว การรักษาจะเริ่มในวันที่ 2 หรือ 3 ของรอบเดือน เพื่อตรวจเลือดและตรวจอัลตราซาวด์ หลังจากได้รับผลตรวจแล้ว จะสามารถตอบคำถามต่างๆ ที่เจาะจงได้มากขึ้น เช่น จำนวนไข่ที่คาดว่าจะเก็บได้ต่อครั้ง, และโอกาสความสำเร็จโดยรวม

คุณสามารถเริ่มกระบวนการรักษาในวันเดียวกันนั้นได้เลย คุณจะได้รับยาฉีดกระตุ้นไข่โดยคุณสามารถฉีดยาได้ด้วยตัวเองวันละครั้ง เพื่อกระตุ้นให้ฟองไข่ในรังไข่โตขึ้น พยาบาลจะแนะนำวิธีการฉีดยาอย่างละเอียด หากในรอบเดือนนี้ ยังไม่เหมาะสมที่จะเริ่มการรักษา สามารถเริ่มการรักษาในวันที่ 2 หรือวันที่ 3 ของรอบเดือนถัดไป

3. การกระตุ้นติดตามการตอบสนองของไข่

เมื่อไหร่: วันที่ 2 หรือวันที่ 3 ของรอบประจำเดือน

ใช้เวลานานแค่ไหน: 10 – 12 วัน

การฉีดยากระตุ้นไข่ จะใช้เวลาประมาณ 10-12 วัน แพทย์จะนัดหมายเพื่อตรวจเลือดและอัลตราซาวด์ทุก 3-4 วัน เพื่อประเมินการตอบสนองของรังไข่และปรับยาให้เหมาะสมจนกระทั่งฟองไข่โตได้ขนาดที่เหมาะสม แพทย์จะฉีดยากระตุ้นการตกไข่ “trigger shot” (เป็นยาฮอร์โมน human chorionic gonadotropin; hCG หรือ leuprolide acetate; Lupron) เพื่อช่วยให้ไข่หลุดออกจากผนังของถุงไข่ พร้อมสำหรับการถูกเก็บไข่ต่อไป

4. การเก็บไข่และการแช่แข็งไข่

เมื่อไหร่: 36 ชั่วโมงหลังการฉีดยากระตุ้นให้ไข่ตก

ใช้เวลานานแค่ไหน: 60 นาที

36 ชั่วโมงหลังฉีดยากระตุ้นไข่ตก แพทย์จะเริ่มกระบวนการเก็บไข่ ( egg retrieval หรือ Ovum Pick Up; OPU) แพทย์จะทำอัลตราซาวด์เพื่อหาตำแหน่งที่ฟองไข่และใช้เข็มขนาดเล็กสอดผ่านช่องคลอดเข้าไปในฟองไข่เพื่อทำการดูดเก็บเซลล์ไข่ ตลอดกระบวนการนี้คุณจะได้รับยาให้สลบ จึงไม่รู้สึกเจ็บปวดระหว่างการเก็บไข่

หลังเก็บไข่เสร็จ จะสังเกตอาการที่ห้องพักฟื้นต่อประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพื่อรอให้ฟื้นตัวจากยาสลบ จึงสามารถกลับไปพักผ่อนต่อที่บ้านได้

ประมาณ 2-3 ชั่วโมง หลังเก็บไข่ ไข่สุกจะถูกแช่แข็งด้วยเทคนิคการแช่แข็งแบบผลึกแก้ว หรือ “Vitrification” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ไข่ของคุณจะถูกแช่แข็งด้วยการลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ทำให้ไม่เกิดผลึกน้ำแข็งในเซลล์ไข่ (ice crystals)  หากไข่ถูกเก็บรักษาไว้ในห้องปฏิบัติการคุณภาพสูงที่ได้รับการควบคุมสิ่งแวดล้อมอย่างดีเยี่ยม ตลอดจนมีการติดตามปริมาณไนโตรเจนเหลวและความสมบูรณ์ของอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ ไข่ของคุณจะคงคุณภาพไว้ได้เหมือนเดิมแม้เวลาจะผ่านไปนาน เมื่อคุณพร้อมที่จะเป็นคุณแม่ ไข่ของคุณจะถูกนำออกมาละลาย ปฏิสนธิกับอสุจิ ด้วย เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์  วิธี ICSI  และเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการจนเติบโตกลายเป็นตัวอ่อน และย้ายตัวอ่อนดังกล่าวกลับคืนสู่มดลูกของคุณเพื่อให้เติบโตเป็นทารกสุขภาพดี

เกี่ยวกับ ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที

ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2550 โดยการร่วมมือระหว่างแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์และเด็กหลอดแก้วในประเทศไทยและประเทศออสเตรเลีย ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. เป็นคลินิกรักษาผู้มีบุตรยากและวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อนที่เพียบพร้อมด้วยแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และทีมนักวิทยาศาสตร์ที่ชำนาญเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproduction Technology – A.R.T.)  พวกเรามีความมุ่งมั่นจะสานทุกความฝันในการมีบุตรของทุกครอบครัวให้สมบูรณ์

อ้างอิง

ข่าวสารและบทความอื่นๆ

ถามหมอ 💬 : อายุ 40+ มีลูกได้ไหม by หมอจิว

เมื่อผู้หญิงเริ่มมีอายุมากขึ้น ความกังวลเรื่องการมีบุตรก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย จนหลายคนมีคำถามว่า อายุ 40 ปีขึ้นไป ยังมีโอกาสมีลูกได้หรือไม่?

สเปิร์มน้อย สเปิร์มไม่แข็งแรง แก้ไขได้ ถ้ารู้ก่อน

สเปิร์มน้อย สเปิร์มไม่แข็งแรง แก้ไขได้ ถ้ารู้ก่อน ด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพคู่รัก Couple Checkup ในราคาพิเศษเพียง 4,999 บาท

Lab และ Technology ปัจจัยสำคัญที่ห้ามมองข้ามในการเลือกทำ ICSI

เนื่องจากการทำ ICSI เป็นกระบวนการที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อน ห้องปฏิบัติการ (Lab) จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง